+1                    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ  กรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                        โทรศัพท์  0-2243-6956    โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350

                        Webpage : http://www.rid.go.th/flood , www.kromchol.com, E-mail : rid_flood@yahoo.com

_________________________________________________________

สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนปี 2549

วันที่  5 ธันวาคม 2549

1.สภาพภูมิอากาศ


ประกาศ เรื่อง พายุไต้ฝุ่น ‘‘ทุเรียน”" ฉบับที่ 5 (186/2549 ลงวันที่ 5 ธันวาคม 2549 รายงานว่า เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ ( 5 ธันวาคม 2549 ) พายุโซนร้อน ‘‘ทุเรียน” บริเวณทะเลจีนใต้มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 120 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 10.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 110 กม./ชม. กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางใต้ ด้วยความเร็วประมาณ 15 กม./ชม. คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันนี้ และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวณเข้าสู่อ่าวไทยในระยะต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ทำให้คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือในอ่าวไทยเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือด้วย และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 5 - 7 ธันวาคม 2549 ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ในช่วงวันที่ 6-7 ธันวาคม 2549 นี้ ไว้ด้วย

อนึ่ง ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-4 องศาในระยะนี้

สำหรับการเตรียมรับมือกับพายุนี้  กรมชลประทานได้แจ้งให้สำนักชลประทาน  โครงการชลประทานในเขตภาคใต้ และภาคตะวันออก เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด  ตรวจสอบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง  ควบคุมปริมาณน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 80 %   สำหรับในพื้นที่ชลประทานให้พร่องน้ำในคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำเพื่อเตรียมรับสถานการณ์น้ำฝนที่จะเกิดจากผลกระทบของพายุไต้ฝุ่น “ ทุเรียน ”   เตรียมพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ  พร้อมทั้งประสานจังหวัด  อำเภอ  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดด้วยแล้ว 

2. สภาพฝน

ปริมาณฝนวันที่ 4 ธันวาคม 2549 ไม่มีฝนตกที่อยู่ในเกณฑ์ตกหนัก (เกิน 35 มม.)

3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (5 ธันวาคม 2549) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 63,349 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 92 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2548 (56,825 ล้านลูกบาศก์เมตร ) จำนวน  6,524 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของความจุอ่างฯทั้งหมด

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในภาคใต้  มีสภาพน้ำในอ่างดังนี้

อ่างเก็บน้ำ

ปริมาตรน้ำ

% ความจุ

รับได้อีก

ปริมาณน้ำระบาย

(ล้านลูกบาศก์เมตร)

ที่ระดับเก็บกัก

(ล้านลูกบาศก์เมตร)

(ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน)

แก่งกระจาน

ปราณบุรี

รัชชประภา

บางลาง

536

338

4,935

912

75

76

88

65

174

107

704

492

2.25

1.38

5.36

4.89

             

4. สภาพน้ำท่า

              สภาพน้ำท่าในลำน้ำที่ยังคงล้นตลิ่ง และต้องเฝ้าระวัง มีดังนี้  

              ลุ่มน้ำภาคใต้  สภาพน้ำท่าในลำน้ำสายต่างๆ ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปกติ กรมชลประทานได้สั่งการให้โครงการชลประทานในเขตภาคใต้ พร่องน้ำในคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำเพื่อเตรียมรับสถานการณ์น้ำฝนที่จะเกิดจากผลกระทบของพายุ “ทุเรียน” แล้ว

              แม่น้ำท่าจีน  ที่สถานีสะพานบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ระดับสูงกว่าตลิ่ง  0.41 เมตร ลดลงจากวันก่อน 0.02 เมตร แนวโน้มลดลง  และที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.31 เมตร ลดลงจากวันก่อน 0.08 ม. แนวโน้มลดลง

              แม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำและปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ปกติ  วันนี้ (5 ธันวาคม 2549) มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 629 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้กรมชลประทานได้เพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาจากที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านต่ำสุด 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2549 เพื่อเจือจางน้ำเน่าเสียให้มีคุณภาพน้ำดีขึ้น ล่าสุดวันที่ 5 ธันวาคม 2549 มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 180 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 16 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1,116 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

จากโครงการหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถตรวจวัดระดับน้ำและคาดการณ์ระดับน้ำล่วงหน้าได้ โดยที่สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า (สถานี C.4 ระดับตลิ่ง +2.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง)  เมื่อวาน 4 ธันวาคม 2549 ระดับน้ำสูงสุด +1.53 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เวลา 05.45 น. วันนี้ 5 ธันวาคม 2549  คาดว่าระดับน้ำสูงสุด +1.59 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เวลา 07.30 น.

สำหรับสภาพน้ำท่วมในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่ ถนน และพื้นที่ชุมชน ได้เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ส่วนสภาพน้ำท่วมขังในทุ่งด้านติดแม่น้ำท่าจีนระดับน้ำในทุ่งลดลงอย่างต่อเนื่อง  โดยในทุ่งโครงการฯเจ้าเจ็ดบางยี่หน  ที่ประตูระบายน้ำบางยี่หน ระดับน้ำลดลงจากวันก่อน 0.02 เมตร  และทุ่งโครงการฯพระยาบรรลือ ที่ประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ ระดับน้ำลดลงจากวันก่อน  0.03 เมตร ส่วนในทุ่งโครงการฯพระพิมล ที่ประตูระบายน้ำพระพิมล  ระดับน้ำลดลงจากวันก่อน 0.05 เมตร  และที่ประตูระบายน้ำมหาสวัสดิ์  ระดับน้ำลดลงจากวันก่อน 0.05 เมตร  กรมชลประทานได้กำชับโครงการชลประทานในพื้นที่ติดตามและเร่งระบายน้ำให้เร็วที่สุด คาดว่าจะสามารถลดระดับน้ำให้เข้าสู่สภาวะปกติได้ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2549  

กรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกจากทุ่งฝั่งตะวันตกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน ผ่านประตูระบายน้ำต่างๆ พร้อมสูบน้ำโดยเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่สถานีสูบน้ำถาวร  เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่  และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ  เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กรมชลประทานได้ร่วมกับทางทหารทำการขุดเปิดช่องระบายน้ำเพิ่มเติมในทุ่งฝั่งตะวันตก เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากทุ่งให้เร็วขึ้น  รวม 8 จุด แยกเป็นลงแม่น้ำเจ้าพระยา 3 จุด  และลงแม่น้ำจีน 5 จุด ดังนี้

            ขุดเปิดช่องระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา 3 จุด

            ขุดเปิดช่องระบายน้ำ 3 จุด  พร้อมติดตั้งสะพานเหล็ก(แบรี่) ที่บนคันกั้นน้ำสายริมแม่น้ำเจ้าพระยา สาย เสนา -บางไทร ระหว่างกิโลเมตรที่ 1+000 ถึง กิโลเมตรที่ 1+080 จำนวน 3 จุด ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 7 เมตร ลึก 2.50 เมตร เพื่อระบายน้ำในทุ่งเจ้าเจ็ด ลงแม่น้ำเจ้าพระยา ระบายน้ำได้รวม ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549  แสดงดังภาพด้านล่าง

ขุดเปิดช่องระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน 5 จุด

            1. ขุดเปิดช่องระบายน้ำ พร้อมติดตั้งสะพานเหล็ก(แบรี่)บริเวณคลองบางปลากด กม.8+500 ตำบลหินมูล             อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม   จำนวน 1 จุด   ขนาด กว้าง 9 เมตร ยาว 6 เมตร ลึก 3 เมตร   เพื่อระบายน้ำในทุ่ง    พระยาบรรลือลงแม่น้ำท่าจีน ระบายน้ำได้ประมาณ 1 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549  แสดงดังภาพด้านล่าง

            2. ขุดเปิดช่องระบายน้ำคันคลองบางไทรป่า ท้ายประตูระบายน้ำ ฝั่งขวา ตำบลไทรงาม อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2549 จำนวน 1 จุด ขนาด กว้าง 6.00 เมตร ยาว 150 เมตร ลึก 1.00 เมตร  และขุดเพิ่ม กว้าง 6.00 เมตร  ยาว 20 เมตร  ลึก 2.00 เมตร เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน  2549  เพื่อระบายน้ำในทุ่งพระยาบรรลือลงแม่น้ำท่าจีน ระบายน้ำได้ประมาณ 0.85 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน  แสดงดังภาพด้านล่าง

3. ขุดเปิดช่องระบายน้ำ พร้อมติดตั้งสะพานเหล็ก (แบรี่) บริเวณท่อระบายน้ำคุ้งน้ำวน  กม.10+938 ตำบล   ไทรงาม อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม  จำนวน 1 จุด ขนาด กว้าง 9 เมตร  ยาว 5 เมตร  ลึก 2.5 เมตร  เพื่อระบายน้ำในทุ่งพระยาบรรลือลงแม่น้ำท่าจีน ระบายน้ำได้ประมาณ  0.8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549  แสดงดังภาพด้านล่าง

4. ขุดเปิดช่องระบายน้ำ บริเวณคลองบางภาษี จำนวน  1 แห่ง เพื่อระบายน้ำในทุ่งพระพิมลลงแม่น้ำท่าจีน ระบายน้ำได้ประมาณ 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2549  แสดงดังภาพด้านล่าง

5. ขุดเปิดช่องระบายน้ำลงแม่น้ำจีน บริเวณข้างประตูระบายน้ำบางบอน  อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 แห่ง เพื่อระบายน้ำในทุ่งพระพิมลลงแม่น้ำท่าจีน ระบายน้ำได้ประมาณ 1.12 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549

ปัจจุบัน ( 5 ธันวาคม 2549) ได้ระบายน้ำและสูบน้ำออกจากพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกตอนล่างลงแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณวันละ 33.36 ล้านลูกบาศก์เมตร (ออกสู่แม่น้ำท่าจีนประมาณวันละ 17.74 ล้านลูกบาศก์เมตร ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาวันละ 15.37 ล้านลูกบาศก์เมตร ออกสู่ทะเลทางโครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย วันละ 0.25 ล้านลูกบาศก์เมตร) และระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ลงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 24 ชั่วโมง  ปริมาณน้ำไหลผ่าน  37.10  ล้านลูกบาศก์เมตร

