รายละเอียดงานและหลักเกณฑ์การพิจารณา
ดูแผนภาพการเสนอแผน จัดสรร เบิกจ่ายงบประมาณ งานจัดการน้ำชลประทาน

 



งานปรับปรุงแหล่งน้ำ (งานปรับปรุงระบบชลประทานเฉพาะจุด,โครงการ และงานปรับปรุงชป.เล็ก)
ลักษณะงาน:
เป็นการปรับปรุงและบำรุงรักษาที่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารชลประทานที่ได้ออกแบบ/ก่อสร้างไว้เดิม หรือมีการ
ออกแบบ/ก่อสร้างขึ้นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำและการระบายน้ำเป็นหลักใหญ่ โดยดำเนินงานในโครงการชป.ขนาด
ใหญ่ โครงการชป.ขนาดกลาง และโครงการชป.ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ที่อยู่ในความดูแลของกรมฯ
หลักเกณฑ์การพิจารณา
1.สภาพอาคารมีสภาพชำรุดเสียหายในปริมาณมาก หรือมีความถี่ของการเกิดการชำรุด เสียหายสูง ไม่สามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่
กำหนด หรือมีความยุ่งยากในการใช้งาน และเวลาในการปฏิบัติการ
2.อายุการใช้งาน ไม่น้อยกว่า 15 ปี และไม่สามารถสนองความต้องการ ในสภาวะแวดล้อมและ วัตถุประสงค์ในปัจจุบัน รวมทั้งมีค่า
บำรุงรักษาสูง
3.ประสิทธิภาพการชลประทาน เป็นระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่กำหนดไว้เดิม หรือความต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิ
ภาพการชลประทานให้สูงขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิม เพื่อให้สอดคล้องสภาพเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน
4.มีศักยภาพน้ำต้นทุนเพียงพอ
5.มีความคุ้มทุนด้านเศรษฐกิจและสังคม
เกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการ
1.เป็นงานที่มีภาระผูกพันงบประมาณจากปีงบประมาณที่ผ่านมา
2.มีความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม มีความจำเป็นเร่งด่วน หากไม่ทำการปรับปรุง จะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชน
3.งานที่มีความพร้อมของผลสำรวจและแบบก่อสร้าง
4.เป็นงานที่บรรจุอยู่ในแผนหลักของกรมฯ
5.เป็นงานที่ผ่านการศึกษาด้านวิชาการของกรมฯ มาแล้ว
6.งานที่อายุการใช้านงานหรือมีการซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิมมาแล้วหลายหน แต่ไม้ได้ผล
7.เป็นงานนโยบาย หรือกรมฯ ตอบรับ

งานก่อสร้างคูน้ำและอาคารประกอบ
ลักษณะงาน:

เป็นการก่อสร้างคูน้ำแบบลัดเลาะตามแนวเขตแปลงกรรมสิทธิ์ โดยไม่มีการจัดรูปแปลงใหม่ ไม่ปรับระดับพื้นที่
หลักเกณฑ์การพิจารณา
1.เป็นโครงการขนาดใหญ่, ขนาดกลาง, โครงการสูบน้ำ หรือโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีน้ำต้นทุนเพียง
เพาะปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30,000 ไร่
2.มีระบบส่งน้ำอยู่ในสภาพใช้งานได้
3.เกษตรกรพร้อมให้ความร่วมมือ (โดยไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินที่ใช้ก่อสร้างตาม พรบ.คันคูน้ำ พ.ศ. 2505)
4.ส่วนราชการอื่น ๆ ให้การสนับสนุน เช่น การส่งเสริมการเกษตร
5.พื้นที่ไม่เกิดปัญหาน้ำท่วม
6.ไม่มีผลกระทบด้านสังคม, การเมือง, สิ่งแวดล้อม

งานป้องกันน้ำท่วม
ลักษณะงาน
เป็นงานที่ดำเนินการเพื่อทำการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัยของราษฎรและพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรม
ได้ตามปกติ หรือเป็นการลดความเสียหายและผลกระทบจากน้ำท่วมให้น้อยลง แบ่งงานป้องกันน้ำท่วมออกเป็นงานป้องกันน้ำ
ท่วมกรุงเทพฯ และปริมณมณฑ
ล ซึ่งเป็นแผนงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และงานป้องกันน้ำท่วมลงสู่ท้องถิ่น เป็นการ
ป้องกันน้ำท่วมในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
พิจารณาจากพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขอาจจะทำให้เกิดความเสียหาย รวมทั้งราษฎร
ได้รับความเดือดร้อน และพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม สภาพพื้นที่มีความเสียหายต้องรีบดำเนินการโดยเร่งด่วน

