สถานการณ์ปัจจุบัน : สถานการณ์วิกฤตระดับ 2 ตั้งแต่ วันอังคารที่ 13 กันยายน 2550 เวลาทำการ  07.00 – 20.30 น.

 
 

 


                            ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                                        โทรศัพท์  0-2243-6956, 0-2241-3350,0-2243-1098 โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350,0-2243-1098

                                         http://www.rid.go.th/flood , www.kromchol.com, E-mail : rid_flood@yahoo.com  สายด่วน 1460

  _________________________________________________________

สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน  ปี 2550

วันเสาร์ที่  15  กันยายน พ.ศ. 2550  

 

 1.สภาพภูมิอากาศ

               
         


 

 

 

 

 

 

 

ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทยตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ทุกภาคมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ลาดเชิงเขา และใกล้ทางน้ำไหลผ่านโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย น่าน พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ สำหรับ คลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

2.สภาพฝน 

ปริมาณฝนสูงสุดรายภาค ตั้งแต่ 07.00 น.วันที่14 กันยายน 2550ถึง 07.00 น.วันที่ 15  กันยายน 2550 ดังนี้

ภาคเหนือ                                  ที่ อ.วิเชียรบุรี  จ.เพชรบูรณ์                                   75.6     มม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ             ที่ อ.เมือง  จ.อุบลราชธานี                                      94.1  มม.

ภาคกลาง                                  ที่ อ.ตากฟ้า  จ.นครสวรรค์                                    89.2   มม.

ภาคตะวันออก                            ที่ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี                                          42.1    มม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก                    ที่ อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช                                39.0    มม.

                        ภาคใต้ฝั่งตะวันตก                      ที่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา                                          124.5     มม.

 

 

3.สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

 

 

 

 

 

 

 

 

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (15 กันยายน 2550) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 50,392 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 74  ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2549 (56,994 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 6,602 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 9.6อ่างเก็บน้ำภูมิพล และอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 8,805 และ 6,468 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 65 และ 68 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกันจำนวน 15,273 ล้านลูกบาศก์เมตร

                                                           

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ น้อยกว่า 30 % ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 3 อ่าง ได้แก่

1) อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 45 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 17 ของความจุอ่างฯ

 

 

 

 

 

 

2) อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 30 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ

 

 

 

 

 

 

3) อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี  มีปริมาตรน้ำในอ่าง 40 ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ

 

 

 

 

 

 


 สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ มากกว่า 80 % ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 5 อ่าง ได้แก่

1) อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์  มีปริมาตรน้ำในอ่าง 1,336 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  93  ของความจุอ่างฯ

 

 

 

 

 

 

 


2) อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง   15,144  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  85  ของความจุอ่างฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3) อ่างเก็บน้ำวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง  7,163  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  81  ของความจุอ่างฯ

 

 

 

 

 

 

 

 


4) อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่าง 136  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  83  ของความจุอ่างฯ

 

 

 

 

 

 

 


5) อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง  มีปริมาตรน้ำในอ่าง  202  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  83  ของความจุอ่างฯ

 

 

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง มีดังนี้

 

 

 

 

4. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง ที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณน้ำไหล ผ่าน 79 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 440 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ  แนวโน้มลดลง

สถานี P.2A บ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 403 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,830 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำวัง  ที่สถานี  W.1C ที่สะพานเสตุวารี  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

 สถานี  W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 52 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  (ความจุ 316 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำยม ที่สถานี Y.1C ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 186 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย  แนวโน้มลดลง

สถานี Y.4 ที่ตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 168 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  (ความจุ 520 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มทรงตัว

สถานี Y.16 บ้านบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 317 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  (ความจุ 308 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับตลิ่ง  7.17 ม. ) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.31 เมตร แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 244 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  (ความจุ 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำน่าน โดยที่สถานี  N.5A ที่สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 462 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี N.24A ที่บ้านวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 182 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี N.8A ที่บ้านบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 840 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,230 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี N.14A หน้าวัดหลวงพ่อแก้ว อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 854 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,230 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับตลิ่ง  27.81  ม.) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  0.82  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,037  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,370 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับตลิ่ง  27.40  ม.) อยู่ในเกณฑ์มาก  ระดับต่ำกว่าตลิ่ง  1.17  ม.  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี N.60 บ้านเด่นสำโรง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 246  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

ส่วนสภาพน้ำท่าด้านเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ที่สถานี N1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 264 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,357  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำ

ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,323 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +15.80 ม.(รทก.)  เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน  14  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

           

                                                                       

