การขออนุญาตฝังท่อส่งน้ำและระบายน้ำ 
ประเภทผู้ขออนุญาตและหลักฐานประกอบการขออนุญาต
กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นของรัฐ
- คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้รับมอบอำนาจ (มีหนังสือมอบอำนาจ)
- แบบแปลน แผนผังและแผนที่ (หัวหน้าส่วนราชการลงนามรับรองแบบ)
- หนังสือยินยอมให้วางท่อผ่านที่ดินของบุคคลอื่น (ถ้ามี)
- แจ้งปริมาณน้ำที่ขอใช้ และพื้นที่ใช้น้ำ หรือแจ้งปริมาณน้ำที่ระบายลงคลองชลประทาน
- แบบแปลน แผนผัง ระบบบำบัดน้ำเสีย และรายละเอียดคุณภาพน้ำ
รัฐวิสาหกิจ
- คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทนของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้รับมอบอำนาจ
- แบบแปลน แผนผังหรือแผนที่ (ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจลงนามรับรองแบบ)
- หนังสือยินยอมให้วางท่อผ่านที่ดินของบุคคลอื่น (ถ้ามี)
- แจ้งปริมาณน้ำที่ขอใช้ และพื้นที่ใช้น้ำ หรือแจ้งปริมาณน้ำที่ระบายลงคลองชลประทาน
- แบบแปลน แผนผัง ระบบบำบัดน้ำเสีย และรายละเอียดคุณภาพน้ำ
นิติบุคคล/บุคคลธรรมดา
- คำร้องขอใช้ที่ดิน
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เืดือน ลงนามรับรองสำเนา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา
- สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิทธิครอบครอง เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน หรืออื่นๆ ของผู้ขอ
ณ บริเวณก่อสร้าง ลงนามรับรองสำเนา
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ (ถ้ามี)
- หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 30 บาท) ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่น
- แบบแปลน แผนผังและแผนที่ โดยมีวิศวกรลงนามรับรอง (ใช้เฉพาะกรมชลประทาน)
- รายการคำนวณโครงสร้างและหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ออกแบบและคำนวณ พร้อมสำเนาใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ลงนามรับรองสำเนา) เฉพาะกรณีที่เป็นงานอยู่ในประเภทและขนาดของงานวิศวกรรมควบคุม
- หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ควบคุมการก่อสร้าง พร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ลงนามรับรองสำเนา
การพิจารณาและดำเนินการ
โครงการชลประทานเจ้าของพื้นที่ (ผอ.คป. , ผอ.คบ. และโครงการอื่นๆ)
1. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน กรอกรายละเอียดในแบบตรวจสอบ แบบ ชป.393/4
2. จัดทำแผนที่รูปตัด ลงนามผ่าน เห็นชอบ อนุมัติ ในกรอบแบบ
3. ให้ความเห็นทางด้านวิศวกรรม พิจารณาปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ต่องานชลประทาน
4. พิจารณากฎระเบียบข้อบังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5 . กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
6 . ส่งเรื่องให้ ผส.ชป.ให้ความยินยอม
การพิจารณาของสำนักชลประทาน
1. ผส.ชป.พิจารณาให้ความยินยอม (ตามระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ
ในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551 คลิ๊ก) 
2. กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
3 . ทำหนังสือลงนามแทนกรมฯ พร้อมเอกสารการขออนุญาตให้กรมธนารักษ์และหรือผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุญาต
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
1. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518
3. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับ ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
4. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับ ที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
