+1                    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ  กรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                    โทรศัพท์  0-2243-6956    โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350

                        Webpage : http://www.rid.go.th/flood ,   E-mail : flood44@mail.rid.go.th

_________________________________________________________

สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนปี 2549

วันที่  4 ตุลาคม 2549

1.สภาพภูมิอากาศ


ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ทุกภาคมีฝนฟ้าคะนองกระจาย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร เว้นแต่ทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ

2. สภาพฝน

ปริมาณฝนวันที่ 3 ต.ค. 49 อยู่ในเกณฑ์ฝนตกหนัก (สูงกว่า 35 มม. )  วัดได้ 

                        จ.ขอนแก่น                     อ.เมือง                          35.0      มม.

จ.อยุธยา                        อ.เมือง                          130.4    มม.

จ.จันทบุรี                       อ.เมือง                          46.5      มม.

จ.ตราด                          อ.คลองใหญ่                   41.4      มม.

จ.เพชรบูรี                       อ.เมือง                          37.7      มม.

                        จ.ระนอง                                    อ.เมือง                          76.3      มม.

                        จ.พังงา                          อ.ตะกั่วป่า                      36.9      มม.

3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (4 ต.ค.49 ) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 61,421 ล้าน ลบ.ม หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2548 (53,069 ล้านลูกบาศก์เมตร )  จำนวน  8,151 ล้าน  ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของความจุอ่างฯทั้งหมด 

อ่างเก็บน้ำภูมิพล (4 ต.ค.49) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 12,783 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 679 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น     ร้อยละ  95  ของความจุอ่างฯทั้งหมด

            อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ (4 ต.ค.49)  มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ  9,010 ล้าน ลบ..(รับได้อีก 500 ล้าน ลบ.ม.)  คิดเป็น    ร้อยละ 95 ของความจุอ่างฯทั้งหมด

              อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน  (4 ต.ค.49) ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำ 571 ล้าน ลบ.ม.(รับได้อีก 139 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯทั้งหมด  มีการระบายน้ำ จำนวน 104.00 ลบ.ม./วินาที  และ  ระบายน้ำโดยวิธีกาลักน้ำได้ 3.30  ลบ.ม./วินาที (วางท่อ 10 แถว) รวมระบายน้ำทั้งหมด จำนวน 107.30 ลบ.ม./วินาที เพื่อพร่องน้ำในอ่างฯไว้รอรับน้ำหลากในช่วงฝนชุก

4. สภาพน้ำท่า

              สภาพน้ำท่าในลำน้ำที่อยู่ในเกณฑ์มาก  และต้องเฝ้าระวัง มีดังนี้       

แม่น้ำปิง

              -  สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์  มีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.24 ม. ลดลงจากวันก่อน   0.38 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,233 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              แม่น้ำวัง  

              -  ที่สถานี W.4A  อ.สามเงา จ.ตาก ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.75 ม.  ลดลงจากวันก่อน 0.47 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 234 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              แม่น้ำยม  สภาพน้ำท่าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาก  ส่วนในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ ตั้งแต่ อ.กงไกรลาศ                      จ.สุโขทัย (ระดับน้ำเริ่มลดลง)  อ.เมือง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย  และ บางพื้นที่ใน   จ.พิจิตร ยังมีน้ำท่วมขัง 

              - ที่สถานี Y16 บ้านบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 3.92 ม.  ลดลงจากวันก่อน       0.01 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,197 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลงเล็กน้อย

              - ที่สถานี Y17 บ้านสามง่าม อ.สามง่าม จ.พิจิตร ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.01 ม.  เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 0.01 ม.ปริมาณน้ำไหลผ่าน 463 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

              แม่น้ำน่าน  สภาพน้ำท่าในลำน้ำตอนบนอยู่ในเกณฑ์ปกติ  ส่วนในลำน้ำตอนล่าง ตั้งแต่ จ.พิจิตร                  ลงมาถึง จ.นครสวรรค์ สภาพน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์มาก