งานก่อสร้างถนนราดยางบนคันคลอง
ลักษณะงาน
เป็นงานก่อสร้างถนนราดยางบนคันคลองชลประทานที่อยู่ในความดูแลของกรมฯ เพื่อให้สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวก รวม
ทั้งเป็นเส้นทางลำเลียงผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรด้วย
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ

พิจารณาจากสัดส่วนของปริมาณความยาวของคันคลองชลประทาน ที่ขึ้นอยู่ของแต่ละสำนักชลประทาน รวมถึงความจำเป็นของ
พื้นที่, สภาพของพื้นที่และประโยชน์ที่จะได้รับจากการก่อสร้าง

งานซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงการ ประกอบไปด้วย :
งานซ่อมแซมบำรุงรักษาโครงการ
ลักษณะงาน
เป็นการซ่อมแซมบำรุงรักษาโครงการชลประทานที่ก่อสร้างเสร็จแล้วและทำการส่งมอบเป็นส่วนของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา
แล้ว และเกิดการชำรุดเสียหาย ซึ่งงานซ่อมแซมบำรุงรักษาโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา จำนวน 77 โครงการ และโครงการชลประทานจังหวัด 75 โครงการ ซึ่งเกิดความเสียหายจากการ
ใช้งานส่งน้ำและระบายน้ำในฤดูฝน และฤดูแล้ง เป็นเวลานาน ให้สามารถใช้งาน ได้ตามปกติและป้องกันความเสียหาย รวมโครง
การที่อยู่ในความดูแล จำนวน 82 โครงการ และโครงการขนาดกลาง จำนวน 668 โครงการ พื้นที่ชลประทานทั้งสิ้น22,230,000ไร่
นอกจากนี้ยังเป็นการซ่อมแซมเนื่องจากอุทกภัย เมื่ออุทกภัยได้ทำความเสียหายต่อโครงการ แล้ว กรมฯ ต้องซ่อมแซมให้คงสภาพ
เดิมเพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติต่อไป
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
ซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงการชลประทานในสำนักชป.ที่ 1 - 16 พิจารณาจากภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ และปริมาณงานที่ต้อง
ดูแลบำรุงรักษา เช่น พิจารณาจากพื้นที่ชลประทาน, ปริมาณงานต่าง ๆ เช่น คลองส่งน้ำ, อาคารหัวงาน, อาคารบังคับน้ำ, คันกั้นน้ำ
และถนน, คลองระบายน้ำ เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาจากจำนวนฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา

ขุดลอกคลอง ดำเนินการโดยเรือขุด
ลักษณะงาน
งานขุดลอกคลองชลประทานและคลองธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่และไม่มีถนนบนคันคลอง เพื่อแก้ปัญหาปริมาณน้ำในคลองปริมาณ น้ำน้อย เนื่องจากการตกตะกอนทับถมในคลอง ทำให้มีปริมาณน้ำที่สามารถส่งได้ตามที่ได้ออกแบบไว้เป็นงานขุดลอกคลองโดยเรือ ขุดในส่วนที่กรมฯ ดำเนินการเอง ซึ่งมีเรือขุดสำหรับงานขุดลอกคลองจำนวน 63 ลำ
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
พิจารณาตามสัดส่วนปริมาณความยาวของคลองส่งน้ำ, คลองระบายน้ำ และความจุของคลองต้องมากกว่า 20 ลบ.ม./วินาที ในเขต
พื้นที่ชลประทานของแต่ละสำนักชลประทาน

ขุดลอกคลอง ดำเนินการโดยรถขุด (ดำเนินการเอง)
ลักษณะงาน
เป็นงานขุดลอกคลองชลประทานและคลองธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือจากที่เป็นความรับผิดชอบของเรือขุด ซึ่งในส่วนของกรมฯ มี
รถขุดทั้งสิ้น 457 คัน สำหรับทำงานขุดลอกคลอง 340 คัน
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
พิจารณาตามสัดส่วนปริมาณความยาวของคลองส่งน้ำ, คลองระบายน้ำ และความจุของคลองต้องมากกว่า 20 ลบ.ม./วินาที ในเขต
พื้นที่ชลประทานของแต่ละสำนักชลประทาน

