การขออนุญาตใช้ที่ดินในความครอบครองของกรมชลประทาน 
(เป็นต้นว่า การก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสาร,ที่พักสายตรวจ,ศาลาเอนกประสงค์,ลานกีฬาเอนกประสงค์ , สวนสาธารณะ ฯลฯ)
ส่วนราชการ (กระทรวง ทบวง กรม องค์การปกครองท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นของรัฐ)
หลักฐานประกอบการขออนุญาต ได้แก่
- คำร้องลงนามโดยผู้แทน กระทรวง ทบวง กรม องค์การปกครองท้องถิ่น
หน่วยงานของรัฐ องค์กรอื่นของรัฐ หรือผู้รับมอบอำนาจ (มีหนังสือมอบอำนาจ)
- แบบแปลนการก่อสร้าง แผนผังบริเวณ และแผนที่รูปตัด
(หัวหน้าส่วนราชการ ลงนามรับรองแบบ)
การพิจารณาตรวจสอบและดำเนินการ
โครงการชลประทานเจ้าของพื้นที่ (ผอ.คป. , ผอ.คบ. และโครงการอื่นๆ)
1. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน กรอกรายละเอียดในแบบตรวจสอบ แบบ ชป.393/8
2. จัดทำแผนที่รูปตัด ลงนามผ่าน เห็นชอบ อนุมัติ ในกรอบแบบ
3. ให้ความเห็นทางด้านวิศวกรรม พิจารณาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ต่องานชลประทาน
4. พิจารณากฎระเบียบข้อบังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5 . กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
6 . ส่งเรื่องให้ ผส.ชป.ให้ความยินยอม
การพิจารณาของสำนักชลประทาน
1. ผส.ชป.พิจารณาให้ความยินยอม (ตามระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ
ในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551 คลิ๊ก) 
2. กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต
3 . ทำหนังสือลงนามแทนกรมฯ พร้อมเอกสารการขออนุญาตให้กรมธนารักษ์และหรือผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุญาต
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
1. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518
3. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
4. กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
5 .กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2549
6.ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการขอใช้และการจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุในความครอบครองของกรมชลประทาน พ.ศ.2551
7 . บันทึกกรม ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 เรื่อง การใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินราชพัสดูุในความครอบครอง ของกรมชลประทาน
แนวทางในการพิจารณา 
1. สิ่งก่อสร้างนั้นต้องไม่เป็นอาคารถาวร
2. ในกรณีที่จำเป็นจะต้องสร้างเป็นอาคารถาวร ต้องพิจารณาว่าสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันกับกรมชลประทานได้
3. สิ่งก่อสร้างควรที่จะก่อสร้างใกล้แนวเขตชลประทาน หรือแนวหลักเขตที่ดินของราษฎรเป็นหลัก (โดยทั่วไปไม่เกิน 2.00 เมตร)
4. แบบแปลน แผนที่รูปตัดของผู้ขออนุญาต ให้มีความสัมพันธ์กับแบบแปลน แผนที่รูปตัดและ ผังบริเวณของโครงการ ฯ
ที่มีการขออนุญาต
การออกหนังสืออนุญาต ตามพรบ.ชลประทานหลวง 2485 ให้ใช้หนังสืออนุญาตฉบับใหม่คือ ผ.ย.41
(โครงการเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต) ตัวอย่างการกรอกหนังสืออนุญาต 
|