              - ที่สถานี  N8A บ้านบางมูลนาก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.11 ม.  ลดลงจากวันก่อน  0.07 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,273  ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              - ที่สถานี  N67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.54 ม.  ลดลงจากวันก่อน 0.02 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,471 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              แม่น้ำป่าสัก  บ้านบ่อวัง (S.42) อ.วิเชียรบุรี  จ.เพชรบูรณ์ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง  1.27 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน  0.02 ม.ปริมาณน้ำไหลผ่าน 368 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้ (4 ต.ค.49 เวลา 06.00น.) ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 3,650 ลบ../วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.53 ม.รทก. มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,672 ลบ../วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 534 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.อยุธยา อยู่ในเกณฑ์ 3,206 ลบ.ม./วินาที  ซึ่งจะมีผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกับทุก ๆ ปีที่เคยเกิด   

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำในการควบคุมน้ำหลาก โดยเพิ่มการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา (วันที่ 4 ต.ค. 49 รับน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก 454 ลบ../วินาที  และทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก 200 ลบ../วินาที) ไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ในทุ่งเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ผ่านประตูระบายน้ำปากแม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณ และคลองชัยนาท-ป่าสัก

ระดับน้ำที่จุดเฝ้าระวังในพื้นที่ กรุงเทพฯ

1) คลองแสนแสบ ที่ ปตร.มีนบุรี (ระดับตลิ่ง +1.35 ม.รทก.) ด้านนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ มีระดับน้ำ +1.39 ม.  สูงกว่าตลิ่ง 0.04 ม.

2) คลองประเวศบุรีรัมย์ ที่ ปตร.ลาดกระบัง (ระดับตลิ่ง + 0.80 ม.รทก.) ด้านนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ มีระดับน้ำ +0.90  ม.(รทก.) สูงกว่าตลิ่ง 0.10 ม.

 

3) คลองสำโรง  ที่ ปตร.บางพลี (ระดับตลิ่ง + 0.60 ม.รทก.) ด้านนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ มีระดับน้ำ +0.48    ม.รทก.  ต่ำกว่าตลิ่ง  0.12 ม.

นอกจากนี้ในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างได้มีการระบายน้ำและสูบน้ำลงแม่น้ำนครนายก     วันละ  0.68 ล้าน ลบ.ม.  ระบายและสูบน้ำลงแม่น้ำบางปะกงวันละ  7.42 ล้าน ลบ.ม.  ระบายและสูบออกทะเลวันละ 23.00 ล้าน ลบ.ม. และ ในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกมีการระบายน้ำและสูบน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน วันละ 9.43 ล้าน ลบ.ม.  ระบายน้ำและสูบผ่านคลองมหาชัย 1.87 ล้าน ลบ.ม. ส่วนในแม่น้ำเจ้าพระยามีโครงการคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการเปิด-ปิดบาน โดยการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้น  ซึ่งจะเปิดบานระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลลง และปิดบานระบายในช่วงน้ำทะเลขึ้น           วันนี้ (4 ต.ค. 49) สามารถระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ลงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 16 ชั่วโมง  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 392  ลบ.ม.วินาที    

                -  ที่ จ.ชัยนาท  ที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C13) อ.สรรพยา  มีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.51 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 0.17 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,672 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

                -  ที่ จ. อ่างทอง บ้านบางแก้ว (C7A) อ.เมือง มีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.50 ม. สูงขึ้นจากวันก่อน   0.08 ม. แนวโน้มเพิ่มขึ้น

                -  ที่ จ.อยุธยา  สะพานรถยนต์ (C35)  อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.17 ม. สูงขึ้นจากวันก่อน 0.11 ม.  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

                จากโครงการหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถตรวจวัดระดับน้ำและคาดการณ์ระดับน้ำล่วงหน้าได้  ดังนี้

                 -  ระดับน้ำที่สถานีปทุมธานี (สถานี C.55 ระดับตลิ่ง 2.04 ม.รทก.) เมื่อวาน   (3 ต.ค.49)   ระดับน้ำสูงสุด   +2.44 ม.รทก.    คาดการณ์ว่า วันนี้ (4 ต.ค.49) ระดับน้ำสูงสุด +2.490 ม.รทก. เวลา  22.15 น.     คาดว่าพรุ่งนี้

(5 ต.ค.49) ระดับน้ำสูงสุด +2.522 ม.รทก.  เวลา 22.00 น. 

