ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ
กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์ 0-2243-6956
โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350
Webpage : http://www.rid.go.th/flood , E-mail : flood44@mail.rid.go.th
_____________________________________________________________________________________
สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2548
วันที่ 16 สิงหาคม 2548
1.
สภาพภูมิอากาศและสภาพฝน
รายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา
06.00 น. วันที่ 15 สิงหาคม 2548
หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย
และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกระจาย
สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ อนึ่ง ระดับน้ำในลุ่มน้ำยมบริเวณจังหวัดสุโขทัยมีแนวโน้มสูงขึ้น
และคาดว่าจะท่วมในพื้นที่ลุ่มบางพื้นที่ในระยะ 1-2 วันนี้ จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวเตรียมการป้องกันภัยจากสภาวะน้ำลันตลิ่งไว้ด้วย
ปริมาณฝนสูงสุดในภาคต่างๆ (ตั้งแต่ 01.00 น. 15 ส.ค.48
ถึง 01.00 น. 16 ส.ค.48) มีดังนี้ คือ
ภาคเหนือ ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก 23.8 ม.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อ.เมือง จ.นครพนม 48.9
ม.ม. ภาคกลาง ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
4.4 ม.ม. ภาคตะวันออก ที่ อ.เมือง จ.สระแก้ว 9.8 ม.ม. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา 80.8 ม.ม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่ อ.เมือง จ.ระนอง 2.2 ม.ม. กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เขตบางนา 9.6 ม.ม.
2.สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำต่างๆ
2.1 สภาพลุ่มน้ำที่เกิดน้ำท่วม
จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนามตอนบน
และลาว ในช่วงวันที่ 11 -13 ส.ค 48 และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 13 สิงหาคม 2548 ส่งผลให้เกิดสภาพฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำต่าง ๆ ดังนี้
2.1.1
ลุ่มน้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จากสภาพฝนที่ตกหนักในวันที่ 12
ส.ค.48 วัดได้ที่ อ.เมือง
จ.แม่ฮ่องสอน 74.2 ม.ม. และ อ.แม่สะเรียง
วัดได้ 34.8 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ การเกษตร
และเทศบาลเมืองปาย อ.ปาย ,
อ.ปางมะผ้า และ อ.เมือง เส้นทางจราจรหลายสายถูกน้ำกัดเซาะตัดขาด
ปัจจุบันระดับน้ำในลำน้ำในเขต อ.ปาย และ อ.ปางมะผ้า
ได้ลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 48 สำหรับในเขต อ.เมือง คาดว่าสภาพน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่การเกษตรจะลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติใน
1-2 วันนี้
2.1.2 ลุ่มน้ำกก จังหวัดเชียงราย จากสภาพฝนที่ตกหนัก เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2548 วัดได้ที่ ฝายโป่งนก อ.เวียงป่าเป้า 161.5 ม.ม.
, ที่ว่าการอำเภอเทิง 70.0 ม.ม. ทำให้เกิดสภาพน้ำในแม่น้ำลาวมีปริมาณมากไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎร
ในเขตพื้นที่ ต.ป่าอ้อดอนชัย
ต.สันทราย ต.ท่าสาย อ.เมือง , ต.บัวสลี
อ.แม่ลาว , ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย , ต.ม่วงคำ ต.ทานตะวัน ต.ดอยงาม ต.หัวงุ้ม อ.พาน
ปัจจุบันระดับน้ำในลำน้ำแม่น้ำกก
แม่ลาว และน้ำอิง มีปริมาณเพิ่มขึ้น
โครงการชลประทานเชียงรายได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยในเขต
ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย จำนวน 1 เครื่อง
2.1.3 ลุ่มน้ำปิง
จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2548
ได้เกิดฝนตกหนักที่
บ้านม่วงป๊อก
อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ 79.2 ม.ม. อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 200.3 ม.ม.
