การขออนุญาตรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ

 

               หลักเกณฑ์ในการพิจารณารื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ  
ต้องได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ ( กรณีที่ราชพัสดุอยู่ในกรุงเทพมหานคร ) และผู้ว่าราชการจังหวัด  (กรณีที่ราชพัสดุอยุ่ในจังหวัดอื่น) ก่อนการรื้อถอน ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้ สามารถรื้อถอนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากกรมธนารักษ์ / ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เมื่อรื้อถอนแล้วต้องแจ้งให้กรมธนารักษ์ / ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
            1. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 25 ปี
            2. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดจนใช้การไม่ได้
            3. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวกับราชการลับทางทหาร
            4. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเดิม เพื่อปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใหมทดแทน
ตามที่ได้รับงบประมาณสำหรับวัสดุที่ได้จาการรื้อถอน ให้นำออกประมูลขายโดยอนุโลมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แล้วนำเงินที่ได้จากการขายส่งคลังเป็นรายได้ของกรมธนารักษ์ หากมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอย่างอื่น ต้องขออนุญาตต่อ กรมธนารักษ์ก่อน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นให้ทราบเพื่อประกอบการพิจารณา และต้องไม่นำวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนไปสมทบกับงบประมาณ ที่ได้รับเป็นค่าก่อสร้างอาคารใหม่

เว้นแต่ ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณแล้ว

             

 ขั้นตอนการพิจารณาและดำเนินงาน  


แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้่นตอนที่ 1 การขออนุญาต ขั้นตอนที่ 2 การรื้อถอน


                ขั้นตอนที่ 1 การขออนุญาต


โครงการชลประทาน
1. บันทึกขออนุญาตรื้อถอน โดยแนบรายละเอียดประกอบการพิจารณา ดังนี้
   1.1 เหตุผลประกอบการรื้อถอน รวมทั้งประวัติอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง เช่น ก่อสร้างเมื่อใด , สภาพอาคารปัจจุบันเป็นอย่างไร

วัสดุที่ได้จากการรื้อถอนจะเอาไปใช้ประโยชน์ หรือประมูลขาย เป็นต้น
   1.2 ภาพถ่ายอาคาร/สิ่งปลูกสร้างที่ขอรื้อถอน 
   1.3 แผนที่สังเขป 
   1.4 แบบรายการ ส่ง - รับ ที่ราชพัสดุขึ้นทะเบียน ( แบบ ทบ.9 ) ยกเลิก โดยเปลี่ยนไปใช้แบบสำรวจรายการอาคารสิ่งปลูกสร้างขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ แบบ ทร. 04 

ในกรณีที่อาคารดังกล่าวยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน และใช้แบบทร.01/2 ในกรณีที่อาคารดังกล่าว ขึ้นทะเบียนแล้วโดยติดต่อขอสำเนาได้ที่สำนักงานธนารักษ์พื้นที่
   1.5 แบบรายการแจ้งขอรื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ ( แบบ ทบ.3 ) 
ผู้ลงนามในแบบ  ทบ.3 จะต้องเป็น 

ผู้อำนวยการกอง, ผู้อำนวยการสำนักชลประทานหรือผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน ที่ได้รับมอบหมายเป็น

ลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ในกรณีดังกล่าว เป็นผู้ลงนามเท่านั้น
   1.6 แต่งตั้งคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อตรวจนับวัสดุและควบคุมการรื้อถอน

2. บันทึกส่งเรื่องเสนอ ผส.ชป.พิจารณา


สำนักชลประทาน
1. พิจารณาให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ การรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
2. ส่งกองกฎหมายและที่ดิน เพื่อขออนุมัติกรม ฯ รื้อถอน

 

                ขั้นตอนที่ 2 การรื้อถอน


โครงการชลประทาน

1. เมื่อกรม ฯ หรือกรมธนารักษ์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี   อนุมัติการรื้อถอนแล้ว
   ให้โครงการ ฯ ดำเนินการรื้อถอน โดย 
   1.1 ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตรวจนับและควบคุมการใช้วัสดุที่รื้อถอน
   1.2 ให้จัดทำบัญชีคุมยอดวัสดุที่รื้อถอนว่ามีจำนวนเท่าใดโดยแยกบัญชีวัสดุที่ใช้การได้ และใช้การไม่ได้ ออกจากกัน
   1.3 วัสดุคงเหลือจากการใช้ประโยชน์ให้นำออกประมูลขายนำเงินส่งคลังเป็นรายได้กรมธนารักษ์
   1.4 ในรายงานบัญชีคุมยอดวัสดุ ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง ลงนามกำกับทุกแผ่น
   1.5 ให้จัดทำแบบรายการแจ้งการรื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ ( แบบ ทบ.2 ) ซึ่งเป็นเอกสารใช้ประกอบการขอจำหน่ายสิ่งปลูกสร้างออกจากทะเบียนอาคารราชพัสดุ ( ต้องระบุวันที่รื้อถอนแล้วเสร็จด้วย )
2. สรุปรายละเอียด พร้อมบันทึกคณะกรรมการตรวจนับวัสดุที่รื้อถอน เสนอสำนักชลประทาน


สำนักชลประทาน
 
  บันทึกเสนอกองกฎหมายและที่ดิน

กลุ่มงานการใช้พื้นที่ด้านชลประทาน ส่วนปรับปรุงบำรุงรักษา สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
1. ร่างหนังสือถึง กรมธนารักษ์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด   แจ้งการรื้อถอน / 
ขออนุญาตนำวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนไปใช้ประโยชน์ / แจ้งการประมูลขายวัสดุ/ แจ้งขึ้นทะเบียนอาคาร / จำหน่ายออกจากทะเบียนที่ราชพัสดุ ( แล้วแต่กรณี ) เสนอกรมฯ ลงนาม
2. ส่งเรื่องให้ งานทะเบียนที่ดิน ฝ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อขึ้นทะเบียน/ จำหน่ายออกจากทะเบียน แล้วแต่กรณี
3. เมื่องานทะเบียนที่ดินดำเนินการแล้ว ฝ่ายผลประโยชน์ฯ ส่งเรื่องคืน โครงการฯ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
1. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
2. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้  และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2549

 

คู่มือการปฏิบัติงานการรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างในที่ราชพัสดุ