                 -  ระดับน้ำที่สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า (สถานี C.4 ระดับตลิ่ง 3.00 ม.รทก.) เมื่อวาน (3 ต.ค.49) ระดับน้ำสูงสุด +1.80 ม.รทก.  คาดการณ์ว่า วันนี้ (4 ต.ค.49) ระดับน้ำสูงสุด +1.77 ม.รทก. เวลา 17.45 น.  คาดว่าพรุ่งนี้  (5 ต.ค.49) ระดับน้ำสูงสุด +1.815 ม.รทก.   เวลา 17.45 น. 

                แม่น้ำชี  ที่สถานี บ้านค่าย (E.23) อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.25 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน   0.11 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 156 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

                แม่น้ำมูล  ที่สถานี  M.9 บ้านหนองหญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.42 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 1.20 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 187 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

                 แม่น้ำสาขาของแม่น้ำมูล  หลายสายมีระดับน้ำสูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์มาก ได้แก่ 

                 -  ลำปลายมาศ ที่สถานี M.8 บ้านหนองแสง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.98 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 0.45 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 132 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

                 -  ห้วยทับทัน  ที่สถานี M.42 บ้านห้วยทับทัน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีษะเกษ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.82 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน  0.81 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 171 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

5. สถานการณ์น้ำท่วม

              จังหวัดกำแพงเพชร  ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฏรและพื้นที่การเกษตรใน 2 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่  อ.คลองขลุง  อ.ขาณุวรลักษบุรี  กิ่งอำเภอบึงสามัคคี  และ กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร

จังหวัดสุโขทัย น้ำในแม่น้ำยมยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมือง อ.กงไกรลาศ และ อ.คีรีมาศ โครงการชลประทานสุโขทัยได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ 2 เครื่อง

จังหวัดพิษณุโลก น้ำในแม่น้ำยมยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.บางระกำ              อ.พรหมพิราม อ.วังทอง  อ.บางกระทุ่ม  โครงการชลประทานพิษณุโลก ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 26 เครื่อง แยกเป็น  ในเขต อ.เมือง 17 เครื่อง  อ.บางระกำ 5 เครื่อง  อ.วัดโบสถ์ 2 เครื่อง  และ อ.บางกระทุ่ม 2 เครื่อง

จังหวัดพิจิตร  น้ำในแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำในพื้นที่  6 อำเภอ ได้แก่  อ.เมือง  อ.สามง่าม  อ.วชิรบารมี  อ.โพธิ์ประทับช้าง  อ.โพทะเล  และ อ.ตะพานหิน    โครงการชลประทานพิจิตรได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 20 เครื่อง แยกเป็น  ในเขต   อ.เมือง 5 เครื่อง  อ.ตะพานหิน 4 เครื่อง  อ.บางมูลนาก 6 เครื่อง  และ  อ.โพทะเล 5 เครื่อง

จังหวัดนครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ได้ไหลเอ่อเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มริมน้ำ ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 49 เป็นต้นมา  ในพื้นที่ 9  อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ  ได้แก่  อ.เมือง  อ.ชุมแสง  อ.หนองบัว  อ.เก้าเลี้ยว  อ.โกรกพระ  อ.พยุหะคีรี  อ.บรรพตพิสัย  อ.ตาคลี อ.ท่าตะโก   กิ่ง อ.ชุมตาบง และ กิ่ง อ.แม่เปิน  

      โครงการชลประทานนครสวรรค์ ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 11 เครื่อง แยกเป็น ในเขตเทศบาล 10 เครื่อง และพื้นที่นาข้าวถูกน้ำท่วม 1 เครื่อง    

