+1                    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ  กรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                        โทรศัพท์  0-2243-6956    โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350

                        Webpage : http://www.rid.go.th/flood ,   E-mail : flood44@mail.rid.go.th

_________________________________________________________

สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนปี 2549

วันที่  18 ตุลาคม 2549

 1.สภาพภูมิอากาศ


            ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า สำหรับภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้

2. สภาพฝน

ปริมาณฝนวันที่ 18 ต.ค. 49   มีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจาย  ได้แก่ ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติศิริกิติ์  วัดได้ 20.8  และที่ท่าเรือคลองเตย  วัดได้  23.9 มม.  ที่จังหวัดชลบุรี  เมืองพัทยา  19.6 มม.   จ.จันทบุรี  อ.เมืองวัดได้  22.4 มม.

3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (18 ต.ค.49 ) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 64,986 ล้าน ลบ.ม หรือคิดเป็นร้อยละ 95 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2548 (54,673 ล้านลูกบาศก์เมตร )  จำนวน  10,313 ล้าน  ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความจุอ่างฯทั้งหมด 

อ่างเก็บน้ำภูมิพล (18 ต.ค.49) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 13,307 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 155 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น     ร้อยละ  99  ของความจุอ่างฯทั้งหมด  วันนี้มีการระบาย 36.67 ล้าน ลบ..  (424.4 ลบ.ม./วินาที)

 อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ (18 ต.ค.49)  มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ  9,461 ล้าน ลบ..(รับได้อีก 49 ล้าน ลบ.ม.)  คิดเป็น    ร้อยละ 99 ของความจุอ่างฯทั้งหมด   วันนี้มีการระบาย 20.09 ล้าน ลบ..  (232.5 ลบ.ม./วินาที)

อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ (18 ต.ค. 49) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ  925 ล้าน ลบ..  (รับได้อีก 35 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 96 ของความจุอ่างฯทั้งหมด  วันนี้มีการระบาย 60.71 ล้าน ลบ..  (700 ลบ.ม./วินาที)

อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน  (18 ต.ค.49) ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำ 587 ล้าน ลบ.ม.(รับได้อีก 123 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุอ่างฯทั้งหมด  วันนี้มีการระบาย 2.59 ล้าน ลบ..  (30 ลบ.ม./วินาที)  

4. สภาพน้ำท่า

              สภาพน้ำท่าในลำน้ำที่อยู่ในเกณฑ์มาก  และต้องเฝ้าระวัง มีดังนี้       

              แม่น้ำปิง  สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์  มีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.31 ม. ลดลงจากวันก่อน   0.28 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,200 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              แม่น้ำยม สภาพน้ำท่าตั้งแต่ จ.สุโขทัย อยู่ในเกณฑ์มาก  ส่วนในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ ตั้งแต่ อ.กงไกรลาศ         อ.เมือง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย   และ บางพื้นที่ใน   จ.พิจิตร ยังมีน้ำท่วมขัง

              - ที่สถานี Y16 บ้านบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 3.96 ม.  ลดลงจากวันก่อน  0.04 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,210 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              - ที่สถานี Y17 บ้านสามง่าม อ.สามง่าม จ.พิจิตร ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.12 ม.  ลดลงจากวันก่อน 0.02 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 478.8 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              แม่น้ำน่าน  สภาพน้ำท่าในลำน้ำตอนบนอยู่ในเกณฑ์ปกติ  ส่วนในลำน้ำตอนล่าง ตั้งแต่ จ.พิจิตร                  ลงมาถึง จ.นครสวรรค์ สภาพน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์มาก

              - ที่สถานี  N8A บ้านบางมูลนาก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.28 ม. ลดลงจากวันก่อน 0.02 ม.   ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,301 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              - ที่สถานี  N67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.68 ม.  ทรงตัวจากวันก่อน  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,522 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มทรงตัว

              แม่น้ำป่าสัก  บ้านบ่อวัง (S.42) อ.วิเชียรบุรี  จ.เพชรบูรณ์ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง  1.13 ม. ลดลงจากวันก่อน  0.08 ม.ปริมาณน้ำไหลผ่าน 330 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

