กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขที่ 811 ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพ 10300

โครงการน้ำแก้จน
โดยการพัฒนาโครงการข่ายน้ำและการเกษตรแบบบูรณาการ

          ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการทำการเกาตรให้ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพ แต่ด้วยปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินและส่งผลกระทบโดยตรงต่อพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานซึ่งไม่มีระบบคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำ เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจึงได้รับผลกระทบโดยตรงทำให้มีฐานะยากจน รัฐบาลภายใต้การดำเนินการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจึงได้ประกาศวาระแห่งชาติ จะขจัดความยากจนให้หมดไปจากประเทศไทย ภายใน 6 ปี
          จากกการแถลงนโยบาย ด้านการเกษตรต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 สรุปว่า จะให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการทรัพยาการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่และสอดคล้องกับระบบการผลิต
          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดยุทธศาสตรืเพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจน โดยการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตร
          จากข้อมูลทางสถิติพบว่า เกษตรกรที่ทำการเกษตรในพื้นที่ที่น้ำชลประทาน มีรายได้มากกว่าพื้นที่ที่ไม่มีระบบชลประทานถึง 3-4 เท่า แต่ในปปัจจุบันพื้นที่ถือครองทางการเกษตรของประเทศทั้งหมด 131 ล้านไร่ มีเพียงประมาณ 22 ล้านไร่เท่านั้น ที่มีน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำจัดสรรให้ปีละ 59,900 ล้านลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นยังคงมีพื้นที่อีด 109 ล้านไร่ที่ยังต้องการน้ำและระบบชลประทานเพื่อทำการเกษตร การอุปโภคบริโภคและการใช้น้ำด้านอื่นๆ
          การพัฒนาระบบชลประทาน อันได้แก่ การกักกเก็บน้ำ การกระจายน้ำ และการระบายน้ำ ถือเป็นภารกิจหลักที่กรมชลประทานมุ่งมั่นดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมและจัดทำระบบชลประทานให้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยขจัดความยากจนของเกษตรกรได้ และยังคงเป็นการเสริมศักยภาพในการทำให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลกได้เป็นอย่างดี
          ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการพัฒนาโครงข่ายน้ำและการเกษตรแบบบูณณาการ ภายใต้โครงการ"น้ำแก้จน"ประกอบด้วย การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมและแก้มลิงธรรมชาติ ให้สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มศักยภาพ การขุดสระน้ำ เก็บน้ำให้กับหมู่บ้านจำนวน 25,000 แห่ง สร้างระบบโครงข่ายเชื่อมโยงน้ำจาดแหล่งน้ำที่มีมากไปยังลำน้ำหรือแหล่งเก็บกักน้ำมีน้อยอย่างเป็นระบบ และการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการผลิต
          นอกจากนั้น ยังมีมตรการในการบริหารจัดการที่นำไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจักการแหล่ง และการกระจายน้ำ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน และระบบส่งน้ำของกรมชลประทาน สำหรับใช้ในการสูบน้ำตามโครงข่ายน้ำ ที่มีข้อจำกัดจากสภาพภูมิประเทศ ซึ่งจะช่วยลดภาระของรัฐและเกษตรกรได้โดยตรง
          ที่สำคัญ ต้องมีการแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และปริมาณน้ำต้นทุนจากระบบชลประทาน โดยสามารถจัดพื้นที่การเกษตรเป็น 3 ประทศ คือพื้นที่ชลประทานที่มีระบบที่สมบูรณื เพิ่มจาก 22 ล้านไร่ เป้น 33 ล้านไร่ พื้นที่ชลประทานที่เหมาะสมกับพืชที่ใช้น้ำน้อย 25 ล้านไร่ พื้นที่ทำการเกษตรแบบยังชีพและการอุปโภคบริโภค 73 ล้านไร่

ลักษณะและความก้าวหน้าโครงการน้ำแก้จน

ลักษณะโครงการ
     โครงกาน้ำแก้จนเป็นโครงการที่มุ่งหวังการพัฒนาและบริหารการใช้ประโยชน์จากน้ำ และป้องกันภัยธรรมชาติที่เกิดจากน้ำให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ซึ่งมีเป้าหมายรวมเพื่อให้เกษตรกรมีความมั่งคั่งและมั่นคง

เป้าหมายโครงการ
  • เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอและทั่วถึง
  • เพื่อให้การใช้น้ำเกิดประโยชน์สูงสุดในทุกๆด้าน
  • เพื่อให้ได้ผลผลิตด้านการเกษตรกรรมและรายได้ของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น
  • เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาการใช้และเกษตรกรรมแบบบูรณาการ