จังหวัดเชียงราย   น้ำแม่คำจาก อ.แม่จัน ได้ไหลมายังพื้นที่ อ.เชียงแสน  เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ ต.ป่าสัก    (หมู่ที่ 1,2,9,11) และ ต.ศรีดอนมูล (หมู่ที่ 3,9,10,13) 

จังหวัดอุทัยธานี  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่ม 2 อำเภอ ได้แก่         อ.เมือง ในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.ท่าซุง   ต.สะแกกรัง  ต.น้ำซึม   ต.เทโพ และ ต.เนินแจง และ  อ.หนองขาหย่าง  ในพื้นที่     2 ตำบล ได้แก่ ต.หนองไผ่ และ ต.หลุมเข้า น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 -0.50 ม. 

จังหวัดชัยนาท  มีน้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่

อำเภอหันคา  น้ำจาก อ.เนินขาม ไหลลงคลองสาขา เอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรในเขต อ.หันคา 8 ตำบล ได้แก่  ต.หันคา ต.บ้านเซี่ยน ต.เด่นใหญ่ ต.ไพรนกยูง  ต.สามง่ามท่าโบสถ์ ต.หนองแซง ต.ห้วยงู  และ ต.วังไก่เถื่อน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม. ระดับน้ำทรงตัว

อำเภอมโนรมย์  น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นท่วมพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ได้แก่ ต.คุ้งสำเภา ต.วัดโคก      ต.ศิลาดาน ต.ท่าฉนวน ต.หางน้ำสาคร ต.อู่ตะเภา และ ต.ไร่พัฒนา ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม. ระดับน้ำทรงตัว

จังหวัดสิงห์บุรี  มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรในเขต 3 อำเภอได้แก่

อำเภออินทร์บุรี 6 ตำบล 1 เทศบาล  ได้แก่  เทศบาลอินทร์บุรี ต.อินทร์บุรี ต.ประศุก  ต.น้ำตาล ต.ท่างาม ต.ชีน้ำร้าย และ ต.ทองเอน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.00 ม.   

อำเภอเมือง  น้ำท่วมขังบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น

อำเภอพรหมบุรี  มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ต.บางน้ำเชี่ยว และ  ต.ปากบาง

จังหวัดอ่างทอง  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มที่อยู่ติดริมน้ำ ใน 6 อำเภอ  ได้แก่ อ.เมือง       อ.แสวงหา ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม. , อ.ป่าโมก   อ.ไชโย อ.วิเศษชัยชาญ และ อ.โพธิ์ทอง  ระดับน้ำสูง 0.20-0.70 ม. 

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยมีระดับสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบางพื้นที่ใน 5 อำเภอ ได้แก่  อ.พระนครศรีอยุธยา  อ.บางบาล            อ.บางไทร  อ.ผักไห่  และ อ.เสนา ระดับน้ำสูงประมาณ   0.40-1.00 ม.

จังหวัดลพบุรี  เกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่

อำเภอเมืองลพบุรี  น้ำท่วมใน 7 ตำบล  ได้แก่ ต.ป่าตาล ต.ท่าศาลา ต.บางขันหมาก ต.พรหมมาสตร์       ต.ถนนใหญ่ ต.ท่าแค และ ต.ดอนโพธิ์  ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.60 ม.

อำเภอท่าวุ้ง  น้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ ต.บางลี่ ต. หัวสำโรง และ ต.โพตลาดแก้ว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.60 ม.

อำเภอบ้านหมี่  น้ำท่วมขัง 7 ตำบล ในพื้นที่ ต.หนองเมือง ต.หินปัก ต. สนามแจง ต. ไผ่ใหญ่ ต.บางพึ่ง       ต,พุคา และ ต.บ้านกล้วย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.60 ม.

จังหวัดปทุมธานี  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่

อำเภอเมืองปทุมธานี บริเวณ  ต.บ้านกระแชง ต.บ้านกลาง  ต.บ้านพูน ต.บางขะแยง และ ต.บ้านปทุม  ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.

