การขออนุญาตใช้น้ำ,ตั้งโรงสูบน้ำ,วางท่อส่งน้ำดิบ,วางท่อประปา


ประเภทผู้ขออนุญาตและหลักฐานประกอบการขออนุญาต
   กระทรวง ทบวง กรม องค์การปกครองท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นของรัฐ 
       - คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทน กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือผู้รับมอบอำนาจ (มีหนังสือมอบอำนาจ) 
       - แบบแปลน แผนผังและแผนที่ (หัวหน้าส่วนราชการลงนามรับรองแบบ) 
       - หนังสือยินยอมให้วางท่อผ่านที่ดินของบุคคลอื่น (ถ้ามี) 
    
   รัฐวิสาหกิจ
       - คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทนรัฐวิสาหกิจ หรือผู้รับมอบอำนาจ (มีหนังสือมอบอำนาจ) 
       - แบบแปลน แผนผังและแผนที่ (ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจลงนามรับรองแบบ) 
       - หนังสือยินยอมให้วางท่อผ่านที่ดินของบุคคลอื่น (ถ้ามี) 
   
  นิติบุคคล/บุคคลธรรมดา
       - คำร้องขอใช้ที่ดิน
       - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ลงนามรับรองสำเนา       
       - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา กรณีมีการมอบอำนาจ 
       - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา 
       - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา 
       - สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิทธิครอบครอง เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน หรืออื่นๆ ของผู้ขอ ณ บริเวณที่จะทำการก่อสร้าง 
         หรือที่ต้องการใช้น้ำ ลงนามรับรองสำเนา
       - หนังสือยินยอมให้วางท่อส่งน้ำผ่านจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ (ถ้ามี) 
       - หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 30 บาท) ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
       - แบบแปลน แผนผังและแผนที่ โดยมีวิศวกรลงนามรับรอง (ใช้เฉพาะกรมชลประทาน) 
       - รายการคำนวณโครงสร้างและหนังสือรอบรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรรมควบคุม ผู้ออกแบบและคำนวณ พร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
         วิศวกรรมควบคุม (ลงนามรับรองสำเนา) เฉพาะกรณีที่เป็นงานอยู่ในประเภทและขนาดของงานวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร 
       - หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ึควบคุมงานก่อสร้าง พร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ลงนามรับรองสำเนา

                  การพิจารณาและดำเนินการ
โครงการชลประทานเจ้าของพื้นที่ ( ผอ.คป. , ผอ.คบ. และโครงการอื่นๆ ) 
1. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน กรอกรายละเอียดในแบบตรวจสอบ แบบ ชป.393/5 กรณีวางท่อประปา ใช้ แบบ ชป.393/3 
2. จัดทำแผนที่รูปตัด ลงนามผ่าน เห็นชอบ อนุมัติ ในกรอบแบบ 
3. ให้ความเห็นทางด้านวิศวกรรม พิจารณาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ต่องานชลประทาน 
4. พิจารณากฎระเบียบข้อบังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5 . กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต 
6 . ส่งเรื่องให้ ผส.ชป.ให้ความยินยอม
การพิจารณาของสำนักชลประทาน
1. ผส.ชป.พิจารณาให้ความยินยอม (ตามระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ
ในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551 คลิ๊ก ) 

2. กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
3 . ทำหนังสือลงนามแทนกรมฯ พร้อมเอกสารการขออนุญาตให้กรมธนารักษ์และหรือผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุญาต

                     กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
1. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 
3. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
4. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2549
5 .กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2549
6.ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551 
                 

  แนวทางในการพิจารณา 
1. ในกรณีวางท่อสูบน้ำ ท่อส่งน้ำให้พิจารณาหลักการเดียวกันกับการวางท่อประปาเป็นหลัก 
2. การก่อสร้างโรงสูบน้ำ ควรพิจารณาก่อสร้างใกล้แนวเขตชลประทาน หรือแนวหลักเขตที่ดินของราษฎรเป็นหลัก ( โดยทั่วไปไม่เกิน 2.00 เมตร ) และไม่ควรก่อสร้างเป็นลักษณะอาคารถาวร เพือที่จะได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมชลประทานในอนาคต
3. ต้องมีการติดตั้งมิเตอร์วัดน้ำ เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่สูบเอาไปใช้ได้ 
4. แบบแปลน แผนที่รูปตัดของผู้ขออนุญาต ให้มีความสัมพันธ์กับแบบแปลน แผนที่รูปตัดและ ผังบริเวณของโครงการ ฯ  ที่มีการขออนุญาต 
                                  

การออกหนังสืออนุญาต ตามพรบ.ชลประทานหลวง 2485 ให้ใช้หนังสืออนุญาตฉบับใหม่คือ ผ.ย.38  
 
(โครงการเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต) กรณีการต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ใช้แบบ ผ.ย.55 

ในกรณีที่ไม่เสียค่าชลประทานและกรณีที่ต้องเสียค่าชลประทาน หนังสืออนุญาตเดิมเป็น ผ.ย. 32       การต่ออายุหนังสืออนุญาต ให้ใช้ แบบ ผ.ย. 32/ 1 หากเป็นกรณีขอยกเว้นค่าชลประทาน ให้ใช้แบบ ผ.ย. 32/ 2 
(ระยะเวลาการอนุญาต กำหนดตามความเหมาะสมและความจำเป็น แต่ละครั้งไม่เกิน 5 ปี)
   ตัวอย่างการกรอกหนังสืออนุญาต 

หมายเหตุ กรณีทางน้ำธรรมชาติ ประกาศเป็นทางน้ำชลประทาน จะต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายปกครองท้องที่
ตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ตาม พรบ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456