ฝายแม่แฝก อ.แม่แตง 115 ม.ม. ฝายแม่แตง อ.แม่แตง 125.5 ม.ม. สำนักชลประทานที่ 1
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 40.7 ม.ม. จากปริมาณฝนที่ตก ทำให้ปริมาณน้ำไหล
เข้าท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ วันที่
14 สิงหาคม 2548 เวลา 04.00 น. โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านฝายแม่แตงสูงสุด 355 ลบ.ม./วินาที ไหลผ่านฝายแม่แฝกสูงสุด 342 ลบ.ม./วินาที
โดยมีปริมาณน้ำที่สถานี P.67 บ้านแม่แต อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ สูงสุด ประมาณ 717 ลบ.ม./วินาที เวลา 13.00 น. (14 ส.ค.48) และปริมาณน้ำสูงสุดที่สะพานนวรัฐ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ ประมาณ 740 ลบ.ม./วินาที เวลา 18.00 น.
ของวันที่ 14 สิหาคม 2548 โดยมีน้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ถนนไนท์พลาซ่า ถึงสนามบินเชียงใหม่ ทั้ง 6 โซน น้ำท่วมสูงประมาณ
0.60-0.80 ม. (ตามแผนที่ด้านล่าง) โครงการชลประทานเชียงใหม่ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือในพื้นที่ไนท์พลาซ่า ถนนช้างคลาน ป่าแดด หมู่บ้านเวียงทอง ถนนเจริญประเทศ รวม 5 จุด จำนวน 9 เครื่อง
สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน ( เวลา 06.00 น.
วันที่ 16 ส.ค.48) ระดับน้ำที่แม่น้ำปิง บริเวณสะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
มีระดับ +3.60 ม.(รทก) ต่ำกว่าระดับเริ่มท่วม 0.10 เมตร
ปริมาณน้ำไหลผ่าน 442 ลบ.ม./วินาที
และเมื่อเวลา 10.00 น. ระดับอยู่ที่ 3.39 เมตร ปริมาณน้ำไหลผ่าน 387 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องกลับเข้าสู่สภาะปกติแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่อยู่ระหว่างการให้ความช่วยเหลือสูบน้ำระบายออกจากแหล่งน้ำท่วมขังในบริเวณตัวเมืองเชียงใหม่ ส่วนบริเวณ อ.สารภี และ อ.หางดง
(บ้านสบแม่ข่า) มีระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 0.50 เมตร รวมจำนวนเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ
52 เครื่อง
เมื่อเวลา
08.00 น. บริเวณลำน้ำฝาง
ได้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่การเกษตรบริเวณสองฝั่งสูงประมาณ 0.70 เมตร
แนวโน้มระดับน้ำลดลง
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนแม่งัด เขื่อนแม่กวง มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างตั้งแต่วันที่ 11 15 ส.ค. 48 จำนวน 161, 65
และ 26 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ รวม 252 ล้าน ลบ.ม. จากสภาพฝนที่ตกหนักที่ผ่านมา คาดว่าจะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนภูมิพล
เขื่อนแม่งัด เขื่อนแม่กวง รวมประมาณ 350 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้กรมชลประทานโดยศูนย์อุทกวิทยาและบริหารจัดการน้ำภาคเหนือตอนบน
โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้แจ้งเตือนทางจังหวัดเชียงใหม่
และศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยด้านการเกษตร แล้วตั้งแต่วันที่ 13
ส.ค.48 และได้เตรียมเครื่องสูบน้ำขนาด
6-12 นิ้ว จำนวน 80 เครื่อง ไว้คอยให้การช่วยเหลือสูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง
2.1.4 ลุ่มน้ำวัง จังหวัดลำปาง จากที่เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 12-13 สิงหาคม
2548 ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรในเขต อ.วังเหนือ อ.เมืองปาน อ.แจ้ห่ม ปัจจุบันระดับลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลม มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างตั้งแต่วันที่
11 15 ส.ค. 48 จำนวน 47 ล้าน ลบ.ม. จากสภาพฝนที่ตกหนักที่ผ่านมา
คาดว่าจะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนกิ่วลม
ประมาณ 70 ล้าน ลบ.ม.