แม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้ (18 ต.ค.49 เวลา 06.00น.) ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 5,960 ลบ../วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +17.66.รทก. มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 4,165 ลบ../วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 656 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.อยุธยา อยู่ในเกณฑ์ 4,821 ลบ.ม./วินาที  ซึ่งจะมีผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำในการควบคุมน้ำหลาก โดยการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา (วันที่ 18 ต.ค. 49 )รับน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก 628 ลบ../วินาที  และทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก 231 ลบ../วินาที) ไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ในทุ่งเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ผ่านประตูระบายน้ำปากแม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณ และคลองชัยนาท-ป่าสัก    และได้กำหนดมาตรการลดปริมาณน้ำหลากสูงสุดในช่วงที่น้ำทะเลจะหนุนสูง วันที่ 24-26 ตุลาคม 2549 โดยเร่งรัดการส่งน้ำเพิ่มเติมเข้าพื้นที่ชลประทานในช่วงน้ำหลากสูงสุดทางทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก 945,924 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำ 341.10 ล้าน ลบ.ม.  และทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก 435,000 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำประมาณ 177.60 ล้าน ลบ.ม. ในพื้นที่ชลประทาน 8 จังหวัด รวมทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก 1,380,924 ไร่  คิดเป็นปริมาตรน้ำ ประมาณ 518.70 ล้าน ลบ.ม.

ในส่วนที่อยู่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา(ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.2549)ได้มีการผันเข้าทุ่งฝั่งตะวันออก  435,000 ไร่  จนถึงปัจจุบัน(วันที่ 17 ต.ค. 2549 )คิดเป็นปริมาตรน้ำ 56.9     ล้าน ลบ.ม.  และ ทุ่งฝั่งตะวันตก 259,856 ไร่  คิดเป็นปริมาตรน้ำ  85.5 ล้าน ลบ.ม. โดยสรุปได้ส่งน้ำเพิ่มเติมเข้าพื้นที่ชลประทาน  881,759 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำทั้งหมด  142.4ล้าน ลบ.ม.

ระดับน้ำที่จุดเฝ้าระวังในพื้นที่ กรุงเทพฯ

1) คลองแสนแสบ ที่ ปตร.มีนบุรี (ระดับตลิ่ง +1.35 ม.รทก.) ด้านนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ มีระดับน้ำ +1.45 ม.  สูงกว่าตลิ่ง 0.10 ม.

2) คลองประเวศบุรีรัมย์ ที่ ปตร.ลาดกระบัง (ระดับตลิ่ง + 0.80 ม.รทก.) ด้านนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ          มีระดับน้ำ +0.94  ม.(รทก.) สูงกว่าตลิ่ง 0.14 ม.

3) คลองสำโรง  ที่ ปตร.บางพลี (ระดับตลิ่ง + 0.60 ม.รทก.) ด้านนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ มีระดับน้ำ     +0.47    ม.รทก.  ต่ำกว่าตลิ่ง  0.13 ม.

นอกจากนี้ในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง (วันที่ 18 ต.ค.49) ได้มีการระบายน้ำและสูบน้ำลงแม่น้ำนครนายก  1.86 ล้าน ลบ.ม.  ระบายและสูบน้ำลงแม่น้ำบางปะกง  7.59 ล้าน ลบ.ม.  ระบายและสูบออกทะเล 21.76 ล้าน ลบ.ม. และ ในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกมีการระบายน้ำและสูบน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน 12.26 ล้าน ลบ.ม.  ระบายน้ำและสูบผ่านคลองมหาชัย 0.29 ล้าน ลบ.ม. ส่วนในแม่น้ำเจ้าพระยามีโครงการคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการเปิด-ปิดบาน โดยการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้น  ซึ่งจะเปิดบานระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลลง และปิดบานระบายในช่วงน้ำทะเลขึ้น  โดยวันที่ 18 ต.ค.49 สามารถระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ลงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 24 ชั่วโมง  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 39.71 ล้าน ลบ.ม.    

              -  ที่ จ.ชัยนาท ที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C13) อ.สรรพยา มีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.21 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 0.06 ม..  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 4,165 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

              -  ที่ จ. อ่างทอง บ้านบางแก้ว (C7A) อ.เมือง มีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.37ม.ทรงตัวจากวันก่อน แนวโน้มทรงตัว

              -  ที่ จ.อยุธยา  สะพานรถยนต์ (C35)  อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.66 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน. 0.02 ม.  แนวโน้มทรงตัว

                จากโครงการหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถตรวจวัดระดับน้ำและคาดการณ์ระดับน้ำล่วงหน้าได้  ดังนี้

                 -  ระดับน้ำที่สถานีปทุมธานี (สถานี C.55 ระดับตลิ่ง +2.84 ม.รทก.) เมื่อวาน  (17 ต.ค.49)   ระดับน้ำสูงสุด   +3.04 ม.รทก.   วันนี้  18 ต.ค.49  คาดว่าระดับน้ำสูงสุด  +3.04 ม.รทก.  เวลา 0.00 น.   

