โครงการอาคารป้องกันการกัดเซาะพร้อมอาคารประกอบ
อ่างเก็บน้ำห้วยผาก (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
เมิ่อวันที่ 17 มิถุนายน 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรฝายเก็บกักน้ำห้วยทรายและบริเวณต้นน้ำของห้วยสามพันนาม ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ทรงพระราชทานคำแนะนำให้กรมชลปนะทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยผากโดยเร่งด่วนเพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรริมห้วยผากให้สามารถมีน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูกและอุปโภค-บริโภคได้ตลอดทั้งปี และช่วยบรรเทาอุทกภัยในฤดูฝน นอกจากนั้นยังช่วยสนับสนุนโครงการชลประทานเพชรบุรีให้ได้ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำนักชลประทานที่ 10 (เดิม) ได้ให้กองวางโครงการศึกษาและจัดทำรายงานเบื้องต้น และต่อมากองวางโครงการได้จัดทำรายงานวางโครงการแล้วเสร็จเมือเดือน กันยายน 2537 ผลการศึกษาสรุปว่า พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยผาก อยู่ในเขตบ้านยางชุม หมู่ที่ 6 ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อเพิมประสิทธิภาพการระบายน้ำของห้วยผาก ให้สามารถรองรับปริมาณการระบายน้ำได้สูงสุดเท่าที่แบบกำหนดในแบบ 2. ป้องกันการเคลื่อนตัวของ Abutment ฝั่งขวา ของเขื่อนดินหัวงาน 3. ช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำเพชรบุรี สาระสำคัญของโครงการ 1. งานขุดลอกและอาคารป้องกันลาดตลิ่งท้ายอาคารระบายน้ำล้นเพื่อให้สามารถระบายน้ำจากคลองระบายน้ำได้สูงสุดตามที่ผู้ออกแบบทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบกำหนดไว้ในแบบก่อสร้าง (636.371 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) 2. งานป้องกันการกัดเซาะ (Embankment Protection) เพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวของ Abutment ฝั่งขวาซึ่งจะเป็นอัตรายต่อเขื่อนดินหัวงานและราษฎรที่ใช้ทางหลวงสัญจรไปมา 3. งานขุดลอกและอาคารป้องกันตลิ่งห้วยสามเขา ภายในบริเวณอ่างเก็บน้ำเพื่องป้องกันการพังทลายของตลิ่งและคอสะพาน ระยะเวลาการดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 ปี เริ่มปีงบประมาณ 2557 แล้วเสร็จปีงบประมาณ 2558 ราคาค่าก่อสร้าง ราคาค่าก่อสร้าง 65 ล้านบาท ที่ตั้งหัวงาน ตั้งอยูที่ หมู่ที่ 6 ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี แผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ระวาง 4934 III พิกัด 47 PNQ 732-120
กรมชลประทาน โดยสำนักงานก่อสร้าง 14 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง (โครงการก่อสร้าง 1 สำนักชลปนะทานที่ 14 เดิม) ได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยผากแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 แต่เนื่องจากสภาพลำน้ำห้วยผากท้านอาคารระบายน้ำล้นมีสภาพตื้นเขิน ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำที่ไหลผ่านอาคารระบายน้ำล้นได้ ประกอบกับตามหมายเหตุของแบบก่อสร้างอาคารระบายน้ำล้นกำหนดให้ขุดลอกลำน้ำเดิม (ห้วยผาก) ให้สามารถรองรับการระบายน้ำที่ไหลผ่านอาคารระบายน้ำล้นจนไปถึงฝายห้วยผาก และเมื่อดำเนินการขุดหน้าดินบริเวณ Abutment ฝั่งขวาในขณะก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบมีการเคลื่อนตัวของผิวหน้าหินซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเขื่อนดินหัวงานและราษฎรทั้ใช้ถนนกรมทางหลวงสัญจรไปมา ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 จึงออกแบบงานขุดลอกและป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายอ่างเก็บน้ำและอาคารป้องกันการกัดเซาะ (Embankment Protection) ของ Abutment ฝั่งขวาของตัวเขื่อนหัวงาน