2.1.5
ลุ่มน้ำยม จากสภาพฝนที่ตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำลุ่มน้ำยม
ในเขต จ.พะเยา เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 48 วัดได้ที่ อ.ดอกคำใต้ 97 ม.ม. อ.ปง 139.6 ม.ม. อ.เชียงคำ 139.2 ม.ม. และ กิ่ง อ.ภูกามยาว
154.0 ม.ม. ทำให้สภาพน้ำในลำน้ำยมบริเวณต้นน้ำที่สถานี Y.20 อ.สอง จ.แพร่ วันที่
14 ส.ค. 48 มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 967 ลบ.ม./วินาที ซึ่งขณะนี้ปริมาณดังกล่าวได้ไหลผ่าน
สถานี Y.6 อ. ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แล้ว 638 ลบ.ม./วิ.
แนวโน้มยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปริมาณน้ำก้อนนี้จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ตอนล่างบริเวณตัวเมืองสุโขทัยในวันพรุ่งนี้
(17 ส.ค. 48) ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งสองฝั่งริมแม่น้ำ เนื่องจากความจุลำน้ำบริเวณ อ.เมือง
จ.สุโขทัย สามารถรองรับปริมาณน้ำได้ 326 ลบ.ม./วินาที กรมชลประทานโดยโครงการชลประทานจังหวัดสุโขทัยได้ประสานกับทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำแล้วตั้งแต่วันที่
14 ส.ค. 48 เพื่อเตรียมความพร้อมช่วยเหลือประชนที่จะได้รับความเดือนร้อน
ขอให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณริมแม่น้ำยม อ.เมือง จ.สุโขทัย เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดด้วย
2.1.5 ลุ่มน้ำน่าน จังหวัดน่าน จากสภาพฝนที่ตกหนักเป็นบริเวณกว้างเมื่อวันที่
12 ส.ค.48 ในเขต จ.น่าน ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำน่านเพิ่มขึ้นและล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตตัวเมืองน่าน
บริเวณริมตลิ่ง สูงประมาณ 0.20-0.30 ม. และบริเวณ ต.ฝายแก้ว ต.ม่วงตึ๊ด ต.ท่าน้าว
ต.เมืองจัง กิ่ง อ.ภูเพียง
ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามเทศบาลเมืองน่านมีน้ำท่วมสูงประมาณ 0.70-1.00 ม. ปัจจุบันระดับน้ำได้ลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 48 สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์
มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างตั้งแต่วันที่ 11 15 ส.ค. 48
จำนวน 383 ล้าน ลบ.ม. จากสภาพฝนที่ตกหนักที่ผ่านมา
คาดว่าจะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนสิริกิติ์
ประมาณ 500 ล้าน ลบ.ม.
2.2 สภาพลุ่มน้ำที่เกิดการขาดแคลนน้ำ
ปริมาณฝนสะสมในภาคต่างๆ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 -15 สิงหาคม 2548 ปริมาณฝนสะสมทุกภาคอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าค่าเฉลี่ย
ยกเว้นภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมสูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 2
โดยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศน้อยกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวร้อยละ 10
ทำให้ต้องมีพื้นที่จะต้องเฝ้าระวัง 4 ลุ่มน้ำ
2.2.1
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ใน จ.นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี
อ่างทอง อยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -15
สิงหาคม 2548 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 7 สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
มีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณ จ.นครสวรรค์ 331 ม.3/วิ. ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +14.66 ม.(รทก.) เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 0.02 เมตร ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 45 ม.3/วิ. เขื่อนพระรามหกปิดการระบาย
สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ในเกณฑ์น้อย
ได้แก่ อ่างฯทับเสลา ปัจจุบันส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้หมู่บ้านเพชรน้ำผึ้ง
เดือนละ 480,000 ลบ.ม. ไม่ได้ส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูฝน
แต่เกษตรได้ทำการเพาะปลูกข้าวนาปีประมาณ 79,800 ไร่ (พื้นที่ชลประทานทั้งหมด
143,500 ไร่)โดยใช้น้ำจากน้ำบาดาลใต้ดิน และน้ำฝน และอ่างฯกระเสียว โดยปัจจุบันอ่างฯกระเสียวมีปริมาตรน้ำในอ่าง
30 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
ซึ่งต่ำกว่าความจุที่ระดับเก็บกักต่ำสุด (dead
storage 40 ล้าน ลบ.ม.)