                 -  ระดับน้ำที่สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า (สถานี C.4 ระดับตลิ่ง +2.50 ม.รทก.) เมื่อวาน (17 ต.ค.49) ระดับน้ำสูงสุด +1.87 ม.รทก.  วันนี้  18 ต.ค.49 คาดว่าระดับน้ำสูงสุด +1.86 ม.รทก. เวลา 17.45 น.  

                แม่น้ำชี 

               -  ที่สถานี บ้านค่าย (E.23) อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.38 ม. ลดลงจากวันก่อน. 0.05 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 160 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง 

              -  ที่สถานีบ้านโจด (E.9) อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.82 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน. 0.05 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 231 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น   

                แม่น้ำมูล 

              - ที่ สถานี M.2A บ้านด่านตะกา อ.เฉลิมพระเกียรติ  จ.นครราชสีมา ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.19 ม. ลดลงจากวันก่อน 0.10 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 112 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

               - ที่สถานี  M.9 บ้านหนองหญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.72 ม. ลดลงจากวันก่อน 0.20 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 240 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

              - ที่ สถานี M.7 อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.67 ม. เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 0.06 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,021 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มเพิ่มขึ้น      

                 แม่น้ำสาขาของแม่น้ำมูล  หลายสายมีระดับน้ำสูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์มาก ได้แก่ 

                 -  ลำปลายมาศ ที่สถานี M.8 บ้านหนองแสง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์  ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.05 ม. ลดลงจากวันก่อน 0.08 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 136.5 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

                 -  ห้วยทับทัน  ที่สถานี M.42 บ้านห้วยทับทัน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีษะเกษ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.89 ม. ลดลงจากวันก่อน  0.15 ม.  ปริมาณน้ำไหลผ่าน 191 ลบ.ม./วินาที  แนวโน้มลดลง

5. สถานการณ์น้ำท่วม

จังหวัดสุโขทัย น้ำแม่น้ำยมยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมขังในพื้นที่ อ.กงไกรลาศ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง  โครงการชลประทานสุโขทัยได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ 2 เครื่อง

จังหวัดพิษณุโลก น้ำในแม่น้ำยมยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.บางระกำ              อ.พรหมพิราม อ.เมือง และ อ.วัดโบสถ์  โครงการชลประทานพิษณุโลก ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 26 เครื่อง แยกเป็น  ในเขต อ.เมือง 17 เครื่อง  อ.บางระกำ 5 เครื่อง  อ.วัดโบสถ์ 2 เครื่อง  และ อ.บางกระทุ่ม 2 เครื่อง

จังหวัดพิจิตร  น้ำในแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำในพื้นที่  8 อำเภอ ได้แก่  อ.เมือง  อ.สามง่าม  อ.วชิรบารมี  อ.โพธิ์ประทับช้าง  อ.โพทะเล  อ.ตะพานหิน  อ.บึงนาราง และ อ.บางมูลนาก  โครงการชลประทานพิจิตรได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 20 เครื่อง แยกเป็น  ในเขต   อ.เมือง 5 เครื่อง  อ.ตะพานหิน    4 เครื่อง อ.บางมูลนาก 6 เครื่อง  และ  อ.โพทะเล 5 เครื่อง

จังหวัดนครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มริมน้ำ ในพื้นที่        7  อำเภอ ได้แก่  อ.เมือง  อ.ชุมแสง  อ.เก้าเลี้ยว  อ.โกรกพระ  อ.พยุหะคีรี  อ.บรรพตพิสัย  และ อ.ท่าตะโก โครงการชลประทานนครสวรรค์ ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 11 เครื่อง แยกเป็น ในเขตเทศบาล 10 เครื่อง และพื้นที่นาข้าวถูกน้ำท่วม 1 เครื่อง    

จังหวัดอุทัยธานี  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ยังคงสูงเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่ม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง และ        อ.หนองขาหย่าง  น้ำท่วมสูงประมาณ 0.60 -0.80 ม. 

จังหวัดชัยนาท  มีน้ำท่วมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.สรรพยา และ อ.หันคา ระดับน้ำสูงประมาณ         0.80- 1.30 ม.

จังหวัดลพบุรี  มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่  อ.ท่าวุ้ง อ.บ้านหมี่ และ      อ.เมือง   ระดับน้ำสูง 0.5-1.0 ม.

จ.สระบุรี   น้ำแม่น้ำป่าสักเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร  4 อำเภอ ได้แก่  อ.เมือง  อ.วิหารแดง อ.หนองแซง  อ.เสาไห้ และ อ.บ้านหมอ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.8-1.0 ม.

จังหวัดสิงห์บุรี  มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรในเขต 5 อำเภอได้แก่  อ.อินทร์บุรี  อ.เมือง  อ.พรหมบุรี              อ.บางระจัน   และ    อ.ท่าช้าง ระดับน้ำสูงประมาณ 1.30- 2.20 ม.

จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มที่อยู่ติดริมน้ำ ใน 7 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.ป่าโมก  อ.ไชโย อ.แสวงหา อ.วิเศษชัยชาญ อ.สามโก้ และ อ.โพธิ์ทอง ระดับน้ำสูง 0.40-1.50 ม.

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยมีระดับสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบางพื้นที่ใน 16 อำเภอ ได้แก่  อ.พระนครศรีอยุธยา  อ.บางบาล            อ.บางไทร  อ.ผักไห่ อ.มหาราช อ.เสนา  อ.ท่าเรือ  อ.นครหลวง อ.บางปะหัน อ.บางประอิน  อ.บ้านแพรก  อ.ภาชี  อ.ลาดบัวหลวง  อ.วังน้อย  อ.อุทัย  อ.บ้างซ้าย  ระดับน้ำสูงประมาณ   0.80-1.50 ม.

จังหวัดสุพรรณบุรี น้ำในแม่น้ำสุพรรณสูงเอ่อล้นเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำ  ใน 4 อำเภอ  ได้แก่  อ.เมือง  อ.บางปลาม้า   และ  อ.สามชุก  ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.80 ม. 

จังหวัดปทุมธานี  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.สามโคก  อ.คลองหลวง  อ.ธัญบุรี  อ.ลำลูกกา  ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.7 ม.

            จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูงประกอบน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำ            6 อำเภอ ได้แก่  อ.ปากเกร็ด อ.เมือง อ.บางบัวทอง อ.ไทรน้อย  อ.บางใหญ่ และ อ.บางกรวย

            จังหวัดปราจีนบุรี น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี  ยังสูงเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่   อ.ศรีมหาโพธิ    อ.เมือง   และ อ.บ้านสร้าง  ระดับน้ำสูงประมาณ  0.30-0.50 ม.   

            จังหวัดกรุงเทพมหานคร  ปริมาณน้ำในเขตทุ่งฝั่งตะวันออกมีมาก ทำให้มีน้ำท่วมขัง 6 เขต ได้แก่ เขตลาดกระบัง 37 ชุมชน   เขตมีนบุรี 13 ชุมชน   เขตหนองจอก 21 ชุมชน  เขตสายไหม 3 ชุมชน   เขตคลองสามวา 24 ชุมชน   เขตสะพานสูง น้ำท่วมขังถนน 3 สาย  ระดับน้ำเฉลี่ยสูงประมาณ 0.10-0.50 ม.

6. การให้ความช่วยเหลือ           

กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือในฤดูฝน 2549 ดังนี้  เครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,200 เครื่อง และ รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน  295 คัน   รถนาค 28 คัน  เรือนาค 12 ลำ  เครื่องผลักดันน้ำ      110 เครื่อง  รถขุด 102 คัน  เรือขุด 9 ลำ    รถแทรกเตอร์ 28 คัน และ รถบรรทุก 70 คัน 

ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยในฤดูฝน 2549  ทั่วประเทศแล้ว จำนวน 427 เครื่อง  ขณะนี้ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยที่จังหวัดพิจิตร 20 เครื่อง  จังหวัดพิษณุโลก 26 เครื่อง จังหวัดนครสวรรค์     11 เครื่อง  จังหวัดสุโขทัย 2 เครื่อง และ  จังหวัดจันทบุรี 3 เครื่อง ได้ส่งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อช่วยผลักดันน้ำทะเลที่  จ.เพชรบุรีจำนวน 14 เครื่อง   โดยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไปแล้ว 221 เครื่อง  (นนทบุรี  84 เครื่อง ,ปทุมธานี 77 เครื่อง ,สมุทรปราการ 35 เครื่อง, สมุทรสาคร 11 เครื่อง, กทม. 14 เครื่อง)

 

            ***************************************************