ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์กลุ่มงานจัดสรรน้ำ  /
   

โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอคลองหลวง อำธัญบุรี จังหวัดประทุมธานี

 

         1. วัตถุประสงค์โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9

        วัตถุประสงค์โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะประกอบด้วย

      1. เพื่อจัดหาน้ำและกักเก็บน้ำไว้ในสระน้ำพระราม 9 จำนวน 10 ล้าน ลบ.ม.
      2. เพื่อจัดส่งน้ำให้กับพื้นที่นาปรัง และการปลูกพืชต่างๆ ในพื้นที่ตอนล่างของ ต.คลองห้า ต.คลองหก ในเขตอำเภอคลองหลวง             และรังสิต ต. บึงยี่โถ ในเขต อ. ธัญบุรี จ. ปทุมธานี รวมถึงการช่วยเหลือบางส่วนในแถบโครงการชลประทานตอนล่าง
      3. เพื่อการบรรเทาน้ำเสียจากคลองต่างๆ และชุมชนบางแห่ง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
      4. เพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำในฤดูหลากได้บางส่วน เพื่อเป็นการบรรเทาน้ำท่วมทางบางพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่ง                ตะวันออก
      5. เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนสำหรับจังหวัดปทุมธานีและจะงหวัดใก้ลเคียง
      6. เพื่อใช้ในการอุปโภค - บริโภค ของหน่วยงานต่างๆรอบสระ

        สรุปผลการศึกษา

            ในการศึกษาแนวทางกราบริหารจัดการน้ำในสระเก็บน้ำพระราม 9 นั้น จะอาศัยข้อมูลทางด้านวิศวกรรมของสระเก็บน้ำ แผนความต้องการใช้น้ำต่างๆ จากสระโดยตรง และสถิตข้อมูลต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้ ได้แก่ ข้อมูลภาพฝนตกบริเวณโครงการ และข้อมูลระดับน้ำในสระเป็นต้น ตลอดจนวัตถุประสงค์การก่อสร้างสระ รวมถึงแแนวทางและปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำของโครงการฯ ในการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม โดยไม่ได้เน้นในลักษณะของการศึกษา แบบการคำนวณวิเคราะห์ เนื่องจากข้อมูลที่เก็บไว้ไม่สมบูรณ์เพียงพอ ซึ่งในระยะต่อไปโครงการฯ ควรดำเนินจัดเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกื่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะน้ำไหลเข้าและออกจากสระ เพื่อศึกษาทบทวนทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
สรุปผลการศึกษาแนวทางบริหารจัดการน้ำ สามารถกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในสระเก็บน้ำพระราม 9 ได้ดังนี้
      1. ในช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน
ช่วงต้นฤดูแล้งเดือนมกราคม จะมีน้ำเต็มสระในเกณฑ์ประมาณ 20 ลบ.ม. และเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง โดยการรับน้ำเข้าสระควรพิจารณารับเข้าเป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็น ซึ่งจะทำให้น้ำในสระลดต่ำลงตามลำดับ ตามสภาพการใช้น้ำต่างๆ จากสระ การระเหย และการรั่วซึม โดยสระจะมีระดับอยู่ที่ระดับ 1.70 ม.-รทก. ในช่วงต้นเดือนมกราคม และลดต่ำลงในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน จะมีระดับอยู่ที่ระดับ -0.50 ม.-รทก. เพื่อการเตรียมความพร้อมของสระในการช่วยบรรเทาผลกระทบน้ำท่วมของพื้นที่ข้างเคียง แต่ระดับดังกล่าวยังคงสูงกว่าระดัยน้ำของสระ เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ในสระเก็บน้ำพระราม 9
      2. ในฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฏาคม - ธันวาคม
จะทำการควบคุมการรับน้ำไหลเข้าสระให้เป็นไปตามเกณฑ์ โดยรับน้ำเข้าสระเป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็น ซึ่งจะทำระดับน้ำในสระเก็บน้ำลดลงตามลำดับ โดยมีเกณฑ์ระดับน้ำต่ำสุดอยู่ที่ระดับ -0.9. ม-รทก. ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ในการระบายน้ำออกจากสระโดยเมื่อสถานการณ์ฝนตกหนักผ่านพ้นไป ให้มีการทะยอยสูบออกจากสระโดยไม่เกิดผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่ใก้ลเคียง เพื่อเตรียมความพร้อมของสระรองรับฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่อไป และเมื่อย่างเข้าสู่เดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นระยะผ่านพ้นฤดูฝนหนักของพื้นที่แล้วให้เริ่มเก็บกักน้ำโดยจะมีน้ำเต็มสระในช่วงประมาณเดือนธันวาคม รายละเอียดแสดงในรูปที่ 1

        7. ข้อเสนอแนะ
      1. การบริหารจัดหารน้ำในอ่างพระราม 9 ควรควบคุมระดับน้ำในสระให้เป็นไปตามเกณฑ์การบริหารน้ำตามผลการศึกษาที่กำหนด           โดยต่อเนื่องและตลอดเวลา
      2. การใช้น้ำจากสระเพื่อตอบสนองการใช้น้ำต่างๆ ให้พิจารณาสนับสนุนการใช้น้ำโดยตรงจากสระเป็นอันดับแรก และเมื่อ           สภาพน้ำในสระสูงกว่าเกณฑ์ให้พิจารณาระบายน้ำสนับสนุนการใช้น้ำอื่นๆต่อไป
      3. ถ้าเกิดสภาวะฝนตกหนักบางพื้นที่และระดับน้ำในคลอง 5 และคลอง 6 สูงกว่าระดับกักเก็บมากให้พิจารณารับน้ำเข้าสระ           อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมรอบสระ
      4. เมื่อสภาวะฝนลดลง และระดับน้ำคลอง 5 และคลอง 6 เข้าสูภาวะปกติให้เร่งระบายน้ำออกจากสระเข้าสู่เกณฑ์ปกติการ           บริหารน้ำของสระ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ด้านนอกที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่อไป
      5. เพื่อให้เกณฑ์การศึกษาการใช้น้ำของสระเก็บน้ำพระราม 9 มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นควรมีการวัดปริมาณน้ำไหลเข้าสระที่           อาคารรับน้ำของคลองระบายน้ำคลอง 5 , 5ซ้าย, 6 และปริมาณน้ำระบายออกจากสระ
      6. ในกรณ๊ที่ปริมาณน้ำเมื่อสิ้นเดือนธัยวาคมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โครงการฯควรปรับแผนการจัดการน้ำของสระเก็บน้ำ             เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของสระ ซึ่งปริมาณน้ำที่สิ้นเดือนมิถุนายนไม่ควรต่ำกว่าระดับ -1.00 ม.(รทก.)
      7. ในกรณีที่ระดับน้ำลดลงมาที่ระดับ -1.00 ม.(รทก.) และพบว่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยาของน้ำให้ดำเนินการเพิ่ม           ระดับน้ำในสระตามความเหมาะสม
      8. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างไม่ควรรับน้ำเข้าในช่วงฤดูแล้ง            (ธันวาคม - พฤษภาคม) โดยปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด จะทำให้สามารถผันปริมาณน้ำซึ่งจะเข้ามาในสระไปช่วยพื้นที่           ซึ่งขาดแคลนน้ำได้ และเป็นการพร่องน้ำเพื่อรองรับกับปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝนซึ่งจะทำให้สามารถใช้สระเก็บน้ำพระราม 9            ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   
Web RID


นายสมจิต อำนาจศาล


กรมชลประทาน
สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
ส่วนบริหารจัดการน้ำ


ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553