สถานการณ์ปัจจุบัน : สถานการณ์วิกฤตระดับ 1 ตั้งแต่ วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2550 เวลาทำการ 07.30 – 18.30 น.

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทรศัพท์  0-2243-6956, 0-2241-3350,0-2243-1098 โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350,0-2243-1098

http://www.rid.go.th/flood , www.kromchol.com, E-mail : rid_flood@yahoo.com  สายด่วน 1460

 


สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน  ปี 2550

 

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2550

1.สภาพภูมิอากาศ     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในระยะ 1-2 วันนี้ไว้ด้วย

 

2.สภาพฝน 

ปริมาณฝนสูงสุดรายภาค ตั้งแต่ 07.00 น.วันที่ 26 กันยายน 2550 ถึง 07.00 น.วันที่ 27 กันยายน 2550 ดังนี้

ภาคเหนือ                                               ที่ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน                                                                106.0      มม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                    ที่ อ.เมือง จ.อุดรธานี                                                            51.1       มม.

ภาคกลาง                                               ที่ สนามบินดอนเมือง กทม.                                                58.5        มม.

ภาคตะวันออก                                      ที่ อ.คลองใหญ่  จ.ตราด                                                       45.4        มม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก                             ที่ อ.เมือง จ.นราธิวาส                                                           36.3        มม.

                                ภาคใต้ฝั่งตะวันตก                                ที่ อ.เมือง จ.ระนอง                                                               34.1        มม.

 

3.สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (27 กันยายน 2550) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 52,625 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2549 ( 59,170 ล้านลูกบาศก์เมตร ) จำนวน 6,,545 ล้านลูกบาศก์เมตร   คิดเป็นร้อยละ 11

 

อ่างเก็บน้ำภูมิพล และอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 9,496 และ 6,685 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 71 และ 70 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกันจำนวน 16,181  ล้าน ลบ.ม.

                                                                                       

 

 

 

  

                 

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ น้อยกว่า ร้อยละ 30  ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 2 อ่าง ได้แก่

 

 

 

 

 

1) อ่างเก็บน้ำแม่กวง มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 50 ล้าน ลบ.ม.      2)  อ่างเก็บน้ำลำนางรองมีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 32  ล้าน ลบ

      คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ                                           คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ มากกว่า ร้อยละ 80  ของความจุอ่างฯ มีจำนวน  8   อ่างฯ ได้แก่

 1) อ่างเก็บน้ำน้ำอูน  จังหวัดสกลนครมีปริมาตรน้ำในอ่าง      423     ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ  81   ของความจุอ่า ง      

 2) อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์  มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 1,322  ล้านลบ.ม.  คิดเป็นร้อยละ  92   ของความจุอ่างฯ        

 3)  อ่างเก็บน้ำสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ  1,678   ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ  85  ของความจุอ่าง ฯ                                         

 4)   อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ  15,339   ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ  86  ของความจุอ่างฯ

 5)  อ่างเก็บน้ำวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี  มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ  7,424   ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ  84  ของความจุอ่างฯ

 6) อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ  143  ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ  88  ของความจุอ่างฯ             

7) อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีมีปริมาตรน้ำในอ่าง  591   ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ  83  ของความจุอ่าง ฯ

8)  อ่างเก็บน้ำรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 4,548 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 81 ของความจุอ่างฯ                        

4. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง ที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณน้ำไหล ผ่าน 51.0 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที   (ความจุ 440 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

 สถานี P.2A บ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 265 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,830 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ลดลงจากเมื่อวาน 37.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

สถานี  P.17  อำเภอบรรพตพิสัย  จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  529   ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ( ความจุ 1,344 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)ลดลงจากเมื่อวาน 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง2.03 เมตร   

แม่น้ำวัง  ที่สถานี  W.1C ที่สะพานเสตุวารี  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  43 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 16 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

 สถานี  W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 63.6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  (ความจุ 316 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) ลดลงจากเมื่อวาน 36.7ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

 แม่น้ำยม ที่สถานี Y.1C ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 41.9 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 8.9 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มลดลง

สถานี Y.4 ที่ตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 178 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 520 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ลดลงจากเมื่อวาน 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

สถานี Y.16 บ้านบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 354.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 3.6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับน้ำ 7.29 เมตร เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 0.04 เมตร (ความจุ 342 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับตลิ่ง 7.15 ม. ) อยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 241.6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  (ความจุ 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) ลดลงจากเมื่อวาน 1.6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มลดลง

แม่น้ำน่าน โดยที่สถานี  N.5A ที่สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 180.3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ลดลงจากเมื่อวาน  29.2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

สถานี N.24A ที่บ้านวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 53 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

