การขออนุญาตขุดลอกคลองและจำหน่ายมูลดินในความครอบครอง

ของกรมชลประทาน 


  
            
   ประเภทผู้ขออนุญาตและหลักฐานประกอบการขออนุญาต
   

   กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นของรัฐ
       - คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทน กระทรวง ทบวง กรม องค์การปกครองท้องถิ่น 
         หรือผู้รับมอบอำนาจ (มีหนังสือมอบอำนาจ)
       - แบบแปลนการก่อสร้าง แผนผังบริเวณ และแผนที่รูปตัดแสดงเส้นทางก๊าซ

         (หัวหน้าส่วนราชการ ลงนามรับรองแบบ) 
    
   รัฐวิสาหกิจ
       - คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทนรัฐวิสาหกิจ หรือผู้้รับมอบอำนาจ (มีหนังสือมอบอำนาจ)
         พร้อมทั้งติดอากรแสตมป์ 30 บาท
       - แบบแปลนการก่อสร้าง แผนผังบริเวณ และแผนที่รูปตัดแสดงเส้นทางการขุดลอกคลอง
         (ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ลงนามรับรองแบบ) 
   
  นิติบุคคล/บุคคลธรรมดา 
       
 - คำร้องขอใช้ที่ดิน
       - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ลงนามรับรองสำเนา       
       - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรอง

         สำเนากรณีมีการมอบอำนาจ 
       - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา 
       - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา 
       - สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิทธิครอบครอง เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน หรืออื่นๆ

         ของผู้ขอ ณ บริเวณที่จะทำการวางท่อลงนามรับรองสำเนา
       - หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 30 บาท) ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
       - แบบแปลน แผนผังและแผนที่แนวคลองเดิมพร้อมการขุดลอกใหม่

       
                  การพิจารณาและดำเนินการ  
โครงการชลประทานเจ้าของพื้นที่  (ผอ.คป. , ผอ.คบ. และโครงการอื่นๆ) 
1. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน กรอกรายละเอียดในแบบตรวจสอบ แบบ ชป.393/8 
2. จัดทำแผนที่รูปตัด ลงนามผ่าน เห็นชอบ อนุมัติ ในกรอบแบบ 
3. ให้ความเห็นทางด้านวิศวกรรม พิจารณาปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ต่องานชลประทาน 
4. พิจารณากฎระเบียบข้อบังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5 . กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต 
6 . ส่งเรื่องให้ ผส.ชป.ให้ความยินยอม


การพิจารณาของสำนักชลประทาน
1. ผส.ชป.พิจารณาให้ความยินยอม (ตามระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหา

    ประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551 คลิ๊ก
2. กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
3. ทำหนังสือลงนามแทนกรม พร้อมเอกสารการขออนุญาตให้กรมธนารักษ์และหรือ

    ผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุญาต

                     กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
1. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 
3. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
4. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
5 .กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2549
6.ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551 
7 . หนังสือกรมธนารักษ์ ที่ กค 0407/6402 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 เรื่อง วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับดินที่ขุดได้ในที่ราชพัสดุ
8 . หนังสือกรมธนารักษ์ ที่ กค 0407/3479 ลงวันที่ 25 เมษายน 2539 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับดินที่ขุดลอก จากคลองชลประทาน
9 . หนังสือกรมธนารักษ์ ที่ กค 0407/6542 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2540 เรื่อง การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา ความเสียหายจากน้ำของกรมชลประทาน
          
                     แนวทางในการพิจารณา 


1. พิจารณาการขุดลอกจะต้องไม่กระทบต่ออาคารชลประทานต่างๆ
2. ควรให้เจ้าหน้าที่โครงการฯ เป็นผู้ควบคุมการขุดลอก เพื่อไม่ให้กระทบต่อกิจกรรม

    ชลประทานของโครงการฯ
3. ระดับความลึกของการขุดลอก ต้องเป็นไปตามแบบแปลนของโครงการฯ (ถ้ามี) 
4. แบบแปลน แผนที่รูปตัดของผู้ขออนุญาต ให้มีความสัมพันธ์กับแบบแปลน แผนที่รูปตัดและ

    ผังบริเวณของโครงการฯ ที่มีการขออนุญาต 

การออกหนังสืออนุญาต ตามพรบ.ชลประทานหลวง 2485 ให้ใช้หนังสืออนุญาตฉบับใหม่คือ ผ.ย.43 
 
(โครงการเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต)   ตัวอย่างการกรอกหนังสืออนุญาต 

                  แนวทางการขายทอดตลาดมูลดินในอ่างเก็บน้ำ   
(รายละเอียดในการดำเนินการสอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่พัสดุของสำนัก/โครงการ)

 1. วัตถุประสงค์เพื่อขายทอดตลาดมูลดินในอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน เพื่อเพิ่มความจุของ

