+1                    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ  กรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                        โทรศัพท์  0-2243-6956    โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350

                        Webpage : http://www.rid.go.th/flood , www.kromchol.com, E-mail : rid_flood@yahoo.com

_________________________________________________________

สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนปี 2549

วันที่  17 พฤศจิกายน 2549

1.สภาพภูมิอากาศ


            ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศอุ่นขึ้น       ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ขอให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ทั้งสองฝั่งมีฝนฟ้าคะนองกระจายในระยะนี้

 

2. สภาพฝน

ปริมาณฝนวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549  มีฝนตกหนักเกิน 35 มิลลิเมตร  ที่จังหวัดนราธิวาส   อ.เมือง  วัดได้  35.1 มม.

3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (17 พฤศจิกายน 2549 ) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 64,134     ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 94 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2548 (56,709 ล้านลูกบาศก์เมตร )  จำนวน  7,425 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของความจุอ่างฯทั้งหมด 

อ่างเก็บน้ำภูมิพล (17 พฤศจิกายน 2549) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 13,300 ล้านลูกบาศก์เมตร (รับได้อีก 162               ล้านลูกบาศก์เมตร) คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่างฯทั้งหมด  ระบายน้ำ 10.17 ล้านลูกบาศก์เมตร (117.71          ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที )

 อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ (17 พฤศจิกายน 2549)  มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ  9,440 ล้านลูกบาศก์เมตร (รับได้อีก 70      ล้านลูกบาศก์เมตร)  คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่างฯทั้งหมด   ระบายน้ำ 7.96 ล้านลูกบาศก์เมตร (92.13       ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)

อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ (17 พฤศจิกายน 2549) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ  929 ล้านลูกบาศก์เมตร (รับได้อีก 31 ล้านลูกบาศก์เมตร) คิดเป็นร้อยละ 97 ของความจุอ่างฯทั้งหมด  วันนี้มีการระบาย  0.88 ล้านลูกบาศก์เมตร (10.19 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)

4. สภาพน้ำท่า

              สภาพน้ำท่าในลำน้ำที่ยังคงล้นตลิ่ง และต้องเฝ้าระวัง มีดังนี้  

              แม่น้ำท่าจีน  ที่ สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.36 เมตร ลดลงจากวันก่อน 0.02 เมตร แนวโน้มลดลง  และที่สถานีสะพานบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ระดับสูงกว่าตลิ่ง  0.62 เมตร ลดลงจากวันก่อน 0.01 เมตร แนวโน้มลดลง 

   แม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2549 เวลา 06.00 น.) ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 1,779 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,705 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เขื่อนพระรามหกหยุดการระบายน้ำ มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  2,454 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (จากการตรวจวัดจริง)  

              จากโครงการหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถตรวจวัดระดับน้ำและคาดการณ์ระดับน้ำล่วงหน้าได้  ดังนี้

                 -  ระดับน้ำที่สถานีปทุมธานี (สถานี C.55 ระดับตลิ่ง +2.84 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) เมื่อวาน  (16 พฤศจิกายน 2549)  ระดับน้ำสูงสุด   +2.32 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง   วันนี้ 17 พฤศจิกายน 2549  คาดว่าระดับน้ำสูงสุด +2.08 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  เวลา 16.45 น. 

    -  ระดับน้ำที่สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า (สถานี C.4 ระดับตลิ่ง +2.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง)     เมื่อวาน 16 พฤศจิกายน 2549 ระดับน้ำสูงสุด +1.67 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  เวลา 15.00 น.  วันนี้ 17 พฤศจิกายน 2549  คาดว่าระดับน้ำสูงสุด +1.64 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  เวลา 15.30 น.