 สถานี N.8A ที่บ้านบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 862.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,230 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ลดลงจากเมื่อวาน 69.2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.42 เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำมากแนวโน้มลดลง

สถานี N.14A หน้าวัดหลวงพ่อแก้ว อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 980 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที    (ความจุ 1,230 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับตลิ่ง  27.81  ม.) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  0.17 แนวโน้มทรงตัว

สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์    มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,119 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,370 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับตลิ่ง 27.40 ม.)ลดลงจากวันก่อน 17 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.78 ม.  แนวโน้มลดลง

แม่น้ำป่าสัก สถานี S.4B สะพานพัฒนาภาคเหนือ 3 อ.เมือง  จ.เพชรบูรณ์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน  32.6  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 250  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับตลิ่ง  9.27  ม.)ลดลงจากเมื่อวาน 17.9 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มลดลง

  สถานี S.42 บ้านบ่อวัง  อ.วิเชียรบุรี  จ.เพชรบูรณ์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน  410 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน 30 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 220  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับตลิ่ง  10.20 ม.) น้ำท่วม ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง  1.21 เมตร แนวโน้มลดลง

แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2 ) 1,632  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน  82 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (สูงสุดเมื่อวันที่24 ก.ย.50 จำนวน1,769 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,645.0  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน  77  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (สูงสุดเมื่อวันที่ 23 ก.ย.50 จำนวน 1,748ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา  +16.40 ม.(รทก.)  ท้ายเขื่อนฯ   +  13 .17 ม.(รทก.) เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน  13  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที   ทั้งนี้ ในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันออกตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานได้สูบน้ำและระบายน้ำออกสู่ทะเล วันละ 14.3 ล้านลูกบาศก์เมตร

แม่น้ำท่าจีน  สถานี T.10 อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ปริมาณน้ำไหลผ่าน 235.4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำอยู่ที่ 3.72 ม.( รทก.) (ระดับตลิ่ง  +4.60  . ) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.88 เมตร แนวโน้มลดลง  ( เมื่อวาน 252.1  ลบ.ม./วิ )

สถานี   T .1  อำเภอนครไชยศรี  จังหวัดนครปฐม  ปริมาณน้ำไหลผ่าน  282.9  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำอยู่ที่ 1.15  ม.    ( รทก.)  (ระดับตลิ่ง  +1.80  . ) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  0.45  เมตร  แนวโน้มทรงตัว ( เมื่อวาน 273.9  ลบ.ม./วิ )

แม่น้ำแควใหญ่ สถานี K.35A บริเวณบ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 107 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,000   ลบ.ม./วิ )  อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว

 แม่น้ำแม่กลอง สถานี K.3 หน้าวัดไชยชุมพล  อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  ต่ำกว่าตลิ่ง  0.28 เมตร (ระดับตลิ่ง  7.77 ม.)  อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  แนวโน้มลดลง

แม่น้ำชี  สถานี E.23   อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  ปริมาณน้ำไหลผ่าน  242 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 270 ลบ.ม./วิ ระดับตลิ่ง  8.40  ม.) เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน  22 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  0.05 เมตร   แนวโน้มเพิ่มขึ้น ( เมื่อวาน 220 ลบ.ม./วิ )

สถานี E.9   อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น  ปริมาณน้ำไหลผ่าน  226 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 300 ลบ.ม./วิ ระดับตลิ่ง  10.09  ม.) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  0.41 เมตร   แนวโน้มทรงตัว

สถานี E.20A  อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ปริมาณน้ำไหลผ่าน  913.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที( ความจุ 1,025  ลบ.ม./วิ ระดับตลิ่ง  9.46  ม.)อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.02 เมตร   แนวโน้มเพิ่มขึ้น (เมื่อวาน 909.6 ลบ.ม./วิ )

แม่น้ำมูล สถานี M.6A บริเวณบ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน  178  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำห้วยทับทัน  สถานี M.42 บ้านห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีษะเกษ ปริมาณน้ำไหลผ่าน  112.7  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที   ( ความจุ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับตลิ่ง  7.60  ม.)  อยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม ล้นตลิ่ง  1. 70  เมตร  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำมูล  สถานี M.5  อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีษะเกษ ปริมาณน้ำไหลผ่าน  367.1 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที   ( ความจุ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ระดับตลิ่ง  8.10  ม.)  อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำมูล  สถานี M.9  อ.เมือง  จังหวัดศรีษะเกษ ปริมาณน้ำไหลผ่าน  114.4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที   ( ความจุ 135 ลบ.ม./วิ )    อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก  (ระดับตลิ่ง  7.78 ม.  ) แนวโน้มลดลง