ต้องใช้กาลักน้ำส่งน้ำในอัตรา 0.02 ล้าน ลบ.ม.
สามารถช่วยเหลือการอุปโภคบริโภคใน อ.สามชุก อ.หนองหญ้าไซ อ.ด่านช้าง และการประปา
อ.ด่านช้าง
2.2.2 ลุ่มน้ำมูล ครอบคลุมพื้นที่ใน
จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.อุบลราชธานี จ.นครราชสีมา จ.มหาสารคาม
จ.ยโสธร จ.ขอนแก่น จ.ร้อยเอ็ด จ.ศรีสะเกษ และ
จ.อำนาจเจริญ
พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนตกอยู่ในเกณฑ์น้อย
โดยมีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -15 สิงหาคม 2548 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ
10
สภาพน้ำในแม่น้ำมูลยังอยู่ในเกณฑ์น้อย สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ในเกณฑ์น้อย
ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง
และอ่างฯลำตะคอง สำหรับอ่างฯลำตะคอง
ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ จำนวน 33 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มีการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคอย่างเดียว
วันละ 330,000
ลบ.ม. หากสถานการณ์น้ำฝนน้ำท่ายังคงมีน้อยอยู่เช่นนี้จะสามารถสนับสนุนการใช้น้ำได้ถึงเดือนตุลาคม
48 (ระดับน้ำจะอยู่ที่ระดับเก็บกักต่ำสุด) ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคองได้มีการประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน เกษตรกร และ
ผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบสถานการณ์เป็นระยะๆ
และทางจังหวัดนครราชสีมาได้เชิญประชุมร่วมหารือแนวทางเตรียมความพร้อมป้องกันแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำไว้ล่วงหน้า
โดยประสานกับสำนักฝนหลวงและการบินเกษตรให้เร่งปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในอ่างฯ ชลอการเพาะปลูกข้าวนาปีจนกว่าจะมีฝนตกมากเพียงพอ ซึงขณะนี้ได้ทำการเพาะปลูกข้าวนาปีไปแล้ว
60,000 ไร่ บริเวณใกล้ ลำตะคอง ลำบริบรูณ์
(พื้นที่ชลประทานทั้งหมด164,000 ไร่) โดยอาศัยน้ำฝนที่ตกในช่วงที่ผ่านมา
และประหยัดการใช้น้ำเพื่อสงวนรักษาน้ำที่เหลือไว้สำหรับการประปาและอุปโภคบริโภคของราษฎร
ส่วนอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง
ปัจจุบันสนับสนุนการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคประปาปักธงชัย ประปาโชคชัย
และเทศบาลตำบลตะขบ ใช้น้ำรวมทั้งหมด 400,000 ลบ.ม./เดือน
มีการเพาะปลูกข้าวนาปีไปแล้ว 27,000 ไร่ โดยใช้น้ำฝน และจะเริ่มส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในวันที่
17 สิงหาคม 2548
โดยมีข้อตกลงกับเกษตรกรว่า ถ้าในอนาคตไม่มีฝนตก
ไม่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่าง จะหยุดส่งน้ำปลายเดือนกันยายน 2548
และปริมาณน้ำในอ่างที่เหลือจะสงวนไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่างเดียวเท่านั้น
2.2.3 ลุ่มน้ำชายทะเลฝั่งตะวันออก ครบคลุมพื้นที่ใน จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี
จ.ตราด สภาพฝนโดยทั่วไป
มีฝนตกกระจายทั้งลุ่มน้ำ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในเขต จ.ตราด
สภาพน้ำในแม่น้ำระยองยังอยู่ในเกณฑ์น้อย
สำหรับอ่างเก็บน้ำดอกกราย และหนองปลาไหล
มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯทั้งสองรวมกันในเดือนมิถุนายน 2548 จำนวน 0.14 ล้าน ลบ.ม./วัน และในเดือนกรกฎาคม 2548 จำนวน 0.22 ล้าน
ลบ.ม./วัน ปัจจุบัน (16
ส.ค.48) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งสองรวมกัน
จำนวน 17.41 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณการใช้น้ำวันละ 0.47
ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯทั้งสองรวมกันวันละ 0.12 ล้านลบ.ม.
