http://water.rid.go.th/news/news_57_013_files/image003.jpg    ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

          ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

          โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th/

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา :  เขื่อนใหญ่ภาคเหนือ พร้อมรับน้ำจากอิทธิพลของพายุ “คัลแมกี”

                ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(17 ก.ย. 57) ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,109 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,309 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,171 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,321 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 569 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 526 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาณน้ำ 592 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 62  ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 589 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 13,400 ล้านลูกบาศก์เมตร

               สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา(17 ก.ย.) สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 845 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(รับน้ำได้สูงสุด 3,590 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 5.59 เมตร สถานี C.13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 702  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(รับน้ำได้สูงสุด 2,840 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อน ยังต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 6.30 เมตร และที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,285 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง ประมาณ 2.52 เมตร (ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านอ.บางไทร เป็นจุดวัดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเข้าสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีความสามารถรับน้ำได้สูงสุด 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีแนวโน้มลดลง

                   สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย และยังคงมีพื้นที่รองรับน้ำได้มากพอสมควร หากได้รับอิทธิพลจากพายุ “คัลแมกี” ที่อาจจะส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ทางตอนบนได้ในระยะนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีในการเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

 

**************************************************

 

17  กันยายน  2557