มีหน้าที่ในการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ คาดการณ์ข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนและปริมาณ ความต้องการใช้น้ำต่างๆ มาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง และไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง เพื่อจัดทำแผนการ บริหารจัดการน้ำ แผนการปลูกพืช และแผนป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีต่างๆในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อจัดทำเกณฑ์การบริหารจัดการ น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางให้ชัดเจนเพื่อลดผลกระทบจากการเกิดภาวะน้ำล้น อ่างเก็บน้ำและน้ำแห้งอ่างเก็บน้ำ ติดตาม ตรวจสอบ กำกับดูแลการบริหารจัดการน้ำและ การเพาะปลูกพืชการป้องกัน และบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดและ จัดการทำรายงานสรุปผลปรับปรุงคู่มือการบริหารจัดการน้ำ และบำรุงรักษาให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ส่งเสริม พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านชลประทานให้คำปรึกษา แนะนำ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการ น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม
“การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้้าแบบบบูรณการให้ทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ทั่วถึง และ เป็นธรรมโดยใช้นนัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะในปี 2580”
“การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้้าแบบบบูรณการให้ทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ทั่วถึง และ เป็นธรรมโดยใช้นนัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะในปี 2580” ยุทธศาสตร์สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
1) บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม 2) สนับสนุนวิชาการในด้านการบริหารจัดการน้ำ และ การป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ 3) สนับสนุนการปรับปรุงการบำรุงรักษาอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งาน 4) พัฒนาฐานข้อมูลให้ถูกต้อง และใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัย
สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ได้กำหนดเป้าประสงค์ตามกรอบการประเมินผลปฏิบัติงาน 5 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และด้านการพัฒนาองค์กร
811 กรมชลประทาน อาคาร 99 ปี ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี. เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
0-2669-2153