แม่น้ำป่าสัก  สถานี S.42 บ้านบ่อวัง  อ.วิเชียรบุรี  จ.เพชรบูรณ์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน  116  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 188  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดั บตลิ่ง  10.20  ม.) อยู่ในเกณฑ์มาก ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  1.71  เมตร  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำชี ที่สถานี E.20A   อำเภอมหาชนะชัย   จังหวัดยโสธร  สภาพน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์มาก ปริมาณน้ำไหลผ่าน   777 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 1,025  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับตลิ่ง  9.50  ม.)  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  0.72 เมตร   แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำมูล สถานี M.6A บริเวณบ้านสตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ มีน้ำนอนคลอง  ปริมาณน้ำไหลผ่าน  36 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ( ความจุ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)  อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย  แนวโน้มลดลง

แม่น้ำห้วยทับทัน  สถานี M.42 บ้านห้วยทับทัน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีษะเกษ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 46  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับตลิ่ง  6.00  ม.)  อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ต่ำกว่าตลิ่ง  0.60  เมตร  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำมูล  สถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย  อ.เมือง  จ.อุบลราชธานี ปริมาณน้ำไหลผ่าน   1,174 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 1,980 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำแควใหญ่ สถานี K.35A บริเวณบ้านหนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 159  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

แม่น้ำแม่กลอง สถานี K.3 หน้าวัดไชยชุมพล  อ.เมือง จ.กาญจนบุรี อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  ต่ำกว่าตลิ่ง  0.33 เมตร (ระดับตลิ่ง  7.50 ม.)  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

 แม่น้ำคลองใหญ่ สถานี Z.10 บริเวณบ้านศรีบัวทอง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 499 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

แม่น้ำจันทบุรี สถานี Z.13 บริเวณบ้านปึก อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 39 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 244 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำตาปี  สถานี X.37 A บริเวณบ้านย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 178 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที    (ความจุ 490 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับตลิ่ง 10.76 ม.)  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำอู่ตะเภา  สถานี X.44 บริเวณบ้านหาดใหญ่ใน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน   3ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 509 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำโกลก  สถานี X.119A บริเวณบ้านปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 384 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น

5.  สถานการณ์น้ำท่วม  

          จังหวัดเชียงราย

 อ.แม่จัน  ตามที่ลำน้ำแม่คำมีปริมาณน้ำมาก ไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร ในเขตพื้นที่ บ้านแม่คำน้ำลัด หมู่ที่ 11 บ้านหัวฝาย ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน  อ.  พญาเม็งราย และตามที่ลำน้ำแม่ต๊าก (สาขาน้ำแม่อิง-แม่น้ำโขง) ไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร บ้านทุ่งเจ้า หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งเจ้าเหนือ หมู่ที่ 15 บ้านทุ่งเจ้าใต้ ต.แม่เปา อ.พญาเม็งราย สถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว

            จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากแม่น้ำยมที่ไหลผ่านตั้งแต่ อ.เมือง  อ.กงไกรลาศ ของ  จ. สุโขทัย ถึง อ.บางระกำ เขตจังหวัดพิษณุโลก มีการไหลล้นตลิ่งอยู่เป็นประจำ  เมื่อมีปริมาณน้ำในลำน้ำมากและเข้าท่วมขังในพื้นที่ราบลุ่มในเขต     อ.เมือง ที่ ต.ยางซ้าย ต.ปากพระต.บ้านสวน และในเขต อ.กงไกรลาศ ที่ ต.ท่าฉนวน ต.กง และต.ดงเดือย ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว  แนวโน้มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติประมาณเดือนตุลาคม  2550

จังหวัดพิษณุโลก  สถานการณ์น้ำในแม่น้ำยมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ หากมีฝนตกหนักทางตอนเหนือของจังหวัดพิษณุโลกหรือบริเวณใก้ลเคียงอีก คาดว่าน้ำจะล้นตลิ่งเพิ่มมากขึ้นบริเวณที่ลุ่มต่ำ  ผอ.คป.พิษณุโลกได้ติดตามสถานการณ์อย่างใก้ลชิด และแจ้งเตือนจังหวัดทราบด้วยแล้ว 

            จังหวัดพิจิตร  ตามที่ได้มีปริมาณน้ำจากแคววังทองในเขต อ.เนินมะปราง จ. พิษณุโลกไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร แต่ไม่ได้รับความเสียหายเนื่องจากได้เก็บเกี่ยวหมดแล้ว  และชุมชนในเขต ต. ท่าฬ่อ ต.ป่ามะคาบ ต.บ้านบุ่ง ต.หนองปลาไหล ต.หัวดง อ. เมือง ซึ่งโครงการชลประทานพิจิตรได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำ ทรบ.บ้านบุ่ง และ ปตร.คลองตัน  เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ลงแม่น้ำน่านด้วยแล้ว  หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม  คาดว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวปกติในวันที่  17  กันยายน  2550