แม่น้ำมูล  สถานี M.176  อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีษะเกษ  ปริมาณน้ำไหลผ่าน  294.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที           

( ความจุ 262 ลบ.ม./วิ )    อยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม ล้นตลิ่ง  0.58  เมตร (ระดับตลิ่ง  9.49  ม.  ) แนวโน้มลดลง

 แม่น้ำมูล  สถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย  อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี ปริมาณน้ำไหลผ่าน   1,842 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( ความจุ 1,980ลบ.ม./วิ )  อยู่ในเกณฑ์มาก  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  0.15  เมตร   แนวโน้มลดลง  

แม่น้ำคลองใหญ่ สถานี Z.10 บริเวณบ้านศรีบัวทอง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 130.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 499 ลบ.ม./วิ ) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

 แม่น้ำจันทบุรี สถานี Z.13 บริเวณบ้านปึก อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 40.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 285 ลบ.ม./วิ ) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง

แม่น้ำตาปี  สถานี X.37 A บริเวณ บ้าน ย่านดินแดง  อำเภอ พระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 202.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที    ( ความจุ 490 ลบ.ม./วิ ) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  แนวโน้มทรงตัว

แม่น้ำอู่ตะเภา  สถานี X.44 บริเวณบ้านหาดใหญ่ใน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 509 ลบ.ม./วิ ) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง

แม่น้ำโกลก  สถานี X.119A บริเวณบ้านปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีปริมาณน้ำไหลผ่าน  25.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 384 ลบ.ม./วิ ) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง

5.       สถานการณ์น้ำท่วม  

จังหวัดพิจิตร สถานการณ์น้ำท่วม  ในเขต ต.วังงิ้ว ต.สำนักขุนเณร ต.ห้วยพุก และ ต.วังงิ้วใต้ อ.ดงเจริญ ระดับน้ำลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ยังมีน้ำท่วมขังในเขต ต.วังตะกู ต.ภูมิ ต.ห้วยเขน ต.วังกรด อ.บางมูลนาก  คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน1-2 วัน

จังหวัดสุโขทัย      ยังมีน้ำท่วมขังพื้นที่ราบลุ่ม ในเขต อ.เมือง บริเวณ ต.ยางซ้าย   ต.ปากพระ  ต.บ้านสวน  และในเขต อ.กงไกรลาศ บริเวณ  ต.ท่าฉนวน  ต.กง และ ต.ดงเดือย ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรซึ่งเกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว  แนวโน้มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายในเดือนตุลาคม  2550

จังหวัดพิษณุโลก มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ได้แก่ หมู่ที่ 5,8  ต.ชัยนาม อ.วังทอง หมู่ที่ 3, 4, 7 และ 12 ต.วังทอง อ.วังทอง และหมู่ที่ 4, 5, 6, 8 , 11, 12 และ 15 ต.วังพิกุล อ.วังทอง ซึ่งที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี และในเขตพื้นที่ ต.บ้านกร่าง ต.วังน้ำคู้ ต.ดอนทอง ต.สมอแข อ.เมือง  ต.ชุมแสงสงคราม ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ และ ต.บ้านไร่ ต.บางกระทุ่ม ต.สนามคลี ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุมแบน

จังหวัดเพชรบูรณ์  จากกรณีที่ได้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 50 ที่ผ่านมา ทำให้มีน้ำไหลเข้าอ่างบุฉนวน (ถ่ายโอนให้ อบต.น้ำร้อน)  ต.น้ำร้อน องเมือง  เป็นจำนวนมาก ทำให้อ่างฯ ได้รับความเสียหาย บริเวณทำนบดินเหนืออ่าง ถูกน้ำกัดเซาะกว้างประมาณ 20 ม.ลึก 15 ม. และอาคารระบายน้ำล้นถูกกัดเซาะ  ส่งผลกระทบกับพื้นที่ท้ายอ่างฯ จำนวน 6 หมู่บ้าน ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

                จังหวัดอุทัยธานี  มีน้ำเอ่อล้นตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมในพื้นที่ ม.1 ต.ท่าซุง อ.เมือง  มีน้ำไหลข้ามถนน คสล.  ระดับน้ำสูงประมาณ 0.05 – 0.10 ม.

                จังหวัดชัยนาท มีน้ำท่วมในเขตโครงการฯ มหาราช ต.นางดำออก อ.สรรพยา บริเวณปลายคลองระบายชัยนาท-ป่าสัก 2 พื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่

                จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา ในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ ปตร.บางกุ้ง ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล ระดับน้ำสูงกว่ตลิ่งประมาณ 1.3 ม.  พื้นที่ริมแม่น้ำน้อย บริเวณ ปตร.กุฎี อ.กุฎี อ.ผักไห่ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งประมาณ 1.30ม. และบริเวณ ต.น้ำเต้า อ.บางบาล ต.กระแซง อ.บางไทร ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งประมาณ 0.43 ม. และ ต.กระแซง อ.บางไทรระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งประมาณ 0.14 ม. พื้นที่ริม คลองบางหลวง บริเวณ ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งประมาณ 0.74 ม.

