+1 ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์ 0-2243-6956 โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350
Webpage : http://www.rid.go.th/flood , E-mail : flood44@mail.rid.go.th
_________________________________________________________
สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนปี
2549
วันที่ 3 กรกฎาคม 2549
1.สภาพภูมิอากาศ
ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนตกหนักต่อเนื่องไปอีก 1-2 วัน จึงขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่ม, พื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ใกล้ทางน้ำไหลผ่านบริเวณจังหวัดตาก อุทัยธานี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ระวังภัยจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้
2. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (3 ก.ค.49 )
มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 43,880 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 64
ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2548 (34,096 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 9,784 ล้าน ลบ.ม.
หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพล (3 ก.ค.49) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 8,621 ล้าน ลบ.ม ( รับได้อีก 4,841 ล้าน ลบ.ม. ) คิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ (3 ก.ค.49) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 5,157 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 4,353 ล้านลบ.ม. ) คิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำแม่มาน จังหวัดแพร่ (3 ก.ค.49) มีปริมาตรน้ำ
17.54 ล้าน ลบ.ม. (94% ของความจุอ่างฯ) กรมชลประทานได้นำเครื่องสูบน้ำความดันสูง
จำนวน 2 เครื่อง และติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 16 แถว ใช้ระบายพร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำ
3. สถานการณ์น้ำเน่าเสีย (2 ก.ค.49)
แม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำเน่าเสียจาก อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
ได้ระบายลงคลองเมม ลงคลองระบายน้ำ DR.15.8 และไหลลงแม่น้ำน่าน ที่ ต.งิ้วงาม
อ.เมือง จ.พิษณุโลก
สภาพน้ำเน่าเสียมีสภาพดีขึ้น โดยที่ อ.บางมูลนาค จ.พิษณุโลก(N.8A) วัดค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (ค่า DO) ได้ 3.67 มิลลิกรัม/ลิตร
(วันก่อน 3.96มิลลิกรัม/ลิตร)และที่
อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์(N.67) วัดค่า
DO ได้
2.31 ม.ก./ลิตร(วันก่อน3.17
ม.ก./ลิตร)
แม่น้ำยม ปริมาณน้ำเน่าเสียที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
ไหลลงแม่น้ำยม จำนวนหนึ่งได้ระบายผ่านคลองระบาย DR.2.8 ลงสู่แม่น้ำน่าน ที่ ต.บ้านไร่
อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ปริมาณน้ำเน่าอีกส่วนหนึ่งไหลไปตามแม่น้ำยม ผ่าน
อ.สามง่าม อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพทะเล จ.พิจิตร ลงสู่แม่น้ำน่าน ที่ ต.เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ต่อจากนั้นไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา สภาพน้ำเน่าเสียมีสภาพดีขึ้น โดยที่ อ.สามง่าม
(Y.17)วัดค่า
DO ได้
2.32 ม.ก./ลิตร (วันก่อน
2.20 ม.ก./ลิตร) ที่ อ.โพทะเล(Y.5) วัดค่า
DO ได้
1.96 ม.ก./ลิตร(วันก่อน1.98
ม.ก./ลิตร) และที่ เขื่อนระบายน้ำท่าไม้ จ.นครสวรรค์(Y.41) วัดค่า DO ได้ 1.98ม.ก./ลิตร(วันก่อน1.82
ม.ก./ลิตร)
แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำเน่าเสียได้เคลื่อนตัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา คุณภาพน้ำค่าDO
ที่สะพานเลี่ยงเมือง จ.นครสวรรค์
(C.2A) วัดค่า DO ได้ 3.27ม.ก./ลิตร(วันก่อน 3.60 ม.ก./ลิตร) ที่ศาลากลาง อ.เมือง จ.ชัยนาท
วัดค่า DOได้ 2.87 ม.ก./ลิตร(วันก่อน3.34
ม.ก./ลิตร) ที่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา (C.2)วัดค่า DO ได้ 3.91 ม.ก./ลิตร (วันก่อน3.62
ม.ก./ลิตร) ที่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) วัดค่า DO ได้ 4.33ม.ก./ลิตร(วันก่อน4.89ม.ก./ลิตร)
แม่น้ำสะแกกรัง เกิดน้ำเน่าเสียในแม่น้ำสะแกกรังตั้งแต่กลางเดือน มิถุนายน
2549เป็นต้นมา กรมชลประทานได้เปิดประตูระบายน้ำ ประพาสต้น
รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปเจือจางน้ำในแม่น้ำสะแกกรัง
ทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น
โดยที่บริเวณหน้าศาลากลาง
อ.เมือง จ.อุทัยธานี (Ct.2A) วัดค่า DO ได้ 4.30 ม.ก./ลิตร (วันก่อน3.39
ม.ก./ลิตร)
4. สภาพน้ำท่วม
จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่ อ.กงไกรลาศ
ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำใน 4 ตำบล 25 หมู่บ้าน ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.50-1.20 ม. น้ำที่ท่วมขังยังคงเน่าเสียแต่มีสภาพดีขึ้น ระดับน้ำในแม่น้ำยมหน้าฝายบ้านกง อ.กงไกรลาศ
+8.69 ม.(ระดับตลิ่ง +9.00 ม.)ต่ำกว่าตลิ่ง 0.31 ม.เท่ากับเมื่อวานนี้
