+1                   ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ  กรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                        โทรศัพท์  0-2243-6956    โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350

                        Webpage : http://www.rid.go.th/flood , www.kromchol.com, E-mail : rid_flood@yahoo.com

_________________________________________________________

สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2550

วันที่ 10 พฤษภาคม 2550

1.สภาพภูมิอากาศ

 

 

 

 

 

 

 

 

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกชุกโดยจะมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้หลายพื้นที่ในภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกรวมทั้งคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทย จะมีกำลังค่อนข้างแรง ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักในระยะนี้ ส่วนชาวเรือโดยเฉพาะในทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย

 

2.สภาพฝน

ปริมาณฝนสูงสุดรายภาค ตั้งแต่ 07.00น. วันที่ 9 พฤษภาคม 2550 จนถึง 07.00 น. วันที่ 10 พฤษภาคม  2550  มีดังนี้

ภาคเหนือ                       ที่ อ.เมือง  จ.แม่ฮ่องสอน  33.5      มม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา  36.6      มม.

ภาคกลาง                       ที่  อ.แม่เปิน  จ.นครสวรรค์            135.0    มม.

ภาคตะวันออก                ที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด    31.3      มม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก         ที่ อ.ป่าพะยอม  จ.พัทลุง   55.0      มม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก                       ที่ อ.เมือง จ.ระนอง                      76.2      มม.

3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (10 พฤษภาคม 2550) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 46,091 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (43,151 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน  2,940 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 4 ของความจุอ่างฯทั้งหมด

อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 8,767 และ 5,811 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ  คิดเป็นร้อยละ 65 และ 61 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 14,578 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ น้อยกว่า 40 % ของความจุอ่างฯ  มีจำนวน 8 อ่าง ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับในช่วงฤดูแล้งนี้ และไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด  ได้แก่

1) อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 59 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ  ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 55 ล้านลูกบาศก์เมตร

2) อ่างเก็บน้ำกิ่วลม จังหวัดลำปาง มีปริมาตรน้ำในอ่าง 32 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ  ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 14.71 ล้านลูกบาศก์เมตร

3) อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง  จังหวัดอุดรธานี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 44  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  38 ของความจุอ่างฯ  ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร

4) อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 36 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 32.85 ล้านลูกบาศก์เมตร

5) อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 52 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 46.73 ล้านลูกบาศก์เมตร 

6) อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล มีปริมาตรน้ำในอ่าง 74 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุ  อ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ  ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 66.70 ล้านลูกบาศก์เมตร

7) อ่างเก็บน้ำคลองสียัด  จังหวัดฉะเชิงเทรา  มีปริมาตรน้ำในอ่าง 160  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  38 ของความจุอ่างฯ  ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 130 ล้านลูกบาศก์เมตร

8) อ่างเก็บน้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 130 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 37ของความจุอ่างฯ ใช้น้ำตามแผนการระบายน้ำ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2550 จะมีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 83 ล้านลูกบาศก์เมตร

4. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง สภาพน้ำท่าตั้งแต่ท้ายเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ถึงจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่สถานี P.2A บ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 370 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

แม่น้ำวัง เขื่อนกิ่วลมซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของแม่น้ำวังมีปริมาตรน้ำ 32 ล้านลบ.ม.(29 %) สภาพน้ำท่าแม่น้ำวัง อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่สถานี  W.4Aบ้านวังหมัน  อำเภอสามเงา  จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 71 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  

แม่น้ำยม สภาพน้ำท่าตั้งแต่จังหวัดแพร่ถึงจังหวัดพิจิตร อยู่ในเกณฑ์น้อย โดยที่สถานี Y.1Cที่สะพานบ้าน   น้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 34 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที   และที่สถานี  Y.17  บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม  จังหวัดพิจิตร  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 179 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  

แม่น้ำน่าน สภาพน้ำท่าตั้งแต่ท้ายเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่สถานี  N.5A ที่สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 243 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และที่สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 644 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ส่วนสภาพน้ำท่าด้านเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ที่สถานี N1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,049 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 903 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.50 ม.(รทก.)  มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 38 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

แม่น้ำโขง บริเวณตั้งแต่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  มีน้ำนอนคลอง

แม่น้ำมูล สถานีวัดน้ำ M.6A บริเวณบ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพน้ำนอนคลอง

แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี ที่สถานี  K.54 บริเวณสะพานฯบ้านลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 334.6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

แม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ที่สถานี B.3A บริเวณท้ายเขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีแนวโน้มทรงตัว และ ที่สถานี B.10 ท้ายเขื่อนเพชรบุรี บ้านท่ายาง          อำเภอท่ายาง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 8.6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  มีแนวโน้มลดลง

5. สถานการณ์ภัยแล้ง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย รายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง (1 พ.ย.2549 –9 พ.ค. 2550)  

ภาค

จำนวนจังหวัด

พื้นที่ประสบภัย

เหนือ

6

ตาก  ลำพูน  เชียงใหม่  แม่ฮ่องสอน  นครสวรรค์ และอุทัยธานี

ตะวันออก  เฉียงเหนือ

9

ขอนแก่น ยโสธร อุดรธานี  ศรีสระเกษ นครราชสีมา ชัยภูมิ  มหาสารคาม สุรินทร์ และ ร้อยเอ็ด