                จังหวัดศรีษะเกษ ระดับน้ำในลำห้วยสำราญ ณ สถานีวัดน้ำ M9 ซึ่งอยู่ในเขตชุมชนเมืองของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ได้ลดระดับลงเป็นลำดับ ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน   มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร บริเวณริมห้วยทับทัน ระดับน้ำสูงประมาณ 1.5 ม. และริมห้วยขะยุง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม.

จังหวัดกาฬสินธุ์  มีน้ำท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำติดกับลำน้ำปาว ที่ อ.เมือง  บริเวณบ้านดอนฉนวน หมู่ที่ 9 บ้านห้วยโพธิ์ หมู่ที่ 4  บ้านคงเมือง หมู่ที่ 10  ที่ อ .กมลาไสย บ้านธนบุรี หมู่ที่ 5,13,1 บ้านโนนไฮ หมู่ที่ 9 บ้านสีถาน หมู่ที่10 ที่ อ.ยางตลาด บ้านปอแดง หมู่ที่ 1 บ้านขมิ้น หมู่ที่ 5 บ้านหลุบข้าว หมู่ที่ 7 บ้านดอนยานาง หมู่ที่ 7 บ้านเสียว หมู่ที่ 5 ที่ อ.ฆ้องชัย บ้านสว่างหมู่ที่ 9 มีพื้นที่การเกษตร ประมาณ  6,820 ไร่  เสียหายประมาณ 500 ไร่ ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากประจำทุกปี  และยังคงมีน้ำท่วมขังต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์

                จังหวัดร้อยเอ็ด  เนื่องจากเกิดฝนตกหนักหลายพื้นที่  ทำให้มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร 13 หมู่บ้าน 5 ตำบล 4 อำเภอ พื้นที่ประมาณ  4,186 ไร่  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

                บ้านวังปากบุ่ง ต. พระธาตุ กิ่ง อ. เชียงขวัญ พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ บ้านคุยจั่น บ้านคุยตับเต่า ต.สะอาด อ.โพธิ์ชัย พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ บ้านคุยโพธิ์  ปากปลาค้าว  ต.ดอนโอง  อ.โ พธิ์ชัย  พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่  บ้านดอนแก้ว บ้านมะแว บ้านโนนราศี บ้านหนองไชยวาน และบ้านโดนยาง ต.บึงงาม กิ่ง อ.ทุ่งเขาหลวง รวมพื้นที่ 1,371 ไร่ บ้านขมิ้น และบ้านฮีโก่ม ต.เทอดไทย กิ่ง อ.ทุ่งกิ่งเขาหลวง พื้นที่ 315 ไร่

                จังหวัดพังงา มีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 22-25 ก.ย. 50 มีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประมาณ 50 ครัวเรือน ในเขตหมู่ที่ 2  ต.ตำหนัง  และ ต.บางวัน อ.คุระบุรี เมื่อเย็นวันที่ 25 ก.ย. 50 ที่ผ่านมา

6. การให้ความช่วยเหลือ

ปัจจุบัน กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำประจำที่ท่าสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยทั้งประเทศจำนวน140 เครื่อง โดยแยกรายจังหวัดได้ดังนี้   เชียงใหม่ 45 เครื่อง  ลำพูน 10 เครื่อง เชียงราย 2 เครื่อง พิจิตร 3 เครื่อง   นครสวรรค์ 2 เครื่อง  มหาสารคาม 4 เครื่อง  กาฬสินธุ์ 2 เครื่อง  ชัยภูมิ 6  เครื่อง  นครราชสีมา 2 เครื่อง  นนทบุรี 10 เครื่อง  ปทุมธานี  4  เครื่อง  สุพรรณบุรี 20 เครื่อง  สมุทรสาคร 2  เครื่อง  นครปฐม  2  เครื่อง  ชัยนาท 19   เครื่อง   อ่างทอง 4  เครื่อง  นครศรีธรรมราช  3  เครื่อง   

 

************************************

นายครองศักดิ์  สงรักษา                                                      วิศวกรชลประทาน 6                                                                           รายงาน                                                       

นายพรชัย    พ้นชั่ว                                                                นายช่างชลประทาน 8            เลขานุการคณะทำงาน ศปส.ชป.        ตรวจ