จังหวัดพิษณุโลก ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรในบางพื้นที่ของ อ.บางระกำ
รวม 5 ตำบล ได้แก่ ต.ชุมแสงสงคราม
ต.คุยม่วง ต.ท่านางงาม
ต.บางระกำ และต.บึงกอก ประมาณ 30,000 ไร่ กรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง
จังหวัดพิจิตร ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรในเขต ต.รังนก
ต.กำแพงดิน ต.สามง่าม อ.สามง่าม และ ต.วังจิก
อ.โพธิ์ประทับช้าง จำนวน 50,000 ไร่ โครงการชลประทานจังหวัดพิจิตร ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 40 เครื่อง เข้าช่วยเหลือ อ.สามง่าม
จำนวน 24 เครื่อง อ.โพธิ์ประทับช้าง จำนวน 6 เครื่อง กิ่งอ.บึงนาราง
จำนวน 3 เครื่อง และที่ อ.เมือง
จำนวน 7 เครื่อง เร่งสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังลงแม่น้ำยม จึงทำให้น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าวลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง
น้ำที่เน่าเสียมีสภาพดีขึ้น
จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน
ประเทศไทยและอ่าวไทย
ทำให้มีฝนตกหนักมากต่อเนื่องตั้งแต่วันที่
1 ก.ค.49 เป็นต้นมา และเกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
จังหวัดชลบุรี
เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่
1 ก.ค.49 บริเวณคลองบางละมุง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำทะเลหนุนสูง
ระดับน้ำในคลองบางละมุงเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในวันที่ 2 ก.ค.49 บริเวณชุมชนบางละมุง ต.ตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง ประมาณ 200 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00 ม. ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ
ใน 1 -2 ชั่วโมง
วันเดียวกัน
จังหวัดตราด ได้เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร
ในพื้นที่ 2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อ.คลองใหญ่ พื้นที่ ต.แม่รูด และ ต.คลองใหญ่ , อ.หลมงอบ พื้นที่ ต.บางปิด , กิ่งอ.เกาะกูด ระดับน้ำสูงประมาณ
0.50-1.00 ม. ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังเล็กน้อยบางส่วน
จังหวัดตาก
น้ำจากลำห้วยแม่สอด
ลำห้วยแห้ง ได้ไหลบ่าเข้าท่วมในเขตเทศบาลเมืองอ.แม่สอด หลายพื้นที่ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.49 โดยเฉพาะถนนสวรรค์วิถี ซอยวัดรางแก้ว สถานีตำรวจภูธร อ.แม่สอด ซอยศาลเจ้าจีน รถสัญจรไปมาติดขัด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม.ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ ใน 1 -2 ชั่วโมง วันเดียวกัน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ได้เกิดน้ำฝนตกหนักในเทือกเขาตะนาวศรี
ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรใน
อ.ทับสะแก จำนวน 2 ตำบล ได้แก่
ต.นราหูกวาง ระดับน้ำสูงประมาณ
0.50-1.00ม. และ ต.อ่างทอง ระดับน้ำสูงประมาณ
0.30-0.50 ม. ปริมาณน้ำไหลหลากนี้ได้ถูกเก็บกักไว้ส่วนหนึ่งในอ่างเก็บน้ำ 2 อ่างฯ ได้แก่อ่างฯจะกระ (ความจุ 10.40 ล้าน ลบ.ม.) และ อ่างฯช่องลม (ความจุ 5.50 ล้าน ลบ.ม.) ปัจจุบัน(3 ก.ค.49)มีน้ำไหลล้นทางระบายน้ำล้นอ่างทั้งสองอ่างฯ
ประมาณ
0.20-0.30 ม. สถานการณ์น้ำท่วมใน อ.ทับสะแกได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ระดับน้ำที่คลองทับสะแกต่ำกว่าตลิ่ง 1.60 ม. ส่วนที่ อ.บางสะพาน วานนี้ (2 ก.ค.49) มีฝนตกที่บ้านดงไม้งาม 200 มม. และ ที่ตัว อ.บางสะพาน 106 มม. ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ อ.บางสะพาน ในช่วงบ่าย เนื่องจากระบายน้ำไม่ทัน ระดับน้ำเริ่มลดลงเมื่อเวลา 19.00 น.(2 ก.ค.49) ปริมาณน้ำไหลหลากส่วนหนึ่งได้ถูกเก็บกัก ที่อ่างฯโปร่งสามสิบ(ความจุ 0.85 ล้าน ลบ.ม.) ปัจจุบันมีน้ำไหลล้นทางระบายน้ำล้น 0.20 ม. ยังคงมีน้ำท่วมขังเล็กน้อยในพื้นที่ลุ่มต่ำ 0.10-0.50 ม. ระดับน้ำที่แม่น้ำบางสะพาน
ต่ำกว่าตลิ่ง 5.00 ม.
จังหวัดกาญจนบุรี ได้เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 1 ก.ค.49 บริเวณห้วยแม่น้ำน้อย วัดได้ 87.2
มม. มีปริมาณน้ำไหลผ่านในลำห้วยสูงขึ้นมาก
ประมาณ 523 ลบ.ม./วินาที เมื่อรวมปริมาณน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณและ
ปริมาณน้ำตามธรรมชาติ ( sideflow ) จากห้วยแม่น้ำน้อยและห้วยบ้องตี้ จะมีผลทำให้ที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำแควน้อย บริเวณรีสอร์ทต่าง ๆ น้ำท่วมเป็นบางส่วน ทั้งนี้กรมชลประทานได้ประสานกับ
กฟผ. แล้ว ให้หยุดการระบายน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ ในช่วงวันที่ 3 - 4 ก.ค. 49 เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมดังกล่าวให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
5. การให้ความช่วยเหลือ
กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่
657 เครื่อง รถนาค 28 คัน เรือนาค 12 ลำ เครื่องผลักดันน้ำ 110
เครื่อง รถขุด 102 คัน เรือขุด 9 ลำ รถแทรกเตอร์ 28 คัน รถบรรทุก 70 คัน
___________________________________