+1                   ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ  กรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                        โทรศัพท์  0-2243-6956    โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350

                        Webpage : http://www.rid.go.th/flood , www.kromchol.com, E-mail : rid_flood@yahoo.com

_________________________________________________________

สรุปสถานการณ์น้ำ วันที่ 6 พฤษภาคม 2550

1.สภาพภูมิอากาศ

 

 

 

 

 

 

 

หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชั่นยังคงปกคลุมบริเวณประเทศพม่า           ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตกมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน  ตาก  เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท และกาญจนบุรี จึงขอให้ประชาชน

ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดที่กล่าวมาระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงวัน                                                             ที่ 5-7 พฤษภาคม 2550 นี้

2.สภาพฝน

ปริมาณฝนสูงสุดรายภาค ตั้งแต่ 07.00น. วันที่ 5พฤษภาคม 2550 จนถึง 07.00 น. วันที่ 6พฤษภาคม  2550  มีดังนี้

ภาคเหนือ                       ที่ อ.เมือง  จ.พิจิตร                                             74.4      มม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์                              120.5    มม.

ภาคกลาง                       ที่  อ.เมือง  จ.นครสวรรค์                           85.2      มม.

ภาคตะวันออก                ที่ อ.พลิ้ว        จ.จันทบุรี                           77.8      มม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก         ที่ อ. เมือง          จ.สงขลา                                    30.7      มม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก                       ที่ อ.เมือง         จ.ระนอง                          33.6      มม.

3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (6 พฤษภาคม 2550) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 45,998 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (43,455 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน  2,543 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 4 ของความจุอ่างฯทั้งหมด

อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 8,683 และ 5,805 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ  คิดเป็นร้อยละ 64 และ 61 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 14,488ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ น้อยกว่า 40 % ของความจุอ่างฯ  มีจำนวน 9 อ่าง ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับในช่วงฤดูแล้งนี้ และไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด      ได้แก่

1) อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 35 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 32.85 ล้านลูกบาศก์เมตร

            2) อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 49 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 46.73 ล้านลูกบาศก์เมตร 

3) อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล มีปริมาตรน้ำในอ่าง 74 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุ  อ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ  ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 66.70 ล้านลูกบาศก์เมตร

4) อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 59 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ  ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 55 ล้านลูกบาศก์เมตร

5) อ่างเก็บน้ำกิ่วลม จังหวัดลำปาง มีปริมาตรน้ำในอ่าง 24 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ  ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 14.71 ล้านลูกบาศก์เมตร

6) อ่างเก็บน้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 128 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 35ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 83 ล้านลูกบาศก์เมตร

7) อ่างเก็บน้ำคลองสียัด  จังหวัดฉะเชิงเทรา  มีปริมาตรน้ำในอ่าง 160  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  38 ของความจุอ่างฯ  ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 130 ล้านลูกบาศก์เมตร

8) อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง  จังหวัดอุดรธานี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 44  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  38 ของความจุอ่างฯ  ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร

9) อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัด ลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 373 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  39 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบาย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 284 ล้านลูกบาศก์เมตร

4. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง สภาพน้ำท่าตั้งแต่ท้ายเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ถึงจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่สถานี P.2A บ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 403.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

แม่น้ำวัง เขื่อนกิ่วลมซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของแม่น้ำวังมีปริมาตรน้ำ 24  ล้านลบ.ม.(22 %) สภาพน้ำท่าแม่น้ำวัง อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่สถานี  W.4Aบ้านวังหมัน  อำเภอสามเงา  จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 30.4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  

แม่น้ำยม สภาพน้ำท่าตั้งแต่จังหวัดแพร่ถึงจังหวัดพิจิตร อยู่ในเกณฑ์น้อย โดยที่สถานี Y.1C(4 พ.ค. 2550)  ที่สะพานบ้าน   น้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2.2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที   และที่สถานี  Y.17  บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม  จังหวัดพิจิตร  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 47.05 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  

แม่น้ำน่าน สภาพน้ำท่าตั้งแต่ท้ายเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่สถานี  N.5A ที่สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 327.3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และที่สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 364 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ส่วนสภาพน้ำท่าด้านเหนือเขื่อน ที่สถานี N1 (4 พ.ค. 2550หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  8.5)  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