อำเภอสามโคก บริเวณ เทศบาลตำบลบางเตย  ต.สาม ต.บางกระบือ  ต.กระแชง ต.คลองควาย               ต.ท้ายเกาะ ต.เชียงรากใหญ่ ต.เชียงรากน้อย ต.บ้านงิ้ว  ต.บางโพธิ์เหนือ  และ ต.บ้านปทุม

อำเภอคลองหลวง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร ต. คลองหนึ่ง ถึง  ต.คลองเจ็ด.

            จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูงขึ้นไหลหลากเข้าท่วม ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม. และ อ.บางบัวทอง 5 ตำบล ได้แต่ ต.พิมลราช ต.บางคู้วัด ต.ลำโพ ต.บางรักใหญ่ และ              ต.บางบัวทอง 

            จังหวัดชลบุรี  มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ อ.พานทอง 1 เทศบาล 4 ตำบล  ได้แก่ เทศบาลตำบลพานทอง  ต.พานทอง  ต.หนองกะขะ  ต.มาบโป่ง และ ต.หนองหงษ์

            จังหวัดปราจีนบุรี เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี อ.บ้านสร้าง และ อ.นาดี

            จังหวัดจันทบุรี   เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ ต.จันทเขลม ทำให้สะพานชำรุดเสียหาย 3 แห่ง

            จังหวัดนครราชสีมา  เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำท่วม เทศบาลอำเภอด่านขุนทด

            จังหวัดขอนแก่น  น้ำในแม่น้ำชีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขต อ.แวงใหญ่  น้ำท่วมสูง 0.4-0.5 ม.

            จังหวัดพังงา  เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ตะกั่วป่า น้ำท่วมสูง 0.70-1.20 ม. 

            จังหวัดกรุงเทพมหานคร  เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง เกิดน้ำท่วมในเขตลาดกระบัง (ถนนคุ้มเกล้าฝั่งใต้  และถนนชุมทอง – ลำต้อยติ่ง)  เขตมีนบุรี (หมู่บ้านธนกร บริเวณที่กลับรถใต้สะพานคลองสามวา)  เขตบางกะปิ (ถนนกรุงเทพกีฑาและซอยแยก)  เขตประเวศน์ (ซอยเฉลิมพระเกียรติ 72 และถนนสุขาภิบาล 2)  เขตหนองจอก (ถนนสังฆประชา ถนนเลียบคลองลำมะขาม-ลำกอไผ่ ถนนเลียบคลองบึงโคล่  ถนนเลียงคลองลำต้นไทร ถนนเลียบคลองลำนกแขวก เคหะฉลองกรุง  ถนนเลียบคลองลำแขก  ถนนเลียบคลองลำมดตะนอย  ถนนซอยแก้วประดับ  ถนนเลียบคลองไทรชะมด  ถนนเลียบคลองลำตาอินทร์ )  เขตสวนหลวง (ซอยพัฒนาการ 58 หมู่บ้านเอื้อสุข )  ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.

6. การให้ความช่วยเหลือ           

กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือในฤดูฝน 2549 ดังนี้  เครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,200 เครื่อง และ รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน  295 คัน   รถนาค 28 คัน  เรือนาค 12 ลำ  เครื่องผลักดันน้ำ 110 เครื่อง  รถขุด 102 คัน  เรือขุด 9 ลำ    รถแทรกเตอร์ 28 คัน และ รถบรรทุก 70 คัน 

ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยในฤดูฝน 2549  ทั่วประเทศแล้ว จำนวน 399 เครื่อง  ขณะนี้ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยที่จังหวัดพิจิตร 20 เครื่อง  จังหวัดพิษณุโลก 26 เครื่อง จังหวัดนครสวรรค์ 11 เครื่อง  จังหวัดสุโขทัย 2 เครื่อง  ได้ส่งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อช่วยผลักดันน้ำทะเลที่  จ.เพชรบุรีจำนวน 14 เครื่อง   โดยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไปแล้ว 124 เครื่อง 

            ***************************************************