การศึกษาเกณฑ์การควบคุมระดับน้ำในเขื่อนปราณบุรี |
Reservoir Rule Curve Study of Pran Buri Dam |
บทคัดย่อ
การศึกษาเกณฑ์การควบคุมระดับน้ำในเขื่อนปราณบุรี อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับเก็บกักน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีความสอดคล้องกับปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ และความต้องการใช้น้ำทั้งในเกณฑ์น้ำมาก เกณฑ์น้ำน้อย โดยกิจกรรมด้านการเกษตรซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โดยไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำหรือมีการเก็บกักน้ำในอ่างฯมากจนเกิดความเสี่ยงต่อการระบายน้ำไปท่วมพื้นที่ด้านท้ายน้ำของอ่างฯ เมื่อมีสภาวะน้ำหลากเกิดขึ้น
วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนแรกเป็ฯการศึกษาถึงความต้องการใช้น้ำจากอ่างฯเพื่อกิจกรรมต่างๆ เช่น ปริมาณการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ปริมาณการใช้น้ำต่ำสุดด้านท้ายน้ำ ฯลฯ (Minimum Constrain) โดยอาศัยข้อมูลจากสถิติการจัดการน้ำในอ่างฯ แผนการปลูกพืชของโครงการฯ และน้ำฝนจากสถานีตรวจวัดน้ำฝนที่คัดเลือก ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนในการนำค่าปริมาณน้ำที่ได้จากการวิเคราะห์จากขั้นตอนแรก และปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ รายเดือนที่ได้มีการจัดเก็บสถิติ 18 ปี มาวิเคราะห์สมดุลย์ของน้ำในอ่างฯ (Water Balance Study) โดยอาศัยโปรแกรม HEC-3 ในการศึกษาจะกำหนดระดับกักเก็บน้ำในอ่างฯเป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย 1. Bottom of Conservation 2. Top of Buffer 3. Top of Conservation 4. Top of Flood control โดยอาศัยโค้งระดับน้ำ - พื้นที่ผิวน้ำ - ปริมาณเก็บกักของอ่างฯ ในการศึกษาจะมีการวิเคราะห์กรณีศึกษาต่างๆ ที่ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ และมีการปรับระดับน้ำในอ่างฯเพื่อให้ได้ีระดับที่เหมาะสม
ผลการศึกษาปรับระดับกักเก็บในอ่างเก็บน้ำเขื่อนปราณบุรี พบว่าการกำหนดเกณฑ์การเก็บกักสูงสุด (Upper Rule Curve) ในฤดูแล้งควรกำหนดไว้เกณฑ์ค่อนข้างสูง แต่ไม่ควรจะตั้งไว้สูงมากจนเกินไป เพราะถ้ามีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯมาก จะมีการระบายออกท้ายอ่างฯจนทำให้เกิดสภาวะต่อพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำได้ การเก็บกักในฤดูฝน ควรจะกำหนดไว้ระดับค่อนข้างต่ำ เพื่อที่ระรองรับน้ำฝน และน้ำท่าที่จะไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ แต่ไม่ควรกำหนดให้ต่ำจนเกินไป เพราะจะทำให้มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอในการรองรับความต้องการในช่วงฤดูแล้ง ส่วนการกำหนดเกณฑ์กำหนดน้ำต่าสุด (Lower Rule Curve) ใช้หลักในการปรับระดับให้มีความเหมาะสมโดยการกำหนดระดับให้สอดคล้องตามเกณฑ์การเก็บกักน้ำสูงสุด ให้มีการใช้น้ำได้มากในช่วงฤดูฝน และเก็บกักให้สูงในต้นฤดูแล้ง และในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ยอมให้มีการใช้น้ำได้มากที่สุด แต่จะต้องเหลือไว้อุปโภคบริโภคไว้ประมาณวันละ 2 มบ.ม/วินาที จึงยอมให้น้ำในอ่างฯได้ต่ำสุด 100 ล้าน ลบ.ม. สำหรับในฤดูแล้งจากการคำนวณหาความต้องการน้ำมีค่าประมาณ 100 ล้าน ลบ.ม. เมื่อรวมกับความต้องการน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค จึงกำหนดไว้ที่ 200 ล้าน ลบ.ม. เมื่อสิ้นฤดูฝนจากนั้นจะรักษาระดับน้ำมนอ่างฯไปจนถึงเดือนมิถุนายน ที่ระดับต่ำสุดคือ 100 ล้าน ลบ.ม. จากการศึกษาได้กำหนดระดับเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) และระดับน้ำต่ำสุด (Lower Rule Curve) เป็นรายเดือนไว้ดังนี้
หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
เกณฑ์เก็บกักน้ำ |
ม.ค. |
ก.พ. |
มี.ค. |
เม.ย. |
พ.ค. |
มิ.ย. |
ก.ค. |
ส.ค. |
ก.ย. |
ต.ค. |
พ.ย. |
ธ.ค. |
สูงสุด |
390 |
355 |
345 |
320 |
290 |
278 |
260 |
290 |
320 |
390 |
440 |
440 |
ต่ำสุด |
180 |
160 |
110 |
110 |
100 |
100 |
125 |
165 |
200 |
200 |
200 |
200 |
กราฟเกณฑ์การควบคุมระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนปราณบุรี |