ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

   

  แม่น้ำเจ้าพระยา

    แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวจากแม่น้ำสายหลักสองสายทางภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ไหลมารวมตัวกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นสายเดียวโดยเรียกรวมทั้งหมดว่า "แม่น้ำเจ้าพระยา" และไหลออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ

ข้อมูลทางภูมิศาสตร์  

จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำน่านและแม่น้ำปิง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดถึง 160,000 ตารางกิโลเมตร[ต้องการแหล่งอ้างอิง] และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำเก่าในยุคไพลสโตซีน เป็นหนึ่งแควหลักของแม่น้ำซุนดาเหนือ ร่วมสมัยกับแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ต่อมาในต้นยุคโฮโลซีน น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็ง ทำให้ขอบเขตแม่น้ำเจ้าพระยาหายไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกือบทั้งหมดจมอยู่ใต้อ่าวไทยโบราณ จากนั้นจึงเริ่มการทับถมของดินตะกอนใหม่อีกครั้ง เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

    แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ จึงมีสะพานข้ามแม่น้ำจำนวนมาก และในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นสะพานที่มีชื่อ เช่น (เรียงจากต้นน้ำ)
  1. สะพานเดชาติวงศ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
  2. สะพานตะเคียนเลื่อน (ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์) จ.นครสวรรค์
  3. สะพานสมเด็จพระวันรัต เฮง ​เขมจารี หรือเรียกโดยย่อว่า สะพานพระวันรัต (ทางแยกเข้าจังหวัดอุทัยธานี) จ.อุทัยธานี
  4. เขื่อนเจ้าพระยา (จังหวัดชัยนาท) จ.ชัยนาท
  5. สะพานวัดโคกจันทร์(จังหวัดชัยนาท) จ.ชัยนาท
  6. สะพานเมืองอินทร์บุรี(จังหวัดสิงห์บุรี) จ.สิงห์บุรี
  7. สะพานสิงห์บุรี(จังหวัดสิงห์บุรี) จ.สิงห์บุรี
  8. สะพานหลวงพ่อแพ ถนนเลี่ยงเมืองสิงห์บุรี (จังหวัดสิงห์บุรี) จ. สิงห์บุรี
  9. สะพานพรหมบุรี(จังหวัดสิงห์บุรี) จ.สิงห์บุรี
  10. สะพานวัดไชโย(จังหวัดอ่างทอง)อ.ไชโย จ.อ่างทอง
  11. สะพานอ่างทอง(จังหวัดอ่างทอง)อ.เมือง จ.อ่างทอง(หน้าศาลากลางจังหวัด)
  12. สะพานกษัตราธิราช (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) จ.อยุธยา
  13. สะพานเกาะเรียน (ทางเลี่ยงเมืองอยุธยาฝั่งใต้) จ.อยุธยา
  14. สะพานบางไทร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347) จ.อยุธยา
  15. สะพานเชียงราก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 9) จ.อยุธยา
  16. สะพานปทุมธานี จ.ปทุมธานี
  17. สะพานนนทบุรี (สะพานนวลฉวี) จ.นนทบุรี
  18. สะพานพระราม 4 จ.นนทบุรี
  19. สะพานพระนั่งเกล้าใหม่ จ.นนทบุรี
  20. สะพานพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี
  21. สะพานนครนนทบุรี จ.นนทบุรี
  22. สะพานพระราม 5 จ.นนทบุรี
  23. สะพานพระราม 7 จ.นนทบุรี
  24. สะพานพระราม 6 กรุงเทพมหานคร
  25. สะพานกรุงธน (สะพานซังฮี้) กรุงเทพมหานคร
  26. สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร
  27. สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพมหานคร
  28. สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ) กรุงเทพมหานคร
  29. สะพานพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานคร
  30. สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานสาทร) กรุงเทพมหานคร
  31. สะพานพระราม 3 กรุงเทพมหานคร
  32. สะพานกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร
  33. สะพานพระราม 9 กรุงเทพมหานคร
  34. สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม (เหนือ-ใต้) ส่วนเหนืออยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนใต้อยู่ในเขต จ.สมุทรปราการ
  35. สะพานกาญจนาภิเษก จ.สมุทรปราการ

    ท่าน้ำ

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้
_
  • ปากเกร็ด
  • พิบูลสงคราม 4
  • บางศรีเมือง
  • นนทบุรี (พิบูลสงคราม 3)
  • พิบูลสงคราม 2
  • วัดเขียน
  • วัดตึก
  • วัดเขมา
  • พิบูลสงคราม 1
  • พระราม 7
  • วัดสร้อยทอง
  • บางโพ
  • เกียกกาย
  • เขียวไข่กา
  • กรมชลประทาน
  • พายัพ
  • วัดเทพนารี
  • สะพานกรุงธน (ซังฮี้)
  • วาสุกรี
  • วัดคฤหบดี
  • เทเวศร์
  • สะพานพระราม 8 (บางขุนพรหม)
  • พระอาทิตย์
  • พระปิ่นเกล้า
  • รถไฟ
  • พรานนก (ศิริราช)
  • วังหลัง
  • พระจันทร์
  • มหาราช
  • ท่าช้าง
  • วัดระฆัง
  • ราชวรดิฐ
  • ท่าเตียน(ท่าเรือโพธิ์อรุณ)
  • วัดอรุณ(ท่าเรือโพธิ์อรุณ)
  • ราชินี
  • ปากคลองตลาด
  • วัดกัลยาณมิตร
  • ซางตาครูซ
  • สะพานพระพุทธยอดฟ้า
  • ราชวงศ์
  • ท่าดินแดง
  • กรมขนส่งทางน้ำฯ (กรมเจ้าท่า)
  • สี่พระยา
  • คลองสาน
  • วัดม่วงแค
  • วัดสุวรรณ
  • โอเรียนเต็ล
  • สาทร
  • ตากสิน
  • วัดเศวตฉัตร
  • วัดราชสิงขร
  • ถนนตก
  • วัดวรจรรยาวาส
  • บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ
  • ราษฎร์บูรณะ
  • สาธุประดิษฐ์
  • เพชรหึงษ์
  • บางนา
  • เภตรา (พระประแดง)
  • วิบูลย์ศรี (ปากน้ำ)

   

ตำแหน่งการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด ซึ่งประกอบด้วย
  1. คลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065 [2] สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  2. คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
  3. คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2139 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี