ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์ 0-2243-6956 โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350
Webpage : http://www.rid.go.th/flood , E-mail : flood44@mail.rid.go.th
_________________________________________________________
สรุปสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน
วันที่ 19 สิงหาคม 2548
1.
สภาพภูมิอากาศและสภาพฝน
ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นในระยะนี้
อนึ่งเนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องมาหลายวันใน บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งได้ในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์
พิษณุโลก พิจิตร เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติดังกล่าวในระยะนี้
สรุปปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยในภาคต่างๆตั้งแต่วันที่1 มกราคม18 สิงหาคม 2548 มีรายละเอียดดังนี้
2. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2548 มีปริมาตรน้ำในอ่างทั้งหมด
จำนวน 41,256 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2547(45,480 ล้านลูกบาศก์เมตร) ร้อยละ
10 ในช่วงเวลาเดียวกัน
สภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำในภาคเหนือ
ในช่วงวันที่11-18 สิงหาคม 2548
ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากในช่วงดังกล่าวมีพายุดีเปรสชั่นเข้าประเทศเวียดนาม ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
237 ล้าน ลบ.ม. ,เขื่อนสิริกิติ์ 442
ล้านลบ.ม., เขื่อนแม่งัด 68.5 ล้าน ลบ.ม., เขื่อนแม่กวง 27.6
ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนกิ่วลม 49.8 ล้าน ลบ.ม.
รวมเป็นปริมาณน้ำไหลลงอ่างทั้งหมด 824.9 ล้าน ลบ.ม.
ส่วนอ่างเก็บน้ำในภาคอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าว
สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯอยู่ในเกณฑ์น้อย
โดยมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ดังนี้ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง
33 ล้าน ลบ.ม.(10%), เขื่อนลำพระเพลิง 15 ล้านลบ.ม.(14%), เขื่อนกระเสียว 29 ล้าน ลบ.ม.(12%), เขื่อนทับเสลา 21 ล้าน ลบ.ม.(13%) , เขื่อนบางพระ
14 ล้าน ลบ.ม. (13%), เขื่อนหนองปลาไหล 11 ล้าน ลบ.ม. (7%), เขื่อนดอกกราย 5.8 ล้าน ลบ.ม. (8%) และเขื่อนบางวาด 0.45 ล้าน ลบ.ม. (6.1%)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนลำตะคอง
ได้ประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนเกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบสถานการณ์เป็นระยะๆ
และได้ประสานกับทางจังหวัด
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องหารือแนวทางเตรียมความพร้อมป้องกันแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำล่วงหน้า
ประสานสำนักฝนหลวงและการบินเกษตรเร่งปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในอ่าง ชลอการเพาะปลูกข้าวนาปีจนกว่าจะมีฝนตกมากเพียงพอ ปัจจุบันทำการเพาะปลูกข้าวนาปีไปแล้ว
60,000 ไร่
อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง
สนับสนุนการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค ประปาปักธงชัย ประปาโชคชัย เทศบาลตำบลตะขบ
ใช้น้ำรวมทั้งหมด 400,000 ลบ.ม./เดือน และได้มีการทำนาปีไปแล้ว
27,000 ไร่ โดยอาศัยน้ำฝน
อ่างเก็บน้ำเขื่อนทับเสลา ส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคหมู่บ้านเพชรน้ำผึ้ง
เดือนละ 480,000 ลบ.ม. ไม่ได้ส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก
แต่เกษตรกรทำการเพาะปลูกข้าวนาปี ประมาณ 79,800 ไร่ โดยอาศัยน้ำบาดาลใต้ดิน
อ่างเก็บน้ำเขื่อนกระเสียว ส่งน้ำโดยวิธีกาลักน้ำ 0.02 ล้าน ลบ.ม.
