ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์ 0-2243-6956 โทรสาร 0-2243-6956,
0-2241-3350
Webpage : http://www.rid.go.th/flood , E-mail : flood44@mail.rid.go.th
_____________________________________________________________________________________
รายงานสรุปสถานการณ์น้ำในฤดูฝน ปี 2547
วันที่ 26 ตุลาคม 2547
1.
สภาพภูมิอากาศและสภาพฝน
ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปและอุณหภูมิ จะลดลง ส่วนภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย
ปริมาณฝนสูงสุด
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ อ.สวี จ.ชุมพร วัดได้ 34.6
ม.ม. ภาคอื่นๆไม่มีรายงานฝนตก
2. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศเฉลี่ยร้อยละ
78 ของความจุเก็บกัก โดยมีอ่างฯที่มีปริมาตรน้ำน้อยกว่าร้อยละ 50 ของความจุเก็บกัก ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่กวงฯ ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำนางรอง กระเสียว ทับเสลา และบางพระ
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำใช้การได้
4,615 และ 6,503 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ
คิดเป็นร้อยละ 48 และ 98 ของความจุใช้การได้ของอ่างฯ ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำใช้การได้ทั้งสองอ่างฯรวมกัน
จำนวน 11,117 ล้าน ลบ.ม.
3. สภาพน้ำท่า
ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ. นครสวรรค์ เท่ากับ 707 ม.3/วิ. ลดลงจากวันก่อน 42 ม.3/วิ. ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ที่เขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไหลผ่าน 108 ม.3/วิ. ลดลงจากวันก่อน 28 ม.3/วิ.
เขื่อนพระรามหกหยุดการระบาย
สภาพน้ำในแม่น้ำภาคใต้
ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปกติ โดยแม่น้ำที่มีสภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์สูงได้แก่ แม่น้ำพระแสง บริเวณ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.20 เมตร ลดลงจากวันก่อน 0.21 เมตร แนวโน้มระดับน้ำลดลง
4. สภาพความแห้งแล้ง
จ.ร้อยเอ็ด เนื่องจากเกิดสภาพฝนทิ้งช่วง ทำให้พื้นที่ในเขต
อ.เกษตรวิสัย อ.ปทุมรัตน์
ประสบปัญหาภัยแล้งข้าวกล้าและพืชผลการเกษตรของราษฎรขาดแคลนน้ำแห้งตาย ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ
กรมชลประทาน
ได้ประสานกับโครงการชลประทานจังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนแล้ว
จ.นครราชสีมา
เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง และ เขื่อนลำพระเพลิง อยู่ในเกณฑ์น้อยไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้
จำเป็นต้องวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
โดยเน้นสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคเป็นหลัก กรมชลประทาน
ได้ทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายอำเภอและเกษตรอำเภอ
หัวหน้ากลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตโครงการ เพื่อแจ้งเตือนประชาชน ให้งดการปลูกพืชฤดูแล้ง 2547/2548
เพื่อลดสภาวะที่เสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูแล้งนี้
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อื่นๆที่เริ่มประสบปัญหาความแห้งแล้งโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ที่ร้องขอการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน เช่น
จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ
5. การให้ความช่วยเหลือเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่
กรมชลประทานได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกและการใช้น้ำต่างๆ
ทั่วประเทศทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานมาโดยตลอด และเมื่อปี 2546
กรมชลประทานได้ถ่ายโอนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ตาม พรบ.
การถ่ายโอนฯ ให้กับ อบจ.ต่างๆ จำนวน 1,000 เครื่อง พร้อมกันนั้น
สำนักงบประมาณได้ตัดโอนงบประมาณการสูบน้ำนอกเขตชลประทานให้กับกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นมา
โดยปัจจุบันกรมชลประทานมีเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ในเขตชลประทานจำนวน
1,574 เครื่อง ซึ่งขณะนี้ได้ให้ความช่วยเหลือพื้นที่ต่างๆ
อยู่ 792 เครื่อง อยู่ระหว่างการซ่อมแซม 223 เครื่อง และพร้อมให้ความช่วยเหลืออีก
559 เครื่อง
ซึ่งเครื่องเหล่านี้จะประจำในพื้นที่กระจายอยู่ในทุกสำนักชลประทานทั่วประเทศ
______________________________