แนวทางแก้ไขปัญหาน้ำในภาคตะวันออกที่กำลังดำเนินการอยู่
· ขุดเจาะน้ำบาดาล พื้นที่เขาชีโอน
เขาชีจรรย์
รอบอ่างฯดอกกราย บริเวณ ต.ทับมา
· ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำคลองหลวง
· วางท่อผันน้ำคลองทับมา-คลองน้ำหู-นิคมอุตสาหกรรม
ส่งน้ำได้ 100,000 ลบ.ม./วัน
· วางท่อผันน้ำแม่น้ำระยอง-เชื่อมต่อระบบท่อดอกกราย-มาบตาพุด
ส่งน้ำได้ 100,000 ลบ.ม./วัน
· วางท่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย-อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ส่งน้ำได้ 40 ล้าน ลบ.ม./ปี
· วางท่อส่งน้ำจากแม่น้ำบางปะกง-อ่างฯบางพระ
ส่งน้ำได้ 50 ล้านลบ.ม./ปี(420,000 ลบ.ม./วัน)
·
วางท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระ-การประปาชลบุรี-การประปาพัทยา ส่งน้ำได้ 18.5 ล้านลบ.ม./ปี
2.2.4
ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ใน จ.ระนอง จ.พังงา
จ.ภูเก็ต จ.กระบี่ จ.ตรัง
จ.นครศรีธรรมราช และ จ.สตูล
จากสภาพฝนในจังหวัดภูเก็ตที่มีปริมาณน้อย ทำให้สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำบางวาดมีปริมาตรน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย
ปัจจุบัน (15 ส.ค. 48) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 0.52 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 7.1
ของความจุอ่างฯ มีการใช้น้ำวันละ 22,000 ลบ.ม. (ประปาภูมิภาค 12,000 ลบ.ม /วัน , ประปาเทศบาล 10,000 ลบ.ม. /วัน) ปริมาตรน้ำในอ่างสามารถสนับสนุนการใช้น้ำประปาได้จนถึงปลายเดือนสิงหาคม
2548 นี้ โดยมีการเตรียมความพร้อมที่จะนำน้ำส่วนที่อยู่ต่ำกว่าระดับเก็บกักต่ำสุดมาใช้
แนวโน้มปริมาณฝนตกมากขึ้นจากการรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา ปริมาณฝนที่
จ.ภูเก็ต เดือนสิงหาคม 48 จะมีปริมาณฝนประมาณ 360 410 มม. ฝนตก 19 23 วัน
ทั้งนี้โครงการชลประทานภูเก็ตได้แจ้งให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบแล้ว
และได้ประชุมวางแผนใช้น้ำจากแหล่งอื่นให้ถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2548 พร้อมประสานกับสำนักฝนหลวงเตรียมการจัดทำฝนหลวงหากยังไม่มีฝนตกในช่วงกลางเดือนนี้และจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำกรณีมีการร้องขอ
_____________________________