  • องค์ประกอบของโครงการ
  • โครงสร้างพื้นฐาน(Hardware)
  •      1.1 แหล่งเก็บกักน้ำ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำทุกขนาด จนถึงสระน้ำชุมชน
         1.2 ระบบส่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำ คลอง หรือท่อ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีแหล่งกักเก็บน้ำอยู่แล้วเพื่อส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตร และอื่นๆ
         1.3 การพัฒนาระดับแปลงนา ได้แก่ คัน-คูน้ำ และการจัดรูปที่ดิน
         1.4 ระบบระบายน้ำ ได้แก่ แม่น้ำ ลำห้วย และลำคลอง เพื่อระบายน้ำจากพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ชุมชนอื่นๆ เพื่อป้องกันบรรเทาน้ำท่วม
         1.5 ไฟฟ้าพลังน้ำจาดเขื่อนและระบบชลประทาน เพื่อนำพลังงานที่ได้ไปใช้ในการสูบน้ำผ่านระบบท่อขึ้นพื้นที่สูง
         1.6 โครงข่ายน้ำ ได้แก่ แม่น้ำ ลำห้วย ลำคลอง หรือเป็นระบบท่อ เพื่อเชื่อมระหว่างแหล่งน้ำที่มีน้ำมากกับแหล่งเก็บกักน้ำหรือพื้นที่ที่ต้องการน้ำ
         เป้าหมาย
         * เพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บอีก 20,500 ล้านลูกบาศก์เมตร
         * เพิ่มพื้นที่ชลประทานอีก 11 ล้านไร่ และพื้นที่รับประโยชน์ 25 ล้านไร่ พื้นที่ได้รับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและเกษตรยังชีพอีก 73 ล้านไร่
         * เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำอีกร้อยละ12
         * ลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

  • การจัดการ(Software)
  •      2.1 การจัดสรรน้ำและควบคุมน้ำตลอดเวลา เช่น การกำหนดเกณฑ์การควบคุมน้ำในอ่างเก็บน้ำ การบันทึกระดับน้ำแบบอัตโนมัติ เป็นต้น
         2.2 การบำรุงรักษาระบบชลประทานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้อาคารมีประสิทธิภาพ
         2.3 การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การชลประทานระบบท่อ การใช้ระบบโทรมาตร และระบบ ณธ เพิ่มขึ้น
         2.4 ปรับปรุงวิธีการและวางแผนการให้น้ำเพื่อการเกษตรแบบบูรณาการ
         เป้าหมาย
          * ประหยัดน้ำ
         * ประหยัดงบประมาณ ทั้งเจ้าหน้าที่และการบำรุงรักษาในระยะยาว
         * เพิ่มผลการผลิต
  • ผู้ดำเนินการ(Human ware)
         3.1 กรมชลประทาน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำ
         3.2 กรมพัฒนาที่ดิน ได้แก่ การบริหารแหล่งน้ำในระดับแปลงนาและการบริหารดิน
         3.3
    กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ การจัดพันธุ์พืชที่เหมาะสม
         3.4 กรมส่งเสริมสหกรณ์ บริหารสหกรณ์ผู้ใช้น้ำ/สหกรณ์การเกษตร
         3.5 เอกชน หรือกลุ่มผู้ใช้น้ำ ร่วมกันบริหารทรัพยากรการผลิตภาครัฐ
         เป้าหมาย
         * การมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานและผู้ได้รับผลกระทบ
         * การใช้ประโยชน์จากปัจจัยการผลิตพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ
         แผนการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
         ระยะแรก เป็นการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักของโครงการพัฒนาโครงข่ายน้ำฯ โดยการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านแหล่งเก็บกักน้ำด้านการเกษตร ความต้องการน้ำทั้งหมดในทุกๆ ด้านกำหนดจุดก่อสร้างสระน้ำ วางระบบโครงข่ายน้ำ จัดลำดับความสำคัญของโครงการ รูปแบบการทำเกษตรกรรมแบบบูรณาการและกำหนดโซนนิ่ง(Zoning) การใช้พื้นที่การเกษตร ค่าลงทุนและวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักและพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนและระบบชลประทาน ระยะเวลา 6 เดือน
         ระยะที่ 2 ศึกษาในรายละเอียดเป็นโครงการ เพื่อให้ได้แบบวิศวกรรมที่มีความพร้อมจะนำไปก่อสร้างได้ แนวทางการบริหารโครงการและผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไข ใช้เวลาการศึกษา 24 เดือน ในขณะเดียวกันโครงการที่มีความพร้อมจากผลที่ได้จากการศึกษาแผนหลัก ก็สามารถก่อสร้างไปพร้อมกันได้
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ
         โครงการพัฒนาโครงข่ายน้ำ จะต้องมีการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีปริมาณน้ำสมดุลกับความต้องการด้านการเกษตรและอื่นๆ ทั้งหมด โดยในปัจจุบันงานพัฒนาแหล่งน้ำที่กรมชลประทานดำเนินการอยู่ในขณะนี้ หากดำเนินการตามปกติแล้ส คาดว่าอีก 2 0 ปีข้างหน้าจะมีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านไร่ และถ้าจะให้มีพื้นที่ชลประทานเป็น 58 ล้านไร่ ตามเป้าหมายของโครงการ คงต้องใช้เวลามากกว่า 50 ปี แต่จากโครงการฯ นี้ หากสามารถดำเนินการต่อไปได้ จะทำให้การพัฒนาพื้นที่ชลประทานได้เร็วกว่าเดิม อาจใช้เวลาไม่เกิน 20 ปี ที่จะทำให้ระบบชลประทานครอบคลุมพื้นที่เกษตรทั้งหมด
         จากผลของการดำเนินโครงการ คาดว่าจะทำให้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ปีละไม่น้อยกว่า 120,000 บาทต่อครัวเรือน จากจำนวน5.65 ล้านครัวเรือนหรือรวมทั้งหมด ปีละประมาณ 678,000 ล้านบาท อันจะนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรและส่งผลรวมไปถึงความมั่นคงทางเศรษกิจและสังคมของประเทศชาติในที่สุด