อ่างเก็บน้ำ    ขนาดใหญ่่และขนาดกลาง ที่ตื้นเขินเนื่องจากการตกจมของตะกอนดิน โดยให้ผู้ซื้อเป็นผู้ขุดและขนย้ายมูลดิน ออกจากบริเวณที่ต้องการขายทอดตลาดมูลดิน ซึ่งโครงการชลประทานเป็นผู้กำหนดขอบเขตบริเวณการขุดลอกมูลดินเพื่อขายทอดตลาด ทั้งนี้การขายทอดตลาดมูลดิน  ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 ส่วนที่ 3 การจำหน่าย ข้อ 157
2.  การกำหนดขอบเขตการขุดลอกมูลดินเพื่อขายทอดตลาด จะต้องไม่มีผลกระทบต่อเขื่อน โดยควรกำหนดขอบเขต    ที่จะขุดลอกมูลดิน เพื่อขายทอดตลาด ห่างจากแนวเริ่มต้นของลาดด้านเหนือน้ำของตัวเขื่อนไม่น้อยกว่า 200 เมตร   ในกรณีที่อ่างเก็บน้ำมีวัสดุทึบน้ำ ที่ปูดาดทับ ผิวหน้าของเขื่อนดินด้านเหนือน้ำ (Blanket,upstream)  ควรกำหนดขอบเขตที่จะขุดลอกมูลดินเพื่อขายทอดตลาดห่างจากแนว Blanket ไม่น้อยกว่า 100 เมตร
3. โครงการชลประทานจังหวัดหรือโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เสนอเรื่องขออนุมัติในหลักการการขายทอดตลาดมูลดิน  พร้อมขออนุมัติแต่งตั้ง คณะกรรมการ
    3.1 คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง (หน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง กำหนดขอบเขตบริเวณที่จะ   ขุดลอก และประเมินราคากลาง)
    3.2 คณะกรรมการขายทอดตลาด
    3.3 คณะกรรมการส่งมอบมูลดิน
         ทั้งนี้ โดย ผส.ชป.เป็นผู้อนุมัติ
4. โครงการชลประทานจังหวัด หรือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ทำหนังสือขออนุญาตการขายทอดตลาดมูลดินในอ่างเก็บน้ำ เรียนธนารักษ์จังหวัด ในกรณีพื้นที่อ่างเก็บน้ำเป็นที่ราชพัสดุ ส่วนกรณี    ที่พื้นที่มิใช่ที่ราชพัสดุ ให้ไปขออนุญาตต่อส่วนราชการที่ควบคุมดูแลพื้นที่ นั้นๆ 
5. การประเมินราคากลาง ของมูลดิน ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการพิจารณาจาก
    5.1 การขอทราบราคามูลดิน จากธนารักษ์จังหวัดและราคาซื้อขายมูลดินของหน่วยงานราชการในจังหวัด
    5.2 บันทึกราคาขายมูลดินปัจจุบันจากผู้ขายมูลดินจากบ่อดินบริเวณใกล้เคียง
    5.3 บันทึกราคามูลดินปัจจุบันจากพ่อค้ามูลดิน บริเวณใกล้เคียง
6. ประกาศคณะกรรมการขายทอดตลาดมูลดิน ตามแบบ พด.57 ลงนามโดยประธานคณะกรรมการขายทอดตลาด 
    พร้อมเงื่อนไขการขายทอดตลาด  ทั้งนี้ขอให้ระบุผู้สู้ราคาสูงสุดต้องขุดและขนย้ายมูลดินออกจากบริเวณขาย
    ทอดตลาดมูลดิน ภายในเวลาที่กำหนด (ข้อ 8) เงื่อนไขการขายทอดตลาด ลงนามโดยหัวหน้าพัสดุโครงการ
    และประทับตรากรมชลประทาน
7. ดำเนินการขายทอดตลาด โดยใช้แบบเปรียบเทียบราคา (พด.16) เกณฑ์การตัดสิน ตัดสินที่ผู้สู้ราคาสูงสุด
    และผู้สู้ราคาสูงสุดจะต้องวางเงินมัดจำ ทันที 50% ของราคารวมที่เสนอ
8. คณะกรรมการขายทอดตลาด จัดทำรายงานผลการขายทอดตลาด เสนอ ผส.ชป. ผ่าน ชคบ. หรือ ชคป.  เพื่ออนุมัติรับราคา ตามคำสั่งกรมชลประทาน เรื่องมอบอำนาจในการดำเนินการงานด้านพัสดุให้แก่ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมชลประทาน ในเรื่องให้มีอำนาจอนุมัติการขายแลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ หรือทำลายพัสดุ ที่จำหน่าย รวมทั้งสั่งการให้เป็นไปตามวิธีการจำหน่ายพัสดุสำหรับงานในสังกัดแทนกรม

 

หมายเหตุ  กรณีทางน้ำธรรมชาติ ประกาศเป็นทางน้ำชลประทาน จะต้องได้รับอนุญาตจาก

ฝ่ายปกครองท้องที่ ตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และกรมขนส่งทางน้ำและ

พาณิชยนาวี ตาม พรบ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456