            จังหวัดอุทัยธานี  เกิดฝนตกติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 11  กันยายน  เป็นต้นมาทำให้ปริมาณจากลำน้ำคลองโพ ที่ จ.นครสวรรค์  ไหลล้นตลิ่งเข้าพื้นที่การเกษตร  ในเขต  ตำบลบ่อยาง  ตำบลไผ่เขียว  อำเภอสว่างอารมณ์  จังหวัดอุทัยธานี  ส่วนใหญ่พื้นที่เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก แนวโน้มทรงตัว  ถ้าไม่มีฝนตกมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่  17  กันยายน  2550 ส่วนสภาพความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ           เนื่องจากปริมาณน้ำในแควตากแดดมีแนวโน้มมากโดยตลอด ส่งผลให้เขื่อนวังร่มเกล้ายังคงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อนมากขึ้น จะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสะแกกรังสูงขึ้น ทั้งนี้ผอ.คป.อุทัยธานีได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบด้วยแล้ว

            จังหวัดกาฬสินธุ์  มีน้ำท่วมขังบริเวณที่ติดกับลำน้ำปาว บริเวณบ้านดอนฉนวน หมู่ที่ 9 ต.หลุบ อ.เมือง พื้นที่ประมาณ 800 ไร่ ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากประจำทุกปี  และ น้ำท่วมพื้นที่การเกษตร ที่ อ.เมือง  อ.ยางตลาด อ.ฆ้องชัย  อ.ดอนจาน  อ.ดำม่วง  อ.สหัสขันธ์  อ.สามชัย  อ.นาคู  อ.สมเด็จ  ประมาณ  41,000  ไร่  คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1  สัปดาห์

จังหวัดสกลนคร  มีน้ำเอ่อเข้าท่วมในพื้นที่ราบลุ่มตามริมตลิ่งในลำน้ำต่างๆ (ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบน้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี)เนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ ดังนี้ 

          ลำน้ำสงครามตอนล่าง ในเขต  อ.คำตากล้า สถานการณ์ระดับน้ำลดลง และ อ.อากาศอำนวย สถานการณ์ระดับน้ำทรงตัว  สถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว และลำน้ำยาม  ในเขต อ. อากาศอำนวย สภาพน้ำแนวโน้มลดลง  สถานการณ์น้ำเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ 

ลำน้ำก่ำ ในเขตอ.โพนนาแก้ว และ อ.โคกศรีสุพรรณ  สถานการณ์แนวโน้มระดับน้ำลดลง สภาพน้ำท่วมตลิ่งยังคงมีอยู่  เนื่องจากหนองหานมีระดับน้ำเกินระดับเก็บกัก และระบายลงลำน้ำก่ำ

            จังหวัดหนองคาย   ตามที่ได้เกิดฝนตกในวันที่  9-10 กันยายน  2550  ทำให้ปริมาณน้ำในลำห้วยทอน ตอนล่าง ยังคงล้นตลิ่ง การระบายน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้ เนื่องจากลำห้วยโมงยังคงมีน้ำเติมความจุ และไม่สามารถระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้ ทำให้เกิดภาวะน้ำเอ่อท้น และไหลย้อนกลับเข้าสู่คลองสาขาต่างๆ บริเวณบ้านสาวและบ้านโพธิ์ตาก ต.โพธิ์ตาก กิ่ง อ.โพธิ์ตาก เนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ซึ่งมีน้ำท่วมขังอยู่เดิมทำให้มีระดับน้ำสูงขึ้นมาอีก เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550  ต่อมาวันที่  12 กันยายน 2550 การระบายน้ำออกสู่แม่น้ำโขงสะดวกมากขึ้น คาดว่า สถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติภายในวันที่ 17 กันยายน 2550 หากไม่มีปริมาณน้ำฝนตกหนักเพิ่มเติมลงมาอีก

6. การให้ความช่วยเหลือ

ปัจจุบันกรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำประจำที่ท่าสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยทั้งประเทศจำนวน 122 เครื่อง โดยแยกรายจังหวัดได้ดังนี้  เชียงใหม่ 45 เครื่อง ลำพูน 10 เครื่อง พิจิตร 2 เครื่อง พิษณุโลก 2 เครื่อง มหาสารคาม 3 เครื่อง ชัยภูมิ 2 เครื่อง นครราชสีมา 3 เครื่อง นนทบุรี 13 เครื่อง ปทุมธานี 2 เครื่อง  สุพรรณบุรี15 เครื่อง  สมุทรสาคร 2  เครื่อง  นครปฐม  1 เครื่อง  ชัยนาท 14 เครื่อง อ่างทอง 5 เครื่อง นครศรีธรรมราช  3 เครื่อง 

************************************

นายพงศกร  อุตตนางกูร                                                       นายช่างชลประทาน  7                         ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานศปส.ชป.     รายงาน                                                       

นายพรชัย    พ้นชั่ว                                                                นายช่างชลประทาน 8                       เลขานุการคณะทำงาน ศปส.ชป.                  ตรวจ