ช่วยเหลือการอุปโภคบริโภค ใน อ.สามชุก อ.หนองหญ้าไซ อ.ด่านช้าง
และประปา อ.ด่านช้าง
อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล
และดอกกราย ปัจจุบัน (19 ส.ค.48) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งสองรวมกัน จำนวน 16.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณการใช้น้ำวันละ
0.49 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯทั้งสองรวมกันวันละ 0.26 ล้านลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำบางวาด
ส่งน้ำให้การประปาเทศบาลนครภูเก็ต 12,000 ลบ.ม./วัน และประปาภูมิภาค 10,000 ลบ.ม./วัน
อ่างฯบางวาดสามารถสนับสนุนการใช้น้ำได้ถึงประมาณ 25 สิงหาคม 2548
หลังจากนั้น การประปาภูมิภาค จะใช้น้ำขุมสรรพสามิต(คลองบางใหญ่) ขุมสนามกอล์ฟล็อคปาล์ม จะสามารถใช้น้ำได้ตลอดไป
เนื่องขุมที่กล่าวจะมีน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา ส่วนประปานครภูเก็ต
จะใช้น้ำจากขุมเหมืองต่าง จำนวน 7 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้ได้รวม 1.0 ล้าน สามารถใช้ได้ไม่น้อยกว่า 30 วัน
3. สภาพน้ำท่า
จากสภาพฝนที่ตกหนักมากในวันที่ 12 ส.ค.48
ในพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำหลายสายในภาคเหนือ
อันเนื่องมากจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นในช่วงที่ผ่านมา (11-13 ส.ค. 48) ส่งผลให้สภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำภาคเหนือมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นและเอ่อล้นเข้าท่วมในหลายพื้นที่
ปัจจุบันระดับน้ำลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
ส่วนในลุ่มน้ำอื่นๆส่วนใหญ่ยังคงมีสภาพน้ำท่าในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปกติ
ลุ่มน้ำปิง ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำปิง จ.เชียงใหม่
และทำให้เกิดน้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่ ขณะนี้สถานการณน้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่ำบางพื้นที่ในตัวเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบัน (18 ส.ค.2548)
เวลา 06..00 น. ระดับน้ำที่
สะพานนวรัฐ วัดได้
2.42 ม. ขณะนี้กรมชลประทาน ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 8-12 นิ้ว
ไปแล้ว 73 เครื่อง ตามพื้นที่ต่างๆ จำนวน
24 จุด เพื่อสูบน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และกำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมในพื้นที่น้ำท่วมขังอยู่ในขณะนี้ ลุ่มน้ำวัง ที่สะพานเสตุวารี(W.1C) อ.เมือง
จ.ลำปาง สถานีท้ายเขื่อนกิ่วลม ระดับน้ำในแม่น้ำวังอยู่ในเกณฑ์น้อย มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 118 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ลุ่มน้ำยม สภาพฝนที่ตกในพื้นที่ต้นน้ำลุ่มน้ำยม ในเขต จ.พะเยา เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 48 วัดได้ที่ อ.ดอกคำใต้ 26.70 ม.ม. อ.ปง 24.20 ม.ม. อ.เชียงคำ 57.3 ม.ม. และ กิ่ง อ.ภูกามยาว 28 ม.ม. ทำให้สภาพน้ำในลำน้ำยมบริเวณต้นน้ำที่สถานี Y.20 อ.สอง จ.แพร่ วันที่ 18 ส.ค. 48 มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 127.70ลบ.ม./วินาที ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวได้ไหลลงมายังพื้นที่ตอนล่างในเขตจังหวัดสุโขทัย
โดยปัจจุบัน (18 ส.ค.48 เวลา 10.00 น.) ที่
สถานี Y.4 อ.เมือง จ.สุโขทัย มีระดับน้ำสูง 6.00ม. (ระดับตลิ่งเดิม 6.40 ม.) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 275 ลบ.ม./วินาที ยังคงต่ำกว่าระดับคันที่เสริมอยู่ 1.5เมตร (ระดับคันที่เสริมกระสอบทราย 7.50 ม.) แนวโน้มระดับน้ำลดลง
ลุ่มน้ำน่าน ที่หน้าสำงานป่าไม้
(N.1) อ.เมือง
จ.น่าน ได้เกิดสภาพน้ำท่วมในตัวเมืองน่าน และพื้นที่ลุ่มต่ำในเขต
กิ่ง อ.ภูเพียง ในช่วงเช้าวันที่ 14 ส.ค.48
มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 1,488 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
(ความจุลำน้ำสามารถรับได้ 1,400 ล้าน ลบ.ม.) ระดับน้ำได้ลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติแล้วเมื่อวันที่
15 ส.ค. 48 ปัจจุบัน (19 ส.ค.48 เวลา 06.00 น.) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 760 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้น
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน (19 ส.ค.48) มีปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ ค่ายจิรประวัติ (C.2) อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 478 ม.3/วิ. แนวโน้มเพิ่มขึ้น ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +15.35 ม.(รทก.) เพิ่มจากวันก่อน 0.32
เมตร ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 45 ม.3/วิ. เขื่อนพระรามหกปิดการระบาย
4. ความเสียหายจากน้ำท่วม (ข้อมูลจากป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุโขทัย) จากการที่ระดับน้ำในแม่น้ำยมสูงขึ้นจนล้นตลิ่งในบริเวณพื้นที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัด สุโขทัย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2548 พบความเสียหายในเบื้องต้นสรุปได้ดังนี้
อำเภอศรีสำโรง ตำบลวัดเกาะ และตำบลทับผึ้ง
ได้รับความเสียหายเป็นพื้นที่เพาะปลูกนาข้าวประมาณ 20 ไร่
โดยกรมชลประทานได้เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทุก
ๆ
1 ชั่วโมง
--------------------------------------------
ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์
กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
19 สิงหาคม 2548