            แม่น้ำเจ้าพระยา ตามที่ในข่าว 2-3 วันที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางอย่างต่อเนื่องปริมาณน้ำในพื้นที่ และลำน้ำต่างๆ ในลุ่มเจ้าพระยาท้ายเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นในลำน้ำสายย่อยบางแห่ง เนื่องจากระบายน้ำไม่ทัน แต่ไม่มีผลกระทบเกิดปัญหาน้ำท่วมในลำน้ำสายหลักได้แก่ แม่น้ำปิง ,วัง, ยม และ น่าน เจ้าพระยาและท่าจีนแต่อย่างไร ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณน้ำในสายหลักไม่ให้มากเกินไป กรมชลประทานได้ประสานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล ลงสู่แม่น้ำปิง และจากเขื่อนสิริกิติ์ลงสู่แม่น้ำน่านจาก 320 ลูกบาศก็เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2550 เหลือ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 )

เมื่อวันที่5 พฤษภาคม 2550 ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 514ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปัจจุบัน (6 พฤษภาคม 2550) มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 638 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาได้เพิ่มจาก 60ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม2550 เป็น 226 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันนี้ (โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา+16.50ม.(รทก.))กรมชลประทานได้แจ้งให้จังหวัดด้านท้ายเขื่อน ที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านให้รับทราบและแจ้งเตือน ให้เกษตรผู้เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับทราบและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดไว้แล้ว เขื่อนพระรามหกหยุดการระบายน้ำ

แม่น้ำโขง (4 พ.ค. 2550) บริเวณตั้งแต่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  มีน้ำนอนคลอง

แม่น้ำมูล (4 พ.ค. 2550) สถานีวัดน้ำ M.6A บริเวณบ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพน้ำนอนคลอง

แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี ที่สถานี  K.54 บริเวณสะพานฯบ้านลิ่นถิ่น อ.ทองผาภูมิ  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 348.6ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับน้ำ 4.10 ม. ระดับตลิ่ง 7.50 ม. อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

แม่น้ำแควใหญ่ จ.กาญจนบุรี ที่สถานี K.35A บริเวณบานหนองบัว อ.เมือง  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 224ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำ 4.20 ม. ระดับตลิ่ง 8.00 ม. อยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำลำภาชี จ.ราชบุรี ที่สถานี K.17 บริเวณ บ้านบ่อ อ.สวนผึ้ง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 11.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำ 0.70 ม. ระดับตลิ่ง 5.90 ม. อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย  มีแนวโน้มลดลง

แม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ที่สถานี B.3A บริเวณท้ายเขื่อนแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 0.7 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำ 0.47 ม. ระดับตลิ่ง 4.40 ม. อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีแนวโน้มลดลง และ ที่สถานี B.10 ท้ายเขื่อนเพชรบุรี บ้านท่ายาง อ.ท่ายาง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 35.3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำ 2.08 ม. ระดับตลิ่ง 8.50 ม. อยู่ในเกณฑ์ปกติ  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

5. คุณภาพน้ำ

สภาพความเค็ม  ณ จุดที่เฝ้าระวัง  ของแม่น้ำสายหลักต่างๆ แสดงได้ดังนี้ 

แม่น้ำ

จุดเฝ้าระวัง

ความเค็ม (กรัม/ลิตร)

วันที่ตรวจวัด

เกณฑ์

เจ้าพระยา

อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

0.150

24 เม.ย.50

ปกติ

ท่าจีน

อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

0.142

24 เม.ย.50

ปกติ

แม่กลอง

ปากคลองดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

0.044

24 เม.ย.50

ปกติ

นครนายก

ปตน.เสาวภาผ่องศรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

0.300

25 เม.ย.50

ปกติ

หมายเหตุ:  เกณฑ์เฝ้าระวังค่าความเค็ม  น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2.0 กรัม/ลิตร

6. สถานการณ์ภัยแล้ง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย รายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง (1 พ.ย.2549 –6พ.ค. 2550)

