การขออนุญาตก่อสร้างอาคารป้องกันตลิ่งทางน้ำชลประทาน  


 ประเภทผู้ขออนุญาตและหลักฐานประกอบการขออนุญาต
  
 
    กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรอื่นของรัฐ 
       - คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทน กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือผู้รับมอบอำนาจ (มีหนังสืออำนาจ) 
       - แบบแปลน แผนผังและแผนที่ (หัวหน้าส่วนราชการลงนามรับรองแบบ) 
       - หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารป้องกันตลิ่งฯ 
       - หนังสืออนุญาตหรือหนังสือยินยอมให้รื้อถอนอาคารป้องกันตลิ่งฯ (ถ้ามี) 
    
   รัฐวิสาหกิจ
       - คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทนรัฐวิสาหกิจ หรือ ผู้้รับมอบอำนาจ 
       - หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท (ถ้ามี) 
       - แบบแปลน แผนผังและแผนที่ (ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจลงนามรับรองแบบ) 
       - หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารป้องกันตลิ่งฯ
       - หนังสืออนุญาตหรือหนังสือยินยอมให้รื้อถอนอาคารป้องกันตลิ่งฯ เดิม (ถ้ามี) 
   
  นิติบุคคล/บุคคลธรรมดา 

       - คำร้องขอใช้ที่ดิน
       - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ลงนามรับรองสำเนา 
       - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา
       - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา 
       - ถ้ามีการมอบอำนาจ ต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท 
       - สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิทธิครอบครอง เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน หรืออื่นๆ ของผู้ขอ 
         ณ บริเวณก่อสร้างอาคารป้องกันตลิ่งฯ ลงนามรับรองสำเนา 
       - หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารป้องกันตลิ่งฯ
       - หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 30 บาท) ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำการแทนเฉพาะกาล
       - แบบแปลน แผนผังและแผนที่ โดยมีวิศวกรลงนามรับรอง (ใช้เฉพาะกรมชลประทาน) 
       - รายการคำนวณโครงสร้างและหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ออกแบบและคำนวณ 
         พร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ลงนามรับรองสำเนา) 
         เฉพาะกรณีที่เป็นงานอยู่ในประเภทและขนาดของงานวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร


                   การพิจารณาและดำเนินการ 
โครงการชลประทานเจ้าของพื้นที่ (ผอ.คป. , ผอ.คบ. และโครงการอื่นๆ) 
1. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
2. จัดทำแผนที่รูปตัด ลงนามผ่าน เห็นชอบ อนุมัติ ในกรอบแบบ 
3. ให้ความเห็นทางด้านวิศวกรรม พิจารณาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ต่องานชลประทาน 
4. พิจารณากฎระเบียบข้อบังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5 . กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต 
6 . ส่งเรื่องให้ ผส.ชป.ให้ความยินยอม
การพิจารณาของสำนักชลประทาน
1. ผส.ชป.พิจารณาให้ความยินยอม ( ตามระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ
ในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551 คลิ๊ก ) 
2. กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
3 . ทำหนังสือลงนามแทนกรมฯ พร้อมเอกสารการขออนุญาตให้กรมธนารักษ์และหรือผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุญาต
(หากเป็นทางน้ำธรรมชาติที่ประกาศเป็นทางน้ำชลประทานจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีและฝ่ายปกครองท้องที่)


                     กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
1. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 
3. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
4. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
5. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2549
6 . พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456
7 . พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457

           
                     แนวทางในการพิจารณา 
1. การพิจารณาด้านวิศวกรรม ให้พิจารณาถึงความมั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันตลิ่งพังได้ตามวัตถุประสงค์ และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อ
   การชลประทานและการระบายน้ำ 
2. การพิจารณาระดับหลังเขื่อน ระยะจากศูนย์กลางคลองถึงตัวเขื่อน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และความกว้างของคลองที่ขออนุญาต 
3. ผู้ขออนุญาตต้องยินยอมสละที่ดินเพื่อให้กรมชลประทานมีเขตคันคลอง นับตั้งแต่สันเขื่อนขึ้นมาเป็นระยะ 3.00 เมตร ตลอดแนวเขตที่ดิน  ฯลฯ


การออกหนังสืออนุญาต ตามพ.ร.บ.ชลประทานหลวง 2485   ให้ใช้หนังสืออนุญาตให้สร้างอาคารป้องกันตลิ่งทางน้ำชลประทาน ผ.ย.44 
(โครงการเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต) 
 ตัวอย่างการกรอกหนังสืออนุญาต 


หมายเหตุ
  เนื่องจากการขออนุญาตก่อสร้างเขื่อน คสล.ป้องกันตลิ่ง กรมฯได้มอบอำนาจให้สำนักชลประทานเป็นผู้พิจารณาอนุญาตมานานแล้ว
หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการอนุญาตที่ได้นำลงนี้ เป็นหลักเกณฑ์ แนวทางการพิจารณาทั่วไปสำหรับการขออนุญาตใช้ที่ราชพัสดุ หรือที่ดินประเภทอื่นๆ ที่กรมชลประทานขอใช้ประโยชน์ที่สำนักงานหรือโครงการฯสามารถนำไปประกอบการพิจารณาในการขออนุญาตได้