5 . กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับ ที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2549
6. ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุในความครอบครอง ของ กรมชลประทาน พ.ศ.2551
7 . คำสั่งกรมชลประทาน ที่ 883/2532 เรื่อง การป้องกันและการแก้ไขการระบายน้ำที่มีคุณภาพต่ำ ลงทางน้ำชลประทาน และทางน้ำที่ต่อเชื่อมกับทางน้ำชลประทานในเขตพื้นที่โครงการชลประทาน ยกเลิก คำสั่งกรมชลประทาน ที่ 73/2554
8. หลักเกณฑ์การป้องกันและแก้ไขการระบายน้ำที่มีคุณภาพต่ำลงทางน้ำชลประทาน
9. มาตรฐานคุณภาพน้ำืทิ้งในทางน้ำชลประทาน
10. แบบหนังสือของโครงการแจ้งระงับการระบายน้ำเสีย (กรณีที่ได้รับอนุญาตจากกรมชลประทาน)
11. แบบหนังสือของโครงการแจ้งให้ระงับและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ (กรณีไม่ได้รับอนุญาตจากกรมชลประทาน)
12. คู่มือปฏิบัติการใช้แบบหนังสือแจ้งให้ระงับและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและ/หรือระงับการระบายน้ำ (กรณีไม่ได้รับอนุญาตจากกรมชลประทาน)
13. บัญชีระบายน้ำลงทางน้ำชลประทาน
แนวทางในการพิจารณา 
1. ตรวจสอบประเภทคลองชลประทานที่มีการระบายน้ำเสียลง
2. ถ้าเป็นคลองชลประทานประเภทที่ 1 โดยในหลักการจะไม่อนุญาตให้มีการระบายน้ำเสีย
3. พิจารณาผังขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์ของโรงงานเพื่อตรวจสอบของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต
4. พิจารณาผังขั้นตอนการดำเนินการบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมและหรือโครงการ
(อื่นๆ)
ว่ามีประสิทธิภาพที่จะบำบัดน้ำเสียหรือไม่
5. พิจารณาแบบแปลนของระบบบำบัดน้ำเสีย และขนาดของท่อระบายว่ามีความสามารถในการบำบัด น้ำเสียและระบายน้ำลงคลองชลประทานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
6. พิจารณาจากผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากการที่ส่งตัวอย่างน้ำเสียไปให้สำนักวิจัยฯ (หรือLAP เอกชนที่ได้
การรับรองจากหน่วยงานรัฐบาล) ตรวจสอบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมชลประทาน(ตามเอกสารที่แนบ)
หรือไม่
7. อาคารควบคุมน้ำทิ้งควรที่จะก่อสร้างในเขตชลประทาน หรือแนวหลักเขตที่ดินของราษฎรเป็นหลัก
เพื่อที่จะสะดวกในการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่โครงการฯ
8. การก่อสร้างอาคารควบคุมน้ำทิ้งควรเป็นไปตามมาตรฐานของกรมชลประทาน
9. หนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการในท้องถิ่นว่าน้ำที่ระบายลงมาไม่ได้สร้างความเดือดร้อน ให้กับชุมชน
10. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตต้องมีการวางแนวท่อระบายผ่านเขตชลประทาน ให้ยึดหลักเกณฑ์แนวเดียว กับการขออนุญาตวางท่อประปา
11.แบบแปลน แผนที่รูปตัดของผู้ขออนุญาต ให้มีความสัมพันธ์กับแบบแปลน แผนที่รูปตัดและ ผังบริเวณของโครงการ ฯ ที่มีการขออนุญาต
การออกหนังสืออนุญาต ตามพรบ.ชลประทานหลวง 2485 ให้ใช้หนังสืออนุญาตฉบับใหม่คือ ผ ย.42
(โครงการเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต) กรณี การต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ใช้แบบ ผ ย.55
ระยะเวลาการอนุญาต กำหนดตามความเหมาะสมและความจำเป็น แต่ละครั้งไม่เกิน 5 ปี
เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาจกำหนดระยะเวลาอนุญาต 2 ปี
ตัวอย่างการกรอกหนังสืออนุญาต
หมายเหตุ กรณีทางน้ำธรรมชาติ ประกาศเป็นทางน้ำชลประทาน จะต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายปกครองท้องที่
ตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ตาม พรบ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456
|