โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ประะเภทเขื่อนเก็บกักน้ำ- --เพื่อนำน้ำไปใช้ในการเกษตรกรรม
และการอุปโภคบริโภค บนพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี รวมทั้งจังหวัดต่างๆ
ทางตอนล่าง ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ --จะเป็นแหล่งน้ำถาวรที่สามารถส่งน้ำให้แก่เขื่อน
พระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ใต้ เขื่อนลงมาตามลำน้ำประมาณ 95 กิโลเมตร ได้ตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ยังอำนวยประโยชน์ ในด้านการบรรเทาอุทกภัย การอุตสาหกรรม การประมง และเป็นสถานที่
พักผ่อนหย่อนใจ

สภาพลุ่มน้ำป่าสัก
แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสาขาที่สำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยามี พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ14,520 ตารางกิโลเมตร- มีลักษณะ
แคบเรียวยาว ความยาวประมาณ 513 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดเลยไหล ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี
และบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลุ่มน้ำป่าสักมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 2,400
ล้านลูกบาศก์เมตร โดยส่วนใหญ่เป็นปริมาณน้ำที่เกิดในฤดูฝน (เดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน)--- ประมาณ
2,200 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 92 ของปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปี --ส่วนปริมาณน้ำอีก 200 ล้านลูกบาศก์เมตร
เป็นน้ำที่ไหลในช่วงฤดูแล้ง

การศึกษาวางโครงการ
กรมชลประทานได้ศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2508 แต่เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่
่ค่าใช้จ่ายสูง จึงได้ระงับโครงการไว้ก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราช
ทานพระราชดำริให้ กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอย่างจริงจังเร่งด่วนเพื่อแก้ไข
ปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่เพาะปลูก ในเขตลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างตลอด
จนบริเวณกรุงเทพและปริมณฑลคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ทำการศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักฯรวม
ทั้งศึกษากำหนดแผนการแก้ไขผลกระทบและพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2535 และดำเนินการเสร็จ
เมื่อเดือนกันยายน 2536 จากนั้นคณะรัฐมนตรีมีอนุมัติให้กรมชลประทานก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ -เมื่อวันที่ 3
พฤษภาคม 2537

ลักษณะโครงการ
ที่ตั้งเขื่อนบ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และบ้านคำพราน ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง
จังหวัดสระบุรี
ประเภทโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำ
พื้นที่ลุ่มน้ำ 14,520 ตารางกิโลเมตร
ความยาวลำน้ำจากต้นน้ำถึงเขื่อน 380 กิโลเมตร
ความลาดเทของลำน้ำบริเวณเขื่อน 1:4,000
อัตราการระเหยเฉลี่ยต่อปี 1,864 มิลลิเมตร
ปริมาณน้ำท่าไหลเข้าอ่างเฉลี่ยต่อปี 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปริมาณน้ำหลากในรอบ 1,000 ปี 3,884 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ประมาณตะกอนสะสม 100 ปี 73.4 ล้านลูกบาศก์เมตร
ระดับน้ำเก็บกักปกติ+42.00ม. (รทก.) ปริมาตรน้ำ 785 ล้านลูกบาศก์เมตร
ระดับน้ำสูงสุด+43.00ม. (รทก.) ปริมาตรน้ำ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร
ระดับน้ำต่ำสุด+29.00ม. (รทก.) ปริมาตรน้ำ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร

งานก่อสร้าง
งานก่อสร้างเขื่อนและอาคารประกอบ
กรมชลประทานเริ่มงานก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 โดยก่อสร้างเขื่อนหัวงาน พร้อม
อาคารประกอบ 3 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2541 โดยสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นองค์ประทานในพิธีเริ่มการเก็บกักน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และการก่อสร้าง
เขื่อนและอาคารประกอบได้เสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2542

งานก่อสร้างส่วนประกอบอื่น
กรมชลประทาน---ได้ก่อสร้างส่วนประกอบอื่นนอกเหนือจากตัวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และอาคารประกอบ ได้แก่
คันกั้นน้ำท่าหลวง ความยาว 1.716 กิโลเมตร คันกั้นน้ำโคกสลุงความยาว 4.120 กิโลเมตร รวมทั้งงานปรับปรุง
แม่น้ำป่าสักด้านท้ายเขื่อน ความยาว 8.5 กิโลเมตร ก่อสร้างถนนรอบอ่างเก็บน้ำ ความยาวประมาณ 140 กิโลเมตร
สำหรับงานก่อสร้างบางส่วนของงานปรับปรุงแม่น้ำป่าสักและงานถนนรอบอ่างเก็บน้ำได้การสนับสนุนเครื่องจักร
เครื่องมือในการขุดขนย้ายดินและการก่อสร้างจากกรมการทหารช่าง กองทัพบก ส่วนการ ติดตั้ง ระบบโทรมาตร
ดำเนินการโดยการไฟ้ฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

งานก่อสร้างระบบชลประทาน
กรมชลประทานได้วางแผนและก่อสร้างระบบชลประทานในพื้นที่เปิดใหม่ 3 โครงการ จำนวน 135,500 ไร่
คือโครงการสูบน้ำแก่งคอย - บ้านหมอ พื้นที่ ประมาณ 80,000 ไร่ โครงการสูบน้ำพัฒนานิคม พื้นที่ประมาณ
35,500 ไร่โครงการสูบน้ำพัฒนานิคม - แก่งคอยพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ซึ่งเริ่ม ดำเนินการก่อสร้างในปี
พ.ศ. 2543 คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ศ. 2548