ตะวันออก

1

สระแก้ว

รวม

16

รวม 16 จังหวัด 120 อำเภอ  14 กิ่งอำเภอ 695  ตำบล 3,757 หมู่บ้าน

หมายเหตุ :   จังหวัดที่ประสบภัย 31 จังหวัด   เริ่มรายงาน ณ วันที่ 30 เม.ย.50 

                    จังหวัดที่ประสบภัย 16 จังหวัด (ปัจจุบัน) เริ่มรายงาน ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2550 มี จังหวัดที่ประสบภัยแล้งลดลง 15 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ลำปาง พิจิตร พิษณุโลก พะเยา กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ สกลนคร อุบลราชธานี สุพรรณบุรี  ลพบุรีและปราจีนบุรี

                  จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในปี 2550 ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2550 น้อยกว่าปี 2548 อยู่ร้อยละ 27 และน้อยกว่า ปี 2549 ร้อยละ 24 คาดว่าสถานการณ์ภัยแล้งในสัปดาห์นี้จะมีพื้นที่ประสบภัยแล้งลดลงและเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากมีฝนตกกระจายทั่วทุกภาคและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน

การให้ความช่วยเหลือในฤดูแล้งปี 2550 กรมชลประทานได้เตรียมเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือทั้งประเทศ ในเขตและนอกเขตชลประทาน จำนวน 1,200 เครื่อง  และรถยนต์บรรทุกน้ำ  จำนวน  295 คัน  ปัจจุบันได้ดำเนินการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือแล้วใน 57 จังหวัด จำนวน 766 เครื่อง แยกเป็นสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง  699 เครื่อง และการอุปโภค-บริโภค 67 เครื่อง  สำหรับรถบรรทุกน้ำ  295 คันได้เริ่มส่งรถยนต์บรรทุกน้ำช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2549 ที่จังหวัดจันทบุรี  ทั้งประเทศได้ขนส่งน้ำไปช่วยเหลือ 7,820 เที่ยว คิดเป็นปริมาณน้ำ 43.64 ล้านลิตร 

 

 

 

6.สถานการณ์น้ำท่วม

           จังหวัดเชียงใหม่

 ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในในช่วงวันที่ 4 – 8 พฤษภาคม 2550 บริเวณต้นน้ำแม่แจ่ม ทำให้เกิดปริมาณน้ำไหลหลากในลำน้ำแม่แจ่ม กัดเซาะคันดินฝั่งซ้ายของผ่ายแม่แจ่ม ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อาคารหินก่อลาดข้างและ ทรบ. ปากคลองส่งน้ำฝั่งซ้าย ได้รับความเสียหาย  ขณะนี้ปริมาณน้ำยังคงมาก  กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานเชียงใหม่ได้ติดตามและตรวจสอบความเสียหายและจะได้ซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิมต่อไป

           จังหวัดนครสวรรค์

                เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 ได้เกิดฝนตกหนักในเขตอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ วัดได้ 111.4 มิลลิเมตร ทำให้ปริมาณน้ำในคลองโพธิ์ วัดปริมาณน้ำได้ 452 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำในคลองโพธิ์สูงขึ้นไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมหมู่บ้านชุมตาบง ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.30-0.50 เมตร ปริมาณน้ำดังกล่าวจะไหลผ่าน อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2550 เวลาปริมาณ 06.00 น. อาจเกิดน้ำล้นตลิ่งและท่วมชุมชนริมแม่น้ำสะแกกรัง ทั้งนี้กรมชลประทานได้ประสานกับจังหวัดให้แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำ ได้ทราบแล้วและได้เตรียมการให้ความช่วยเหลือต่อไป

 จังหวัดสุพรรณบุรี

               เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร ทุ่งบางปลาม้าและทุ่งสองพี่น้อง ได้รับความเสียหาย สรุปพื้นที่น้ำท่วมได้ดังนี้

บริเวณที่เกิดน้ำท่วมพื้นที่เกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี

พื้นที่การเกษตรน้ำท่วม-ไร่

-ตำบลบางพลับ

-บ้านทุ่ม

-บางตะเคียน

-คันตาล

รวม

5,000

6,000

10,000

7,000

28,000

           

โครงการฯโพธิ์พระยาเร่งระบายน้ำออกตามคันกั้นน้ำฝั่งขวาแม่น้ำสุพรรณ ด้วยเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 31 เครื่อง และขอเครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน อีก 6 เครื่อง ( ปตร สองพี่น้อง 4 เครื่อง ปตร.บางหัวบ้าน 2 เครื่อง )

แนวทางการดำเนินการของกรมชลประทานในการแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์

-   มอบหมายให้นายภูวเนตร ทองรุ่งโรจน์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน เดินทางลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เฝ้าติดตามสถานการณ์ และให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ได้รับการร้องขอความช่วยเหลือ

-   โครงการฯโพธิ์พระยาเร่งระบายน้ำออกตามคันกั้นน้ำฝั่งขวา แม่น้ำสุพรรณ ด้วยเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 31 เครื่อง และขอเครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน อีก 6 เครื่อง ( ปตร สองพี่น้อง 4 เครื่อง ปตร.บางหัวบ้าน 2 เครื่อง )

************************************

นายทรงเกียรติ  ขำทอง     วิศวกรชลประทาน  5                                            รายงาน

นายพรชัย  พ้นชั่ว            หัวหน้าศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ        ตรวจ