ขุดลอกคลอง ดำเนินการโดยรถขุด (จ้างเหมา)
ลักษณะงาน
เป็นงานขุดลอกคลองชลประทานและคลองธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือจากที่เป็นความรับผิดชอบของเรือขุด เป็นงานจ้างหมาเพื่อ
การขุดลอกคลองส่วนที่เกินกำลังของเครื่องจักรเครื่องมือของกรมฯ และมีความจำเป็นเร่งด่วน
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
พิจารณาตามสัดส่วนปริมาณความยาวของคลองส่งน้ำ, คลองระบายน้ำ และความจุของคลองต้องมากกว่า 20 ลบ.ม./วินาที ในเขต
พื้นที่ชลประทานของแต่ละสำนักชลประทาน

ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ
ลักษณะงาน
เมื่อมีการก่อสร้างเขื่อนปิดกั้นลำน้ำ และเวลาผ่านไป จะมีตะกอนตกสะสมในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนซึ่งทำให้เขื่อนจะมีความจุ
ลดลง และเป็นปัญหาในการระบายน้ำผ่าน Outlet หรือบานระบายต่าง ๆ จึงต้องขุดลอกเพื่อรักษาความสามารถในการเก็บกักน้ำ
เพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรกรรม
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
พิจารณาตามความจำเป็น, อายุการใช้งานและความเหมาะสมของอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และพระราชดำริ โดยเน้นในอ่างฯ ที่มี
การตกตะกอนที่สูงมาก

บำรุงรักษาทางลำเลียงใหญ่
ลักษณะงาน
เป็นค่าใช้จ่ายในการถมปะหลุมบ่อ และลงลูกรังเกลี่ยบดอัดแน่นบริเวณที่ได้รับความเสียหายจากการใช้งาน ตามบัญชีทางลำเลียง
ขนาดใหญ่ที่กรมฯ ได้ขึ้นบัญชีไว้ เพื่อให้สามารถใช้ทางสัญจรไปมาและสามารถขนส่งผลผลิตการเกษตรได้สะดวกไม่มีปัญหา
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
จะพิจารณาจากสัดส่วนของปริมาณความยาวของทางชลประทาน ที่ขึ้นอยู่ของแต่ละสำนักชลประทาน

บำรุงรักษาทางลำเลียงย่อย
ลักษณะงาน
เป็นค่าใช้จ่ายในการถมปะหลุมบ่อ และลงลูกรังเกลี่ยบดอัดแน่นบริเวณที่ได้รับความเสียหายจากการใช้งานตามบัญชีทางลำเลียง
ขนาดย่อยที่กรมฯ ได้ขึ้นบัญชีไว้ เพื่อให้สามารถใช้ทางสัญจรไปมาและสามารถขนส่งผลผลิตการเกษตรได้สะดวกไม่มีปัญหา

หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
จะพิจารณาจากสัดส่วนของปริมาณความยาวของทางชลประทาน ที่ขึ้นอยู่ของแต่ละสำนักชลประทาน

ป้องกันน้ำเค็ม
ลักษณะงาน

เป็นส่วนหนึ่งในงานซ่อมแซมที่ต้องดำเนินการป้องกันน้ำเค็ม เนื่องจากในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำในลำน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้อย
เมื่อน้ำทะเลมีระดับสูง จะหนุนเข้าลำน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำเค็มเข้าพื้นที่เพาะปลูกบริเวณชายฝั่งทะเล เขตติดต่อภาคกลาง, ภาค
ตะวันออก และภาคใต้ ส่งผลให้ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ กรมฯ จำเป็นต้องเสริมทำนบชั่วคราว คันกั้นน้ำ และเปิดทำนบเพื่อระบาย
น้ำ ตามปกติในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อระบายน้ำ ป้องกันน้ำเสียเกิดในลำน้ำ และเพื่อให้ราษฎรใช้เป็นเส้นทางคมนาคม
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ
พิจารณาตามพื้นที่ที่ติดต่อชายทะเล ที่มีปัญหาน้ำเค็มเข้าถึง

กำจัดวัชพืช
ลักษณะงาน
เป็นงานกำจัดวัชพืช บริเวณคลองส่งน้ำ, คลองระบายน้ำ และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาต่อการจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน ซึ่ง
สามารถแบ่งเป็นการกำจัดวัชพืชด้วยแรงคน ซึ่งจะดำเนินการในบริเวณที่วัชพืชปกคลุมไม่หนาแน่นมากนัก และกำจัดวัชพืชโดย
เครื่องจักรกล ในพื้นที่ที่มีวัชพืชปกคลุมในปริมาณที่มาก และใช้แรงงานคนไม่สะดวก
หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งงบประมาณ

พิจารณาตามสัดส่วนปริมาณความยาวของคลองส่งน้ำ และจำนวนอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน โดยให้น้ำหนัก
คลองส่งน้ำ 60 % และอ่างเก็บน้ำ 40%

ด้านบน