สถานการณ์ปัจจุบัน : สถานการณ์วิกฤติระดับ 1  ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2550 เวลาทำการ 07.30 – 18.30 น.

 

 

 
            

       ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                 โทรศัพท์  0-2243-6956, 0-2241-3350,0-2243-1098 โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350,0-2243-1098

                      http://www.rid.go.th/flood , www.kromchol.com, E-mail : rid_flood@yahoo.com

  _________________________________________________________

สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2550

                                                        วันอาทิตย์  ที่ 1 กรกฎาคม 2550                                                       

1. สภาพภูมิอากาศ

           

 

 

 

 

 

 

หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะ 1-2 วันนี้

2.สภาพฝน

ปริมาณฝนสูงสุดรายภาค ตั้งแต่ 07.00น. วันที่ 30มิถุนายน 2550 จนถึง 07.00 น. วันที่ 1กรกฎาคม  2550  มีดังนี้

ภาคเหนือ                       ที่  อ.เมือง  จ.กำแพงเพชร                                     24.1      มม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่   อ.เมือง   จ.อุบลราชธานี                                              86.6      มม.

ภาคกลาง                       ที่  ดอนเมือง   กรุงเทพมหานคร                             18.3      มม.

ภาคตะวันออก                ที่  อ.พลิ้ว จ.จันทบุรี                                             50.3      มม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก         ที่  อ.เมือง  จ.เพชรบุรี                                           1.0        มม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก                       ไม่มีรายงานฝนตก

3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (1 กรกฎาคม 2550) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 44,534 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (43,307 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,227 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ  2  ของความจุอ่างฯทั้งหมด

อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 9,185 และ 5,655 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 68 และ 59 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 14,840 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ น้อยกว่า 30 % ของความจุอ่างฯ  มีจำนวน 3 อ่าง ได้แก่

1) อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 76 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ

2) อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 33 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ

3) อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 200 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ มากกว่า 80 % ของความจุอ่างฯ  มีจำนวน 4 อ่าง ได้แก่

1) อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 206 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 86 ของความจุอ่างฯ

2) อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 14,753 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่างฯ

3) อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่าง 146 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 89 ของความจุอ่างฯ

4) อ่างเก็บน้ำบางลาง จังหวัดยะลา มีปริมาตรน้ำในอ่าง 1,210 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่างฯ

4. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง ที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  77 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 440 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มทรงตัว

สถานี P.2A บ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 601 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,830 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มลดลง

แม่น้ำวัง ที่ สถานี  W.4A บ้านวังหมัน  อำเภอสามเงา  จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 54 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  (ความจุ 316 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำยม ที่สถานี Y.1C ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 49 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย  แนวโน้มลดลง

สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม  จังหวัดพิจิตร  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 178.4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  (ความจุ 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) อยู่ในเกณฑ์น้อย  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำน่าน โดยที่สถานี  N.5A ที่สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 493.8ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี N.8A ที่บ้านบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 746.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,230 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 763 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,370 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานีวัดน้ำ N.60 บ้านเด่นสำโรง อำเภอตรอน  จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 301.7 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

ส่วนสภาพน้ำท่าด้านเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ที่สถานี N1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  83ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย  แนวโน้มลดลง

แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,140 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 825 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.30 ม.(รทก.)  มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 28 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

แม่น้ำชี  สถานีวัดน้ำ E.18 บริเวณ บ้านท่าไคร้ กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 106.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 910 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย  แนวโน้มทรงตัว

แม่น้ำมูล สถานีวัดน้ำ M.6A บริเวณบ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 12 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย  แนวโน้มลดลง

สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 140ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,980 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำคลองใหญ่ สถานีวัดน้ำ Z.10 บริเวณบ้านศรีบัวทอง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 187.2ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 499 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำจันทบุรี สถานีวัดน้ำ Z.13 บริเวณบ้านปึก อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 50.5ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 244 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว

5.สถานการณ์น้ำท่วม

            5.1 จังหวัดแพร่

       อ.สอง  ตามที่ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลำห้วยแม่สะกึ๋น ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นและไหลล้นออกบริเวณช่องเขาที่จะทำการก่อสร้างอาคารทางระบายน้ำล้น (Spillway) แห่งใหม่ของอ่างเก็บน้ำแม่สะกึ๋น ม.6 บ.ดอนแก้ว ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00 น. วันที่ 27 มิ.ย.2550 และระดับน้ำได้ขึ้นสูงสุดเมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 27 มิ.ย.2550 ที่ระดับ 220.50 ม. (รสม.) สูงกว่าพื้นอาคารทางระบายน้ำล้น 2.00 ม. ตามที่ได้รายงานแล้วนั้น ปัจจุบัน (เวลาประมาณ 08.00 น. วันที่ 1 ก.ค. 2550) ระดับน้ำอยู่ที่ระดับ +218.85 ม.(รสม.) สูงจากระดับพื้นอาคารทางระบายน้ำล้น 0.35 ม. สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีฝนตกเพิ่มเติมในพื้นที่

6.การให้ความช่วยเหลือ

ปัจจุบันกรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำประจำ ที่ท่าสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยทั้งประเทศ จำนวน  41 เครื่อง โดยแยกรายจังหวัดได้ดังนี้   พิจิตร 8 เครื่อง  ตาก 1 เครื่อง  สุพรรณบุรี 1 เครื่อง  นนทบุรี 8 เครื่อง  ปทุมธานี 16 เครื่อง นครปฐม 1 เครื่อง สมุทรสาคร 4 เครื่อง  นครนายก 1 เครื่อง  เพชรบุรี 1 เครื่อง

************************************

นายจารุพงษ์  คงใจ                      วิศวกรชลประทาน  4                                            รายงาน

นายพรชัย  พ้นชั่ว                        หัวหน้าศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ        ตรวจ