ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์กลุ่มงานจัดสรรน้ำ  /
   

การศึกษาเกณฑ์การควบคุมน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยน้ำห้วยหลวง จ.อุดรธานี

            1. ขอบเขตและเงื่อนไขในการศึกษา
        - การศึกษาครั้งนี้จะวิเคราะห์ในสภาวะปัจจุบัน ซึ่งยังไม่มีการปรับปรุงเขื่อน เพื่อเพิ่มความจุในการกักเก็บน้ำ
        - ในการศึกษาครั้งนี้จะพิจารณาการใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำทั้ง2 ด้าน คือ การควบคุมสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ และการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยยอมให้มีความถี่ในการเกิดสภาวะน้ำล้นอ่างและน้ำแล้ง ในเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 20 ของระยะเวลาการศึกษาทั้งนี้จะพิจารณาถึงขนาดหรือปริมาณตลอดจนระยะเวลาการขาดแคลนน้ำและน้ำล้นอ่างฯด้วย ถึงแม้ว่าความถี่การเกิดจะอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับ
        - ในกรณีที่ผลการศึกษามีสภาวะล้นอ่างฯ จะพิจารณาถึงความจุด้านท้ายน้ำ ที่มีความสามารถในการรองรับน้ำหลากได้ในเกณฑ์ 70 ลบ./วิ. และพิจารณาถึงความลึกตลอดจนระยะเวลาของสภาวะน้ำท่วม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ปริมาณน้ำที่ระบายจากอ่างฯ เกิดผลกระทบต่อน้ำท่วมพื้นที่ท้ายน้ำ
        - ในการศึกษาด้านการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ของอ่างฯ จะทำการศึกษาวิเคราะห์โดยอาศัยวิธีการ Flood Routing โดยใช้ข้อมูลสภาวะน้ำไหลลงอ่างฯ หรือ Flood Hydrograph ของปี 2544 ซึ่งเกิดในเดือนสิงหาคม ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้านสถิติพบว่าเป็น Flood ที่รอบการเกิด 500 ปี

            2. สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
        จากการศึกษาสมดุลน้ำในอ่างห้วยหลวง พบว่า แนวทางการกักเก็บน้ำในอ่างห้วยหลวง สามารถจะกำหนดเกณฑ์การกักเก็บน้ำ (Operating Rule Curve) และสามารถศึกษาได้ดังนี้
        2.1 การบริหารจัดการน้ำช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือน กรกฎาคม-กลางกันยายน ควรบริหารจัดการน้ำในลักษณะพร่องน้ำ เพื่อรองรับสภาพน้ำกลากจากพื้นที่ต้นน้ำ เนื่องจากเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยเฉลี่ยจะมีน้ำไหลลงอ่าง รวมกันประมาณ 90 ล้าน ลบ.ม. และเดือนกันยายนจะมีน้ำไหลลงอ่างมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 60 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม จะมีน้ำไหลลงอ่างไม่มากเฉลี่ยเพียงเดือนละประมาณ 5 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้นในสภาพน้ำของปีปกติ ช่วงตั้งแต่เดือนกันยายนควรเร่งกักเก็บน้ำ โดยมีเป้าหมายให้มีน้ำเต็มอ่างที่ระดับเก็บกัก เมื่อถึงสิ้นเดือนตุลาคมของทุกปี
        2.2 การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนจะทำให้ระดับน้ำในอ่างฯ เพิ่มขึ้นโดยลำดับตามเกณฑ์ จนเมื่อสิ้นเดือนตุลาคม ให้มีน้ำเต็มอ่างฯ ที่ระดับเก็บกักน้ำ +201.00 เมตร(รทก.) ซึ่งมีความจุน้ำในอ่าง 118 ล้าน ลบ.ม. เพื่อให้มีน้ำสนับสนุนกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆได้เต็มศักยภาพ
        2.3 การบริหารจัดการน้ำช่วงกลางฤดูแล้งตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป ควรใช้น้ำตามแผนการใช้น้ำให้สอดคล้องกับศักยภาพที่มีอยู่ในแต่ละปี แต่ไม่ควรต่ำกว่าระดับควบคุมที่กำหนดในแต่ละเดือนเพราะจะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำในเดือนต่อๆไปได้
        2.4 ผลจากการศึกษา Flood Routing ช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ +197.00 ถึง + 198.00 เมตร (รทก.) ในกรณีที่มีน้ำไหลหลากลงอ่างฯ ดังเช่น ปี 2544 (ประมาณรอบ 500 ปี) การระบายน้ำจากอ่างเพื่อรองรับน้ำหลาก ควรระบายน้ำในเกณฑ์ 70 ถึง 80 ลบ.ม./วินาที
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านท้ายน้ำอย่างรุนแรง ถ้าไม่มีการปรับระดับบานระบายของอาคารระบายน้ำ ระดับน้ำในอ่างจะเพิ่มระดับ ทำให้อัตราการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้นตามความสูงของน้ำในอ่างฯ โดยเพิ่มเป็นประมาณ 120 ลบ.ม./วินาที และจะทำให้มีน้ำเต็มที่ระดับเก็บกัก + 201.00 เมตร(รทก.) เมื่อหมดพายุฝนทั้งนี้ต้องไม่มีฝนตกหนักต่อเนื่องลงมาเพิ่มอีกและผู้บริหารโครงการต้องติดตามสภาพของพายุฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับการระบายน้ำหลังฤดูฝน
        2.5 ในอดีตการใช้น้ำช่วงฤดูแล้งจากอ่างฯ ห้วยหลวงจะอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 70 ล้านลบ.ม.
และจากเกณฑ์การบริหารน้ำในอ่างฯที่ทีน้ำเต็มอ่างฯ ในช่วงสิ้นฤดูฝนหนัก ดังนั้น โครงการห้วยหลวง ควรพิจารณาการบริหารการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ในแต่ละปีโดยเป้าหมายเมื่อสิ้นฤดูแล้งควรมีน้ำเหลือในอ่างไม่น้อยกว่า 28 ล้าน ลบ.ม. เพื่อทำให้น้ำที่เก็บกักไว้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์l^’l6f
        6.6 การใช้งานเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำ หรือ Rule Curve ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาควบคุมน้ำในอ่างฯ อย่างเหมาะสมด้วย นอกจากนั้น ควรมีการศึกษาทบทวนเป็นระยะๆเพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ Inflow ความต้องการใช้น้ำ ศักยภาพการระบายน้ำของลำน้ำด้านท้ายอ่างฯ ตลอดจนแนวทาง หรือวิธีการบริหารจัดการน้ำ

 

   
Web RID


นายสมจิต อำนาจศาล


กรมชลประทาน
สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
ส่วนบริหารจัดการน้ำ


ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553