พร้อมนี้กรมชลประทานได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาอุทกภัย  ณ ที่ว่าการอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 02 922 4381, 02 597 1178 ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดกรุงเทพมหานคร 

5. สถานการณ์น้ำท่วม

ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ที่ประสบสถานการณ์อุทกภัย 6 จังหวัด ดังนี้

จังหวัดอ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 2 อำเภอ  ได้แก่  อำเภอเมือง (ตำบลมหาดไทย) และ อำเภอวิเศษชัยชาญ      (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.55 เมตร ระดับน้ำลดลง

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอมหาราช   อำเภอบางปะหัน   อำเภอบางประอิน   อำเภอบ้านแพรก   อำเภอลาดบัวหลวง  อำเภอวังน้อย  และอำเภอบางซ้าย  ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดสุพรรณบุรี 3 อำเภอ ได้แก่  อำเภอเมือง ระดับน้ำสูง 0.30-0.40 เมตร  อำเภอบางปลาม้า ระดับน้ำสูง 0.50-1.00 เมตร  และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำสูง 0.60-1.30 เมตร  ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดนครปฐม  4 อำเภอ ได้แก่  อำเภอบางเลน ระดับน้ำสูง  0.60-1.40 เมตร   อำเภอนครชัยศรี  อำเภอพุทธมณฑล และ อำเภอกำแพงแสน ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง  

จังหวัดปทุมธานี  3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสามโคก และ อำเภอลาดหลุมแก้ว ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร  ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

            จังหวัดนนทบุรี 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด และ อำเภอเมือง  ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 เมตร              อำเภอไทรน้อย  อำเภอบางใหญ่ และ อำเภอบางกรวย  ระดับน้ำสูง 0.50-1.60 เมตร ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

6. การจัดสรรน้ำ และการปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549

               อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันทั้งประเทศ 41,472 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้กำหนดแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (31 อ่างฯ) ในช่วงฤดูแล้งปี2549 (1 พฤศจิกายน 2549 - 30 เมษายน 2550) จำนวน 19,266 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่เป้าหมายปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/2550 ในเขตชลประทาน โดยแยกเป็นข้าวนาปรัง 7.80 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.87 ล้านไร่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ได้ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปแล้ว 2,774 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเกษตรกรได้ปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว 644,561 ไร่ และพืชไร่-พืชผัก 9,710 ไร่

               สำหรับในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาบริเวณท้ายเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนแม่กลอง ได้กำหนดแผนการระบายน้ำจากอ่างฯ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 - 30 เมษายน 2550 จำนวน 10,050 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่เป้าหมายปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/2550 ในเขตชลประทาน โดยแยกเป็นข้าวนาปรัง 5.50 ล้านไร่ พืชไร่พืชผัก 0.10 ล้านไร่   วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ได้ระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำไปแล้ว 1,160 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเกษตรกรปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว 394,783 ไร่ และพืชไร่- พืชผัก 100 ไร่

7. การให้ความช่วยเหลือ           

ปัจจุบันกรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือในฤดูฝน 2549 ทั่วประเทศ จำนวน 681 เครื่อง  แยกเป็นเพื่อการเกษตร 327 เครื่อง การอุปโภค – บริโภค 6 เครื่อง และช่วยเหลืออุทกภัย 348 เครื่อง

สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 211 เครื่อง แยกเป็นฝั่งตะวันออก 61 เครื่อง  ฝั่งตะวันตก 150 เครื่อง  และส่งเครื่องผลักดันน้ำเข้าช่วยเหลือ ฝั่งตะวันตก จำนวน 31 เครื่อง

 

เครื่องจักรเครื่องมือที่ให้ความช่วยเหลือแสดงดังตารางนี้

 

ที่

จังหวัด

เครื่องจักรกลสูบน้ำ – เครื่อง

เครื่องผลักดันน้ำ – เครื่อง

รวม

เครื่อง

ฝั่งตะวันออก

ฝั่งตะวันตก

รวม 2 ฝั่ง

ฝั่งตะวันออก

ฝั่งตะวันตก

รวม 2 ฝั่ง

1

2

3

4

5

6

7

ปทุมธานี

นนทบุรี

กรุงเทพฯ

สมุทรปราการ

สมุทรสาคร

นครปฐม

พระนครศรีอยุธยา

37

22

2

-

-

-

-

24

63

1

-

3

56

3

61

85

3

-

3

56

3

-

-

-

-

-

-

-

-

6

14

-

6

5

-

-

6

14

-

6

5

-

61

91

17

-

9

61

3

รวม

61

150

211

-

31

31

242

 

            ***************************************************

นายทรงเกียรติ  ขำทอง     วิศวกรชลประทาน 5                                             รายงาน            

นายพรชัย  พ้นชั่ว            หัวหน้าศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ        ตรวจ    

นายดำรง  ม่วงงาม          ผู้อำนวยการสำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ              เห็นชอบ