การขออนุญาตปักเสา พาดสายหรือร้อยสายไฟฟ้า/โทรศัพท์ในเขตชลประทาน 
รัฐวิสาหกิจ
หลักฐานประกอบการขออนุญาต ได้แก่
- คำร้องขอใช้ที่ดิน ลงนามโดยผู้แทนของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้รับมอบอำนาจ (มีหนังสือรับรองแบบ)
- แบบแปลน แผนผังและแผนที่ (ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจลงนามรับรองแบบ)
- แจ้งขนาด จำนวนเสาไฟฟ้าและเสาโทรศัพท์ และระยะห่างระหว่างเสา
นิติบุคคล/บุคคลธรรมดา
- คำร้องขอใช้ที่ดิน
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ลงนามรับรองสำเนา
- สำเนาบัตรประจำตัวประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา กรณีมีการมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอและผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา กรณีที่มีการมอบอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ และผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี) ลงนามรับรองสำเนา
- หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป 30์) ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
- แบบแปลน แผนผังและแผนที่ โดยมีวิศวกรลงนามรับรอง (ใช้เฉพาะกรมชลประทาน)
- รายการคำนวณและหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมผู้ออกแบบและคำนวณ
พร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ลงนามรับรองสำเนา) เฉพาะกรณีที่เป็นงาน
อยู่ในประเภทและขนาดของงานวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
- หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ควบคุมการก่อสร้าง พร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม
ลงนามรับรองสำเนา
การพิจารณาและดำเนินการ
โครงการชลประทานเจ้าของพื้นที่ (ผอ.คป. , ผอ.คบ. และโครงการอื่นๆ)
1. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน กรอกรายละเอียดในแบบตรวจสอบ แบบ ชป.393/6
2. จัดทำแผนที่รูปตัด ลงนามผ่าน เห็นชอบ อนุมัติ ในกรอบแบบ
3. ให้ความเห็นทางด้านวิศวกรรม พิจารณาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ต่องานชลประทาน
4. พิจารณากฎระเบียบข้อบังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5 . กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
6 . ส่งเรื่องให้ ผส.ชป.ให้ความยินยอม
การพิจารณาของสำนักชลประทาน
1. ผส.ชป.พิจารณาให้ความยินยอม (ตามระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ
ในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551 คลิ๊ก) 
2. กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
3 . ทำหนังสือลงนามแทนกรมฯ พร้อมเอกสารการขออนุญาตให้กรมธนารักษ์และหรือผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุญาต
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
1. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518
3. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
4. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2549
5 .กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2549
6.ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551
7 . บันทึกกรม ฯ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 เรื่อง การใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินราชพัสดุในความครอบครองของกรมชลประทาน
แนวทางในการพิจารณา 
1. ผู้ขออนุญาตขอติดตั้งอยู่นอกเขตหรือในเขตชลประทาน
2. จะต้องเป็นการขออนุญาตเพื่อสาธารณูปโภค
3. ขนาดเสาที่พาดสายข้ามสายโทรศัพท์ของกรมชลประทานต้องมีตาข่ายรองรับใต้สายไฟฟ้าแรงสูงเพื่อป้องกันอันตราย
(ถ้าไม่มีตาข่ายรองรับใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบด้วย)
4. จะต้องปักเสาไฟและพาดสายไฟฟ้าให้ห่างจากเขตทางน้ำชลประทาน ไม่เกิน 1.00 - 2.00 เมตร
5. ทางน้ำชลประทานไม่มีเขต จะต้องปักให้เป็นแนวขนานริมตลิ่งทางน้ำชลประทาน
6. ในการปักเสาและพาดสายไฟฟ้าข้ามทางน้ำชลประทาน จะต้องให้ระดับท้องสายไฟฟ้าส่วนที่ต่ำที่สุดสูงจากระดับน้ำสูงสุด
ในทางน้ำ และระดับผิวดิน ณ บริเวณนั้น ไม่น้อยกว่า 6.50 เมตร
7. แบบแปลน แผนที่รูปตัดของผู้ขออนุญาต ให้มีความสัมพันธ์กับแบบแปลน แผนที่รูปตัดและ ผังบริเวณของโครงการ ฯ
ที่มีการขออนุญาต
การออกหนังสืออนุญาต ตามพรบ.ชลประทานหลวง 2485 ให้ใช้หนังสืออนุญาตฉบับใหม่คือ ผ.ย.39
(โครงการเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต) กรณีการต่ออายุหนังสืออนุญาตให้ใช้แบบ ผ.ย.55
ระยะเวลาการอนุญาต กำหนดตามความเหมาะสมและความจำเป็น แต่ละครั้งไม่เกิน 5 ปี
ตัวอย่างการกรอกหนังสืออนุญาต 
|