ภาค

จำนวนจังหวัด

พื้นที่ประสบภัย

เหนือ

10

กำแพงเพชร ลำปาง    ตาก  ลำพูน  พิจิตร เชียงใหม่ พิษณุโลก    แม่ฮ่องสอน  นครสวรรค์ และอุทัยธานี

ตะวันออก  เฉียงเหนือ

16

กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร ยโสธร ชัยภูมิ  บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู สกลนคร อุดรธานี  ศรีสระเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี   มหาสารคาม สุรินทร์  และ ร้อยเอ็ด

กลาง

3

สุพรรณบุรี กาญจนบุรี  และ ลพบุรี

ตะวันออก

2

  สระแก้ว และปราจีนบุรี

รวม

31

รวม 31 จังหวัด 232 อำเภอ  27 กิ่งอำเภอ 1,330 ตำบล 6,973 หมู่บ้าน (9% ของหมู่บ้านทั้งประเทศ โดยจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งน้อยกว่าปี 2549 คิดเป็น 21 %  น้อยกว่าปี 2548 คิดเป็น 25 %)

หมายเหตุ :   จังหวัดที่ประสบภัย 49 จังหวัด เริ่มรายงาน ณ วันที่ 24 เม.ย.50

จังหวัดที่ประสบภัย 31 จังหวัด (ปัจจุบัน) เริ่มรายงาน ณ วันที่ 30 เม.ย.50  มีจังหวัดที่ลดลง 18 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย  แพร่ น่าน เพชรบูรณ์ เชียงราย อุตรดิตถ์ พะเยา หนองคาย นครพนม เลย ราชบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา  ระยอง นครศรีธรรมราช  ชุมพร สุราษฎร์ธานี และ สงขลา

7. การจัดสรรน้ำ และการปลูกพืชฤดูแล้งปี 2549/2550  

การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน เกษตรกรได้ปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว 8.52 ล้านไร่ (109.3% ของเป้าหมาย) เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว 3.8 ล้านไร่ และปลูกพืชไร่-พืชผัก 0.80 ล้านไร่ (92% ของเป้าหมาย) เก็บเกี่ยวพืชไร่ -พืชผักแล้ว 0.41 ล้านไร่ ปัจจุบันได้ระบายน้ำไปแล้ว 18,598ล้านลูกบากศ์เมตร คิดเป็น96.5% ของแผน(19,266ล้านลูกบากศ์เมตร)

สำหรับในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาบริเวณท้ายเขื่อนภูมิพล  เขื่อนสิริกิติ์  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และ เขื่อนแม่กลอง เกษตรกรได้ปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว 5.72 ล้านไร่ (104% ของเป้าหมาย) เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว 2.56 ล้านไร่ และปลูกพืชไร่-พืชผัก 0.02 ล้านไร่ (58% ของเป้าหมาย) เก็บเกี่ยวพืชไร่ -พืชผักแล้ว 0.02 ล้านไร่  ปัจจุบันได้ระบายน้ำไปแล้ว 10,279 ล้านลูกบากศ์เมตร คิดเป็น102.3 %  ของแผน (10,050ล้านลูกบากศ์เมตร)

8. การให้ความช่วยเหลือ           

กรมชลประทานได้เตรียมเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือในฤดูแล้งปี 2550 ทั้งประเทศทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน จำนวน 1,200 เครื่อง  และรถยนต์บรรทุกน้ำ  จำนวน  295 คัน  ปัจจุบันได้ดำเนินการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือแล้วใน 57 จังหวัด จำนวน 766 เครื่อง แยกเป็นสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง  699 เครื่อง และการอุปโภค-บริโภค 67 เครื่อง  สำหรับรถบรรทุกน้ำ  295 คันได้เตรียมพร้อมแล้ว  โดยเริ่มส่งรถยนต์บรรทุกน้ำช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2549 ที่จังหวัดจันทบุรี  ทั้งประเทศได้ขนส่งน้ำไปช่วยเหลือ 7,820 เที่ยว คิดเป็นปริมาณน้ำ 43.64 ล้านลิตร 

 

************************************

นายจารุพงษ์  คงใจ        วิศวกรชลประทาน  4                                         รายงาน

นายพรชัย  พ้นชั่ว          หัวหน้าศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ   ตรวจ