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำในการควบคุมน้ำหลากเหนือเขื่อนเจ้าพระยา โดยการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา (วันที่ 17 พฤศจิกายน 2549) รับน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก 146 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก 183 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ผ่านประตูระบายน้ำปากแม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณ และคลองชัยนาท-ป่าสัก   

                        สำหรับระดับน้ำในทุ่งฝั่งตะวันตก  ฝั่งแม่น้ำท่าจีน ในทุ่งโครงการฯเจ้าเจ็ดบางยี่หน  ที่ประตูระบายน้ำบางยี่หน ระดับน้ำลดลงจากวันก่อน  0.02 เมตร  และทุ่งโครงการฯพระยาบรรลือ ที่ประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ  ระดับน้ำลดลงจากวันก่อน  0.02 เมตร   ส่วนในทุ่งโครงการฯพระพิมล  ที่ประตูระบายน้ำพระพิมล  ระดับน้ำลดลงจากวันก่อน  0.01 เมตร   และที่ประตูระบายน้ำ   มหาสวัสดิ์  ระดับน้ำลดลงจากวันก่อน  0.06 เมตร  แนวโน้มระดับน้ำในทุ่งลดลง  คาดว่าในพื้นที่ชุมชน และเส้นทางคมนาคม จะเข้าสู่สภาวะปกติในปลายเดือนพฤศจิกายน 2549 นี้ สำหรับในพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่มต่ำ ยังมีน้ำท่วมขังต่อไปอีกระยะหนึ่งจนถึงประมาณปลายเดือนธันวาคม 2549    ขณะนี้กรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกจากทุ่งฝั่งตะวันตกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนอย่างเต็มที่  โดยเฉพาะในพื้นที่ อำเภอสองพี่น้อง  จังหวัดสุพรรณบุรี  อำเภอบางเลน และ อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ได้ระดมเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรเครื่องมือเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม  พร้อมทั้งได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาอุทกภัย  ณ ที่ว่าการอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 02 922 4381, 02 597 1178 ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดปทุมธานี  จังหวัดนนทบุรี  จังหวัดนครปฐม  และจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้  กรมชลประทานได้ร่วมกับทหารช่าง ค่ายบุรฉัตร จังหวัดราชบุรี เพิ่มการระบายน้ำในทุ่งฝั่งตะวันตก ดังนี้

1.       ขุดเปิดช่องระบายน้ำพร้อมติดตั้งสะพานเหล็ก(แบรี่)ที่บนคันกั้นน้ำสายริมแม่น้ำเจ้าพระยา สาย เสนา-บางไทร ระหว่าง กิโลเมตรที่ 1+000 ถึง กิโลเมตรที่ 1+080 จำนวน 3 แห่ง ขนาด ก้วาง 6 เมตร ยาว 7 เมตร ลึก 2.50 เมตร เพื่อระบายน้ำในทุ่งเจ้าเจ็ด ลงแม่น้ำเจ้าพระยา ระบายน้ำได้รวม ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.       ขุดเปิดช่องระบายน้ำ พร้อมติดตั้งสะพานเหล็ก(แบรี่)บริเวณคลองบางปลากด จำนวน 1 แห่ง เพื่อระบายน้ำในทุ่งพระยาบรรลือลงแม่น้ำท่าจีน ระบายน้ำได้ประมาณ 1 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549

3.       ขุดเปิดช่องระบายน้ำ บริเวณคลองบางภาษี จำนวน  1 แห่ง เพื่อระบายน้ำในทุ่งพระพิมลลงแม่น้ำท่าจีน ระบายน้ำได้ประมาณ 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2549

4.       ขุดเปิดช่องระบายน้ำ พร้อมติดตั้งสะพานเหล็ก(แบรี่)บริเวณคลองคุ้งน้ำวน จำนวน 1 แห่ง เพื่อระบายน้ำในทุ่งพระยาบรรลือลงแม่น้ำท่าจีน ระบายน้ำได้ประมาณ  0.8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดำเนินการแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549

ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ได้มีการระบายน้ำออกจากพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกรวมทั้งหมด 31.31 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยแยกเป็นระบายน้ำในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างรวม 7.74 ล้านลูกบาศก์เมตร (ระบายและสูบน้ำลงแม่น้ำบางปะกง 1.95 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายและสูบออกทะเล 5.79 ล้านลูกบาศก์เมตร) และ ระบายน้ำในทุ่งฝั่งตะวันตกตอนล่างรวม 23.57 ล้านลูกบาศก์เมตร (ระบายน้ำและสูบน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน วันละ 23.39 ล้านลูกบาศก์เมตร  ระบายน้ำและสูบน้ำออกสู่ทะเลทางโครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย วันละ 0.18 ล้านลูกบาศก์เมตร) และระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ลงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 24 ชั่วโมง  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 25.88  ล้านลูกบาศก์เมตร

5. สถานการณ์น้ำท่วม

ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ที่ประสบสถานการณ์อุทกภัย 12 จังหวัด ดังนี้

จังหวัดพิจิตร น้ำในแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านลดลงต่ำกว่าตลิ่ง  ทำให้ระดับน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และ อำเภอโพทะเล  ระดับน้ำสูง 0.20 - 0.40 เมตร ระดับน้ำลดลง

จังหวัดนครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มริมน้ำในพื้นที่ 5  อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมแสง  อำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ อำเภอพยุหะคีรี และ อำเภอท่าตะโก น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.30 เมตร ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดอุทัยธานี   ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร   ในพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยาและ แม่น้ำสะแกกรังเขตอำเภอเมือง ระดับน้ำสูง 0.10-0.25 เมตร ระดับน้ำลดลง 

จังหวัดลพบุรี  ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำของอำเภอเมือง ระดับน้ำสูง 0.10-0.20 เมตร ระดับน้ำลดลง

จังหวัดสระบุรี   ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำของอำเภอดอนพุด ระดับน้ำสูง 0.25-0.75 เมตร ระดับน้ำลดลง

 

จังหวัดสิงห์บุรี  ยังมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำในเขต 4 อำเภอได้แก่  อำเภอพรหมบุรี  อำเภอบางระจัน  อำเภอค่ายบางระจัน และ อำเภอเมือง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20- 0.45 เมตร ระดับน้ำลดลง

จังหวัดอ่างทอง  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยยังล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ลุ่มใน 7 อำเภอ  ได้แก่  อำเภอเมือง        อำเภอป่าโมก  อำเภอไชโย ระดับน้ำสูง 0.30-0.95 เมตร  ส่วนที่อำเภอแสวงหา อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอสามโก้ และ อำเภอโพธิ์ทอง ระดับน้ำสูง 0.25-0.70 เมตร ระดับน้ำลดลง

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ยังล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ลุ่มบางพื้นที่ใน 12 อำเภอ 3 เทศบาล ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอมหาราช  อำเภอบางปะหัน อำเภอบางประอิน  อำเภอบ้านแพรก  อำเภอลาดบัวหลวง  อำเภอวังน้อย  อำเภอบ้างซ้าย  เทศบาลเมืองเสนา  เทศบาลเมืองอโยธยา และเทศบาลพระนครศรีอยุธยา (พื้นที่ในเขตเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ ยกเว้นเขตรอบนอกแนวคันกั้นน้ำยังคงมีน้ำท่วมขัง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.90 เมตร ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันออกของจังหวัด 3 อำเภอ ได้แก่  อำเภอเมือง ระดับน้ำสูง 0.30-0.50 เมตร อำเภอบางปลาม้า ระดับน้ำสูง 0.65-1.30 เมตร  และอำเภอสองพี่น้อง น้ำท่วมพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำสูง 0.80-1.65 เมตร

จังหวัดนครปฐม  น้ำจากทุ่งพระยาบรรลือไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่  อำเภอบางเลน (15 ตำบล) ในเขตเทศบาลตำบลบางหลวง  เทศบาลตำบลลำพญา  เทศบาลตำบลบางภาษี และเทศบาลตำบลบางเลน ระดับน้ำสูง 1.00-1.70 เมตร แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว  อำเภอนครชัยศรี (14 ตำบล)  เทศบาลนครชัยศรี (ชุมชนริมคลองบางแก้ว  ชุมชนคลองเจดีย์บูชา ) ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 เมตร  อำเภอพุทธมณฑล (4 ตำบล) มีน้ำท่วมชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์  ริมคลองโยง  ริมคลองทวีวัฒนา และริมคลองกำแพงแสน ระดับน้ำสูง 0.50-0.70 เมตร  เนื่องจากน้ำทะเลหนุนทำให้แม่น้ำท่าจีนระบายลงทะเลได้ช้า   

