ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์กลุ่มงานจัดสรรน้ำ  /
   
การศึกษาเกณฑ์การควบคุมน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยน้ำใส

Reservoir Rule Curve Study of Huay Prong Dam

 

บทคัดย่อ

 

        การศึกษาเกณฑ์การควบคุมน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส อ.ชะอวด จ. นครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารน้ำในอ่างเก็บน้ำที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยให้มีความสอดคล้องกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและความใช้น้ำของกิจกรรมต่างๆทางด้านท้ายน้ำ ให้มีความเสี่ยงต่อการเกอดการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งและมีสภาพน้ำล้นอ่างเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนน้อยที่สุด
วิธีการศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือในกรณีที่ 1 คิดพื้นที่ในชลประทานในปัจจุบัน และกรณีที่ 2 คิดพื้นที่ชลประทานจากการขยายพื้นที่หลังจากมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยน้ำใส ในแต่ละกรณีได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนในการศึกษาหาความต้องการน้ำและขั้นตอนในการศึกษาสมดุลของน้ำในอ่างเก็บน้ำจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลที่จัดเก็บรวมไว้ทั้งหมด 19 ปี นำมาคำนวณหาเกณฑ์การกักเก็บน้ำที่เหมาะสมที่สุด ในการศึกษาจะมีการวิเคราะห์และปรับแก้กรณีศึกษาต่างๆตามที่ได้ตั้งสมมุติฐานไว้
ผลจากการศึกษาในกรณีที่ 1 จากการปรับระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเพื่อให้ได้ค่าระดับน้ำที่เหมาะสมต่อความต้องการใช้น้ำในปัจจุบัน ในกรณีศึกษาต้องการระดับเก็บกักน้ำที่สามารถจะรองรับปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำและป้องกันน้ำล้นอ่างเก็บน้ำที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูน้ำหลาก จึงควรกำหนดให้มีการระบายน้ำพร่องอ่างเก็บน้ำในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน เพื่อที่จะรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำในเดือนพฤศจิกายน และต้นเดือนธันวาคม ส่วนเกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุดนั้น เนื่องจากความต้องการน้ำก่อนการสร้างอ่างเก็บน้ำยังไม่มีมากนัก จึงได้เกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุดจากการปรับระดับให้สอดคล้องกับเกณฑ์เก็บกักน้ำสูงสุด โดยให้มีการใช้น้ำได้มากในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำให้สูงในช่วงฤดูแล้ง และยอมให้มีการใช้น้ำมากที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
ในกรณีที่ 2 ความต้องการน้ำจากพื้นที่ชลประทานที่ใช้ขยายออกจนเต็มพื้นที่ มีค่าความต้องการในช่วงฤดูฝนประมาร 63 ล้าน ม. พื้นที่เพาะปลูกจะเพิ่มขึ้นตามการขยายเพิ่มพื้นที่ในโครงการฯเฉพาะในช่วงฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งจะกำหนดให้มีการพะปลูกโดยเฉลี่ยเช่นเดียวกับสภาพปัจจุบัน ในการกำหนดเกณฑ์เก็บกักน้ำสูงสุดจำเป็นต้องปรับระดับให้สูงขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง แต่ยังคงต้องมีการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำในช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายนเพื่อป้องกันน้ำล้นอ่างเก็บน้ำอยู่เช่นเดิม ส่วนเกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุดก็ต้องเปลี่ยนจากกรณีที่ 1 ด้วยเช่นกัน โดยยอมให้มีการใช้น้ำตามความต้องการน้ำที่เพิ่มมากขึ้น
จากการศึกษาได้กักเก็บน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) และเกณฑ์กักเก็บน้ำต่ำสุด (Lower Rule Curve) เป็นรายเดือนไว้ดังนี้

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
กรณี เกณฑ์เก็บกัก ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
1 สูงสุด 80.0 80.0 80.0 75.7 70.8 67.1 62.7 58.7 57.6 60 70.2 80.0
ต่ำสุด 27.8 27.8 27.8 25.0 22.3 19.5 16.2 14.2 12.2 14.9 21.8 27.8
2 สูงสุด 80.0 80.0 80.0 77.7 76.0 73.4 70.8 68.4 69.4 72.8 77.2 80.0
ต่ำสุด 27.8 27.8 27.8 24.0 21.1 17.9 13.9 9.5 5.0 5.0 16.2 27.8

 

   
Web RID


นายสมจิต อำนาจศาล


กรมชลประทาน
สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
ส่วนบริหารจัดการน้ำ


ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553