จังหวัดปทุมธานี  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสามโคก และ อำเภอลาดหลุมแก้ว   ระดับน้ำสูง 0.50-0.95 เมตร  สำหรับอำเภอคลองหลวง  อำเภอธัญบุรี   และ อำเภอ ลำลูกกา  ระดับน้ำสูง 0.15-0.30 เมตร  ระดับน้ำลดลง

            จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำสูงทำให้มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำของอำเภอปากเกร็ด และ อำเภอเมือง  ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 เมตร  ส่วนพื้นที่รับน้ำจากทุ่งเจ้าเจ็ด  และทุ่งพระยาบรรลือ  มีน้ำท่วมในอำเภอ   บางกรวย  อำเภอบางบังทอง อำเภอบางใหญ่ และ อำเภอไทรน้อย  ระดับน้ำสูง 0.50-1.80 เมตร ระดับน้ำทรงตัว

6. การให้ความช่วยเหลือ           

ปัจจุบันกรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือในฤดูฝน 2549 ทั่วประเทศ จำนวน 958 เครื่อง  แยกเป็นเพื่อการเกษตร 423 เครื่อง การอุปโภค – บริโภค 14 เครื่อง และช่วยเหลืออุทกภัย 521 เครื่อง นอกจากนี้ได้ส่งเครื่องผลักดันน้ำช่วยเหลืออุทกภัยทั่วประเทศ จำนวน 37 เครื่อง ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ 5 เครื่อง  จังหวัดกรุงเทพฯ 12 เครื่อง จังหวัดสมุทรสาคร 6 เครื่อง  จังหวัดสุพรรณบุรี 4 เครื่อง  จังหวัดนครปฐม 4 เครื่อง  จังหวัดอยุธยา 2 เครื่อง  และ จังหวัดเพชรบุรี 4 เครื่อง

 

 

 

 

 

 

ภาค

ออกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ – เครื่อง

เหลือนำไปใช้อีก

(เครื่อง)

การเกษตร

อุปโภค-บริโภค

อุทกภัย

รวม

เหนือ

ตะวันออกเฉียงเหนือ

กลาง

ตะวันอออก

ตะวันตก

ใต้

131

130

1

63

54

44

1

9

-

-

-

4

34

42

386

1

2

56

166

181

387

64

56

104

56

85

61

1

14

25

รวม

423

14

521

958

242

 

สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 247 เครื่อง แยกเป็นฝั่งตะวันออก 74 เครื่อง  ฝั่งตะวันตก 173 เครื่อง  และส่งเครื่องผลักดันน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 31 เครื่อง แยกเป็น ฝั่งตะวันออก 5 เครื่อง  ฝั่งตะวันตก 26 เครื่อง  

ตาราง แสดง เครื่องจักรเครื่องมือที่ให้ความช่วยเหลือในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549

ที่

จังหวัด

เครื่องจักรกลสูบน้ำ - เครื่อง

เครื่องผลักดันน้ำ - เครื่อง

รวม

เครื่อง

ฝั่งตะวันออก

ฝั่งตะวันตก

รวม 2 ฝั่ง

ฝั่งตะวันออก

ฝั่งตะวันตก

รวม 2 ฝั่ง

1

2

3

4

5

6

7

ปทุมธานี

นนทบุรี

กรุงเทพฯ

สมุทรปราการ

สมุทรสาคร

นครปฐม

พระนครศรีอยุธยา

44

23

7

-

-

-

-

26

77

1

-

3

56

10

70

100

8

-

3

56

      10

-

-

-

5

-

-

-

-

-

14

-

6

4

2

-

-

14

5

6

4

2

70

100

22

5

9

60

12

รวม

74

173

247

5

26

31

278

 

            ***************************************************